วิธีการแบ่งมรดก
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
วิธีการแบ่งมรดก
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ซอบิร อับดุลกอดิร อูมา
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
2011 - 1432
﴿ قسمة التركة ﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم بن عبد الله التويجري
ترجمة: صابر عبد القادر عمر
مراجعة: فيصل عبد الهادي
2011 - 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
5. วิธีการแบ่งมรดก
มรดก คือ สิ่งที่ผู้ตายได้เหลือทิ้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรืออื่น ๆ
วิธีแบ่งมรดก
เราสามารถแบ่งมรดกได้ด้วยหนึ่งในวิธีเหล่านี้
1. แบ่งแบบสัดส่วน คือ ให้ทุกคนได้ตามสัดส่วนของตนเอง เช่น หากผู้ตายทิ้ง ภรรยาหนึ่งคน, มารดา และ อา มรดกมีหนึ่ง 120 ปัญหาคือ 12
ภรรยามีสิทธิ์ 1/4 คือ 3 มารดามีสิทธิ์1/3 คือ 4 และอา ได้ที่เหลือ คือ 5
ภรรยาก็จะได้ 1/4 ของ 120 คือ 30 มารดาก็จะได้ 1/3ของ 120 คือ 40 และอาก็จะได้ส่วนที่เหลือ คือ 50
2. แบ่งโดยการคูณกับสิทธิของแต่ละคนแล้วหาร เช่น ภรรยามีสิทธิ์ 1/4 คือ 3 เราก็เอา 3 คูณด้วยจำนวนมรดก คือ 120 ก็จะได้ 360 แล้วก็นำมาหารด้วยฐานของปัญหา (12) ก็จะได้ 30
3. แบ่งโดยการหารมรดก เช่น มรดกคือ 120 ค่าฐานปัญหาคือ 12 ผลคือ 10 มารดาสิทธิ์1/3 คือ 4 เราก็เอา 4 คูณด้วย 10 คือ 40
บทบัญญัติการให้ทรัพย์แก่ผู้มาร่วมในขณะทำการแบ่งมรดก
หากมีญาติใกล้ชิดที่ไม่มีสิทธ์รับมรดกมาร่วมขอแบ่งมรดก, เด็กกำพร้า หรือคนที่ไม่มีเงิน ส่งเสริมให้มอบเงินจำนวนหนึ่งแก่พวกเขาก่อนแบ่งมรดก
อัลลอฮได้ตรัสว่า
﴿وَإِذَا حَضَرَ ٱلۡقِسۡمَةَ أُوْلُواْ ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينُ فَٱرۡزُقُوهُم مِّنۡهُ وَقُولُواْ لَهُمۡ قَوۡلٗا مَّعۡرُوفٗا ٨﴾ [النساء : 8]
ความว่า “และเมื่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ที่ขัดสนมาร่วมอยู่ด้วยในการแบ่งมรดก ก็จงปันส่วนหนึ่งจากสิ่งนั้นให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และจงกล่าวแก่พวกเขาอย่างดี” (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ: 8)
รูปแบบปัญหาของการแบ่งมรดก
ปัญหาการแบ่งมรดก มี 3 รูปแบบ
หนึ่ง ปัญหาแบบ อัล-อาดิละฮฺ (ครบ) คือ จำนวนสัดส่วนเท่ากับค่าฐานปัญหา เช่นทายาทที่มีอยู่คือ สามี และพี่น้องหญิงร่วมบิดามารดา ค่าฐานปัญหาคือ 2 ทั้งสองคนมีสิทธิ์ได้ 1/2 สัดส่วนคือ 2 เท่ากับค่าฐานปัญหา คือ 2
สอง ปัญหาแบบ อัน-นากิเศาะฮฺ (ขาด) คือ จำนวนสัดส่วนน้อยกว่าค่าฐานปัญหา เช่น ภรรยาหนึ่งคน และพี่น้องสาวร่วมมารดาหนึ่งคน ฐานปัญหาคือ 12
ภรรยามีสิทธิ์ 1/4 คือ 3 และพี่น้องสาวร่วมมารดาหนึ่งคนมีสิทธิ์ได้ 1/6 คือ 2 รวมสัดส่วนได้ 2+3 = 5 น้อยกว่าค่าฐานปัญหา 12
สาม ปัญหาแบบ อัล-อาอีละฮฺ (เกิน) คือ จำนวนสัดส่วนมากกว่าค่าฐานปัญหา เช่น มารดา, พี่น้องหลายคนร่วมมารดาและสองพี่น้องสาวร่วมบิดามารดา ค่าฐานปัญหาคือ 6 มารดามีสิทธิ์ 1/6 คือ 1 พี่น้องหลายคนร่วมมารดามีสิทธิ์ 1/3 คือ 2 และสองพี่น้องสาวร่วมบิดามารดามีสิทธิ์ 2/3 คือ 4 รวมสัดส่วนได้เท่ากับ 1+2+4=7 ซึ่งมากกว่าค่าฐานปัญหาเดิมคือ 6 ค่าฐานปัญหาจึงเพิ่มเป็น 7