×
วันศุกร์ คือวันชุมนุมพบปะของพี่น้องมุสลิม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงส่งเสริมคนมาละหมาดให้ทำความสะอาด และให้ใช้เครื่องหอม เพื่อให้เขามีกลิ่นหอม จะได้ไม่สร้างความรำคาญกับผู้คนรอบข้างเขา และได้มีหะดีษหลายบทที่ชี้ให้เห็นถึงการเน้นย้ำใช้ให้อาบน้ำยกหะดัษ จนกระทั้งปราชญ์ผู้รู้บางคนถึงกับกล่าวว่าการอาบน้ำยกหะดัษเป็นวาญิบสำหรับการละหมาดวันศุกร์เลยทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    การอาบน้ำ และใช้เครื่องหอมในวันศุกร์

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    الاغتسال والتطيب للجمعة

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبد الهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    การอาบน้ำ และใช้เครื่องหอมในวันศุกร์

    ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « إِذَا جَاءَ أَحَدُكُمُ الجُمُعَةَ، فَلْيَغْتَسِلْ » [متفق عليه]

    “เมื่อพวกท่านคนใดจะออกมา(ละหมาด)วันศุกร์ เขาก็จงอาบน้ำยกหะดัษ” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านอบู สะอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « غُسْلُ يَوْمِ الجُمُعَةِ وَاجِبٌ عَلَى كُلِّ مُحْتَلِمٍ » [متفق عليه]

    “การอาบน้ำยกหะดัษในวันศุกร์เป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ)สำหรับผู้บรรลุแล้วทุกคน” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَنْ تَوَضَّأَ يَوْمَ الجُمُعَةِ فَبِهَا وَنِعْمَتْ، وَمَنْ اغْتَسَلَ فَالغُسْلُ أَفْضَلُ » [أخرجه أبو داود والترمذي]

    “ผู้ใดทำน้ำละหมาดในวันศุกร์ มันก็ช่างดีเสียกระไร และผู้ใดอาบน้ำยกหะดัษ ดังนั้น การอาบน้ำยกหะดัษย่อมประเสริฐกว่า” บันทึกโดยอบู ดาวูดและอัต-ติรมิซียฺ

    ท่านสัลมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « لاَ يَغْتَسِلُ رَجُلٌ يَوْمَ الجُمُعَةِ، وَيَتَطَهَّرُ مَا اسْتَطَاعَ مِنْ طُهْرٍ، وَيَدَّهِنُ مِنْ دُهْنِهِ، أَوْ يَمَسُّ مِنْ طِيبِ بَيْتِهِ، ثُمَّ يَخْرُجُ فَلاَ يُفَرِّقُ بَيْنَ اثْنَيْنِ، ثُمَّ يُصَلِّي مَا كُتِبَ لَهُ، ثُمَّ يُنْصِتُ إِذَا تَكَلَّمَ الإِمَامُ، إِلَّا غُفِرَ لَهُ مَا بَيْنَهُ وَبَيْنَ الجُمُعَةِ الأُخْرَى » [أخرجه البخاري]

    “ไม่มีชายคนใดที่อาบน้ำยกหะดัษในวันศุกร์ และเขาก็ได้ทำความสะอาดอย่างสุดความสามารถที่จะทำได้ และเขาก็ใช้น้ำมันใส่ผมจากน้ำมันใส่ผมของเขา และใส่เครื่องหอมจากเครื่องหอมในบ้านของเขา หลังจากนั้นเขาก็ออกไป เขาไม่ไป(เดิน)แทรกระหว่างคนสองคน หลังจากนั้นเขาก็ละหมาดเท่าที่ถูกกำหนดให้เขาทำ หลังจากนั้นเขาก็นิ่งเงียบเมื่ออิหม่ามพูด(คุตบะฮฺ) เว้นแต่จะถูกอภัยให้เขาในสิ่ง(บาป)ที่อยู่ระหว่างเขากับระหว่างอีกวันศุกร์หนึ่ง” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    คำอธิบาย

    วันศุกร์ คือวันชุมนุมพบปะของพี่น้องมุสลิม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงส่งเสริมคนมาละหมาดให้ทำความสะอาด และให้ใช้เครื่องหอม เพื่อให้เขามีกลิ่นหอม จะได้ไม่สร้างความรำคาญกับผู้คนรอบข้างเขา และได้มีหะดีษหลายบทที่ชี้ให้เห็นถึงการเน้นย้ำใช้ให้อาบน้ำยกหะดัษ จนกระทั้งปราชญ์ผู้รู้บางคนถึงกับกล่าวว่าการอาบน้ำยกหะดัษเป็นวาญิบสำหรับการละหมาดวันศุกร์เลยทีเดียว

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ใช้ให้อาบน้ำยกหะดัษเพื่อละหมาดวันศุกร์และเป็นการเน้นย้ำให้ทำอย่างมาก

    · ควรใช้เครื่องหอมและของสะอาด