×
คำถาม: เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงตรัสให้มลาอิกะฮฺสุญูดต่อนบีอาดัม? ฉันคิดว่าสิ่งนี้อนุญาตให้กระทำเฉพาะต่ออัลลอฮฺเท่านั้น เช่นเดียวกับเรื่องของนบียูสุฟ ทำไมพี่น้องของท่านจึงสุญูดต่อท่าน ? ฟัตวาจากเว็บไซต์อิสลามถามตอบ

    อะไรคือความหมายของการที่มลาอิกะฮฺสุญูดต่อ นบีอาดัม และพี่น้องของนบียูสุฟสุญูดต่อท่าน

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด

    แปลโดย : กฤติยา เพศยนาวิน

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : เว็บไซต์ islamqa.com

    2014 - 1435


    ما معنى سجود الملائكة لآدم وسجود إخوة يوسف له

    « باللغة التايلاندية »

    محمد صالح المنجد

    ترجمة: لطيفة بنت عبدالقادر

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: موقع الإسلام سؤال وجواب

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    อะไรคือความหมายของการที่มลาอิกะฮฺสุญูดต่อ นบีอาดัม และพี่น้องของนบียูสุฟสุญูดต่อท่าน

    คำถาม: เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงตรัสให้มลาอิกะฮฺสุญูดต่อนบีอาดัม? ฉันคิดว่าสิ่งนี้อนุญาตให้กระทำเฉพาะต่ออัลลอฮฺเท่านั้น เช่นเดียวกับเรื่องของนบียูสุฟ ทำไมพี่น้องของท่านจึงสุญูดต่อท่าน ?

    คำตอบ: การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

    การสุญูด แบ่งเป็นสองประเภท

    ประเภทแรก เป็นการแสดงออกถึงการมอบความยิ่งใหญ่ [ตะอฺซีม] และความใกล้ชิด [ตะก็อรรุบ] ต่อผู้ที่เขาสูญูด การสุญูดประเภทนี้เป็นอิบาดะฮฺ และจะปฏิบัติได้เฉพาะต่ออัลลอฮฺเท่านั้นตามหลักชะรีอะฮฺ (บทบัญญัติศาสนา) ที่ปรากฏอยู่ในคำสอนของนบีทุกท่าน

    ประเภทที่สอง เป็นการคารวะ [ตะหิยะฮฺ] และให้เกียรติ [ตักรีม] ต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด (เราจึงพบว่า นักวิชาการมุสลิมไทยบางท่านแปลคำว่าสุญูดในความหมายที่สองนี้ว่า การคารวะ – ผู้แปล)

    ซึ่งประเภทที่สองนี้ เป็นการสุญูดที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ ให้มลาอิกะฮฺปฏิบัติในกรณีของนบีอาดัม ดังนั้นบรรดามลาอิกะฮฺจึงสุญูดต่อนบีอาดัม ในลักษณะที่เป็นการให้เกียรติแก่ท่าน และในอีกแง่มุมหนึ่งยังเป็นการแสดงออกถึงอิบาดะฮฺที่มีต่ออัลลอฮฺด้วย เพราะพวกเขาเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์ที่ให้สุญูดต่อนบีอาดัม

    กรณีการสุญูดของพ่อและพี่น้องของนบียูสุฟแก่ท่าน ก็เป็นการคารวะและให้เกียรติเช่นกัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ได้รับการอนุญาตตามบทบัญญัติในขณะนั้น

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบทบัญญัติที่นำมาโดยนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ไม่อนุญาตให้สุญูดต่อผู้ใดทั้งสิ้น เว้นแต่อัลลอฮฺเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า

    « لَوْ كُنْتُ آمُراً أحداً أَنْ يَسْجُدَ لِأَحَدٍ ، لَأَمَرْتُ المَرْأَةَ أَنْ تَسْجُدَ لِزَوْجِهَا »

    "หากฉันจะใช้ให้บุคคลหนึ่งต้องสุญูดต่อบุคคลใด ฉันจะใช้ให้ภรรยาสุญูดต่อสามีของนาง"

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ยังห้ามมุอาซสุญูดต่อท่าน เมื่อเขากล่าวว่าบรรดาชาวคัมภีร์นั้นสุญูดต่อคนที่ดีเลิศในหมู่พวกเขา และท่านก็ได้กล่าวหะดีษที่ยกมาข้างต้น

    การที่ชะรีอะฮฺนี้ได้ห้ามสุญูดต่อผู้ใดทั้งสิ้นเว้นแต่อัลลอฮฺนั้น เป็นลักษณะของความสมบูรณ์แบบในการบรรลุถึงเตาฮีดที่แท้จริง (ป้องกันความสับสนในหมู่ผู้คนระหว่างการสุญูดสองรูปแบบ) นี่เป็นชะรีอะฮฺที่มีบทบัญญัติที่สมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ ٱلۡيَوۡمَ أَكۡمَلۡتُ لَكُمۡ دِينَكُمۡ وَأَتۡمَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ نِعۡمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ ٱلۡإِسۡلَٰمَ دِينٗاۚ ﴾ [المائدة: ٣]

    "วันนี้ ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว" (อัล-มาอิดะฮฺ : 3)

    ตอบคำถามโดย ชัยคฺ อับดุรฺเราะหฺมาน อัล-บัรฺรอก

    ที่มา: http://islamqa.info/en/8492

    http://islamqa.info/ar/8492