บทเรียนจากความตาย
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
บทเรียนจากความตาย
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย :นิสรีน มะกูดี
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2012 - 1433
﴿الموت وعظاته﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: نسرين ماكودي
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่อง ที่ 136
บทเรียนจากความตาย
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรคงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่าน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
ผู้ที่หมกมุ่นในดุนยาหลงไปความงดงามและสนุกสนานของมันนั้น จิตใจของเขาจะหลงลืมการระลึกถึงความตาย และหากเขาระลึกถึง เขาจะทั้งเกลียดและพยายามหลีกหนีจากความตาย พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ قُلۡ إِنَّ ٱلۡمَوۡتَ ٱلَّذِي تَفِرُّونَ مِنۡهُ فَإِنَّهُۥ مُلَٰقِيكُمۡۖ ثُمَّ تُرَدُّونَ إِلَىٰ عَٰلِمِ ٱلۡغَيۡبِ وَٱلشَّهَٰدَةِ فَيُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمۡ تَعۡمَلُونَ ٨ ﴾ [الجمعة : 8]
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด แท้จริงความตายที่พวกท่านหนีจากมันไปนั้น มันจะมาพบกับพวกท่าน แล้วพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระผู้ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับและสิ่งเปิดเผย แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกท่านตามที่พวกท่านได้ประกอบกรรมไว้“ (อัล-ญุมุอะฮฺ: 8)
และตรัสว่า
﴿ أَيۡنَمَا تَكُونُواْ يُدۡرِككُّمُ ٱلۡمَوۡتُ وَلَوۡ كُنتُمۡ فِي بُرُوجٖ مُّشَيَّدَةٖۗ ﴾ [النساء : 78]
ความว่า “ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ความตายก็ย่อมมาถึงพวกเจ้า แม้ว่าพวกเจ้าจะอยู่ในป้อมปราการอันสูงตระหง่านก็ตาม“ (อัน-นิสาอ์: 78)
และตรัสอีกว่า
﴿ كُلُّ نَفۡسٖ ذَآئِقَةُ ٱلۡمَوۡتِۗ وَنَبۡلُوكُم بِٱلشَّرِّ وَٱلۡخَيۡرِ فِتۡنَةٗۖ وَإِلَيۡنَا تُرۡجَعُونَ ٣٥ ﴾ [الأنبياء : 35]
ความว่า “ทุกชีวิตย่อมลิ้มรสความตาย และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความชั่วและความดี และพวกเจ้าจะต้องกลับไปหาเราอย่างแน่นอน“ (อัล-อันบิยาอ์: 35)
ส่วนคนที่รู้จักผู้อภิบาลของเขา จะนึกถึงความตายอยู่เสมอ โดยยึดเอาคำสั่งเสียของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่กล่าวว่า:
«أَكْثِرُوْا ذِكْرَ هَاذِمِ اللَّذَّاتِ – يَعْنِي المَوْتَ» [الترمذي برقم 2307]
ความว่า "พวกท่านจงรำลึกถึงสิ่งที่ทำลายความสนุกสนานให้มากเถิด – หมายถึงความตาย" (บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ หะดีษเลขที่ 2307)
มีรายงานซึ่งบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ จากหะดีษของท่านอิบนุอุมัรเล่าว่า มีชายชาวอันศอรคนหนึ่งมาหาท่านนบี เขาได้ให้สลามแก่ท่านและกล่าวว่า:
يَا رَسُوْلَ اللهِ، أَيُّ المُؤْمِنِيْنَ أَفْضَلُ؟ قَالَ : «أَحْسَنَهُمْ خُلُقًا»، قَالَ: فَأَيُّ المُؤْمِنِيْنَ أَكْيَسُ؟ قَالَ: «أَكْثَرُهُم لِلْمَوْتِ ذِكْرًا، وَأَحْسَنُهُمْ لِمَا بَعْدَهُ اِسْتِعْدَادًا، أُولئِكَ الأَكْيَاسُ» [ابن ماجه برقم 4259]
ความว่า: โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ผู้ศรัทธาคนใดคือผู้ที่ประเสริฐที่สุด? ท่านกล่าวตอบว่า: "คนที่มีมารยาทดีที่สุด" เขากล่าวถามอีกว่า: แล้วผู้ศรัทธาคนใดที่ฉลาดที่สุด? ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอบว่า: “คนที่ระลึกถึงความตายมากๆ และเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังความตายเป็นอย่างดี คนเหล่านั้นคือคนที่ฉลาดที่สุด“ (อิบนุ มาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 4259)
ท่านหะสัน อัล-บัศรียฺ กล่าวว่า "ความตายนั้นจะเปิดโปงดุนยา และจะไม่ทิ้งความสุขใดๆไว้เลย บ่าวคนใดบังคับจิตใจของเขาให้ระลึกถึงความตายได้ ดุนยาและสรรพสิ่งในดุนยาก็จะเป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยด้อยค่าสำหรับเขา“
กวีท่านหนึ่งกล่าวว่า:
لا طِيْبَ للعَيْشِ ما دَامتْ منغَصة لِذاتِهِ بادّكارِ المَوْتِ والهَرمِ
"ชีวิตใดจะสุขหากยังทุกข์ยากเพราะคิดถึงการจากลาและวัยชรา"
ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ กล่าวว่า "หากหัวใจของฉันหลงลืมการรำลึกถึงความตายชั่วขณะหนึ่ง มันจะพบกับหายนะ" และบางท่านกล่าวว่า "ผู้ที่ระลึกถึงความตายมากๆเขาจะได้รับเกียรติสามประการด้วยกันคือ การรีบกลับเนื้อกลับตัว หัวใจที่สงบ และปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างกระฉับกระเฉง ส่วนผู้ที่หลงลืมความตาย จะถูกลงทัณฑ์ด้วยสามประการคือ ผัดผ่อนการกลับเนื้อกลับตัว ละทิ้งความพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี และคร้านที่จะทำอิบาดะฮฺ“
ความตายมีทั้งความทุกข์และความเจ็บปวด เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตต้องพบเจอ พระองค์อัลลอฮฺอาจทรงผ่อนหนักให้แก่บ่าวของพระองค์บางคน เช่น ผู้ที่ตายชะฮีด เพราะคมดาบที่ฟันลงบนร่างของพวกเขานั้นเป็นการทดสอบความศรัทธาที่แท้จริงที่เพียงพอแล้ว ดังปรากฏในหะดีษเศาะฮีหฺ (บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษเลขที่ 2053)
และความเจ็บปวดนี้อาจรุนแรงสำหรับบางคน เพื่อบาปนั้นจะได้เบาบางลง เป็นความเมตตาและเพื่อยกระดับให้แก่เขา เช่นบรรดานบี (ขอพระองค์อัลลอฮฺพึงพอใจพวกเขาทั้งหมด) นำโดยท่านนบีมุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ มวลการสรรเสริญและความสันติสุขจงมีแด่ท่าน ผู้ซึ่งเผชิญกับความตายที่หนักหน่วง ทั้งที่ท่านเป็นบุคคลที่พระองค์อัลลอฮฺทรงรักยิ่ง
และมีบันทึกจากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า “ ในมือของท่านนบีมีขันหรือภาชนะใส่น้ำชิ้นหนึ่ง ท่านนำมือของท่านจุ่มลงไปในน้ำ จากนั้นใช้มือทั้งสองลูบหน้า และกล่าวว่า:
« لَا إِلهَ إِلَّا اللهُ ، إِنَّ لِلمَوْتِ سَكْرَاتٍ»
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงความตายนั้นมีแต่ความเจ็บปวด“
จากนั้นท่านยกมือขึ้นและกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอให้ข้าพระองค์ได้อยู่ท่ามกลางมิตรสหายผู้สูงส่ง (บรรดามะลาอิกะฮฺและศาสนทูต) ด้วยเถิด" จนกระทั่งเสียชีวิต" (เศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4449)
และขณะที่อาการท่านนบีเริ่มทรุดลง จนทำให้ท่านหมดสติ ท่านหญิงฟาติมะฮฺกล่าวว่า "โอ้พ่อจ๋า" ท่านนบีจึงกล่าวกับนางว่า:
«لَيْسَ عَلَى أَبِيْكِ كُرْبُ بَعْدَ اليَوْمِ»
“หลังจากวันนี้จะไม่มีความเจ็บปวดใดกับพ่อของเธออีกแล้ว“
กระทั่งความเจ็บปวดทวีความรุนแรงขึ้น ท่านจึงกล่าวว่า
«هَرِيقُوا عَلَيَّ مِنْ سَبْعِ قِرَبٍ لَمْ تُحْلَلْ أَوْكِيَتُهُنَّ لَعَلِّي أَعْهَدُ إِلَى النَّاسِ» [البخاري برقم 4446]
“พวกท่านจงนำเหยือกน้ำเจ็ดเหยือก ที่ยังไม่เปิดฝา (หมายถึงน้ำสะอาด) มาพรมใส่ฉันหน่อย เพื่อที่ฉันนั้นจะได้สั่งเสียผู้คน" (อัล–บุคอรียฺ 4446)
และทุกครั้งที่ท่านนบีทำความสะอาดร่างกายและตั้งใจที่จะนำละหมาด ท่านก็หมดสติไปถึง 3 ครั้ง (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 418)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ กล่าวว่า "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียชีวิตในอ้อมกอดของฉัน และฉันไม่เคยกลัวความตายอันเจ็บปวดของผู้ใดอีกเลยหลังจากนั้น" (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ: 4446)
ความเจ็บปวดเหล่านี้สำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธาจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น และผู้ฝ่าฝืนก็เช่นเดียวกัน พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَوۡ تَرَىٰٓ إِذِ ٱلظَّٰلِمُونَ فِي غَمَرَٰتِ ٱلۡمَوۡتِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ بَاسِطُوٓاْ أَيۡدِيهِمۡ أَخۡرِجُوٓاْ أَنفُسَكُمُۖ ٱلۡيَوۡمَ تُجۡزَوۡنَ عَذَابَ ٱلۡهُونِ بِمَا كُنتُمۡ تَقُولُونَ عَلَى ٱللَّهِ غَيۡرَ ٱلۡحَقِّ وَكُنتُمۡ عَنۡ ءَايَٰتِهِۦ تَسۡتَكۡبِرُونَ ٩٣ ﴾ [الأنعام: ٩٣]
ความว่า "และหากเจ้าจะได้เห็นขณะที่บรรดาผู้อธรรมอยู่ในภาวะคับขันแห่งความตาย และมลาอิกะฮฺกำลังแบมือของพวกเขา โดยกล่าวว่าจงให้ชีวิตของพวกท่านออกมา วันนี้พวกท่านจะได้รับการตอบแทนซึ่งโทษแห่งการต่ำต้อย เนื่องจากที่พวกท่านกล่าวให้ร้ายแก่อัลลอฮโดยปราศจากความจริง และเนื่องจากการที่พวกท่านแสดงความยโสต่อบรรดาโองการของพระองค์ (อัล-อันอาม: 93 )
และตรัสว่า
﴿ وَلَوۡ تَرَىٰٓ إِذۡ يَتَوَفَّى ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ يَضۡرِبُونَ وُجُوهَهُمۡ وَأَدۡبَٰرَهُمۡ وَذُوقُواْ عَذَابَ ٱلۡحَرِيقِ ٥٠ ﴾ [الأنفال: ٥٠]
ความว่า “และหากว่าเจ้าเห็นขณะที่มลาอิกะฮฺเอาวิญญาณของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาอยู่นั้นพวกเขา (มลาอิกะฮฺ) จะตีใบหน้าของพวกเขา (ผู้ปฏิเสธ) และหลังของพวกเขา และกล่าวว่า พวกเจ้าจงลิ้มการลงโทษแห่งการเผาไหม้เถิด” (อัล-อันฟาล 50 )
อิหม่ามอะฮฺหมัดได้บันทึกไว้ในมุสนัดของท่านจากหะดีษซึ่งรายงานโดยท่าน อัล-บะรออ์ บิน อาซิบ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«وَ إِنَّ العَبْدَ الكَافِرَ – وَ فِي رِوَايَةِ الفَاجِرَ – إِذْ كَانَ فِي انْقِطَاعٍ مِنَ الُّدنْيَا ، وَ إِقْبَالٍ مِنَ الآخِرَةِ ، نَزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَلَائِكَةٌ – غِلَاظٌ شِدَادٌ – سُودُ الوُجُوْهِ ، مَعَهُمُ المسوْحُ مِنَ النَّارِ ، فَيَجْلِسُوْنَ مِنْهُ مَدَّ البَصَرُ ، ثُمَّ يَجِيءُ مَلَكُ المَوْتِ حَتَّى يَجْلِسَ عِنْدَ رَأْسِهِ ، فَيَقُوْلُ : أَيَّتُهَا النَّفْسُ الخَبِيْثَةُ ، اخْرُجِي إِلَى سَخَطٍ مِنَ اللهِ وَغَضَبٍ ، قَالَ: فَتَفَرَّقَ فِي جَسَدِهِ ، فَيَنْتَزِعَهَا كَمَا يَنْتَزِعُ السَّفُوْدُ – الكثير الشعب - مِنَ الصُّوْفِ المَبْلُوْلِ ، فَتَقَطَّعَ مَعَهَا العُرُوْقُ وَالعَصَبُ» [مسند الإمام أحمد 4/287-288]
ความว่า “ แท้จริงบ่าวผู้ปฏิเสธ – อีกรายงานหนึ่งคือ บ่าวที่ชั่วช้า – เมื่อขณะที่เขากำลังจะจากดุนยาและกำลังเผชิญหน้ากับโลกอาคิเราะฮฺ มลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวกลุ่มหนึ่งจะลงมาจากฟากฟ้า มีใบหน้าที่หมองคล้ำ สวมใส่อาภรณ์ที่หยาบกระด้างซึ่งทำจากเปลวไฟ โดยพวกเขาจะนั่งลงตรงปลายสายตา จากนั้นมะละกุลเมาตฺ (มะลาอิกะฮฺแห่งความตาย) ก็มาถึงและนั่งลงตรงศีรษะของเขา และกล่าวว่า "โอ้จิตวิญญาณที่ชั่วช้า จงออกไปสู่ความเกลียดชังและความโกรธกริ้วของอัลลอฮฺเถิด" ว่าแล้ววิญญาณก็ถูกแยกออกจากร่าง และมะละกุลเมาตฺก็จะกระชากมันเหมือนกับกระชากเหล็กที่มีหนามแหลมมากมายออกจากขนสัตว์อันเปียกชุ่ม โดยมันจะตัดหลอดเลือดและเส้นประสาทต่างๆ” (มุสนัดอะฮฺหมัด 4/287-288)
และไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดร้องขอความตายถึงแม้ว่าเขาจะพบกับการทดสอบที่หนักหน่วงรุนแรงจากอัลลอฮฺ อุมมุล ฟัฎลฺ เล่าว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาเยี่ยมอัล-อับบาส ขณะที่เขาครวญครางและร้องขอความตาย ท่านนบีจึงกล่าวว่า: "โอ้อับบาส โอ้ลุงของท่านเราะสูล ท่านอย่าปรารถนาความตายเลย หากท่านคือผู้ที่ทำความดี ความดีของท่านจะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ดีสำหรับท่าน และหากท่านเป็นผู้ที่กระทำผิด ดังนั้น หากความตายล่าช้าไป ก็จงขออภัยโทษ ซึ่งนั่นก็คือสิ่งที่ดีสำหรับท่าน ดังนั้น ท่านจงอย่างปรารถนาความตายอีกเลย" (มุสนัดอะหฺมัด 6/339)
ท่านอนัส เล่าว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«لَا يَتَمَنَّيَنَّ أَحَدٌ مِنكُمُ الَموْتَ لِضُرٍّ نَزَلَ بِهِ ، فَإِنْ كَانَ لَا بُدَّ مُتَمَنِّياً للموتِ فَلْيَقُلْ: اللهم أَحْيِنِي مَا كَانَتِ الحَيَاةُ خَيْراً لِي ، وَتَوَفَّنِي إِذَا كَانَتِ الوَفَاةُ خَيْراً لِي» [البخاري 6351، ومسلم 2680]
ความว่า: "คนหนึ่งคนใดจากพวกท่านอย่าได้ปรารถนาความตายเนื่องจากทุกข์ภัยความลำบากที่เกิดขึ้นกับเขา แต่หากจะปรารถนาความตาย จงกล่าวว่า: โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ฉันมีชีวิตอยู่ หากการมีชีวิตนั้นดีสำหรับฉัน และขอพระองค์ทำ ให้ฉันตาย หากความตายนั้นดีสำหรับฉัน" (อัล-บุคอรียฺ 6351 มุสลิม 2680 )
และเป็นหน้าที่สำหรับมนุษย์ทุกคนที่จะต้องเตรียมตัวรับความตาย ก่อนที่มันจะมาถึง ด้วยการรีบปฏิบัติคุณงามความดี ก่อนที่วาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง
แน่นอนว่าพระผู้อภิบาลของเรานั้นทรงส่งเสริมให้เราตักตวงโอกาสในยามว่าง โดยพระองค์ตรัสถึงผู้ที่ประมาทเมื่อเขาพบกับความตายว่า:
﴿ حَتَّىٰٓ إِذَا جَآءَ أَحَدَهُمُ ٱلۡمَوۡتُ قَالَ رَبِّ ٱرۡجِعُونِ ٩٩ لَعَلِّيٓ أَعۡمَلُ صَٰلِحٗا فِيمَا تَرَكۡتُۚ كَلَّآۚ إِنَّهَا كَلِمَةٌ هُوَ قَآئِلُهَاۖ وَمِن وَرَآئِهِم بَرۡزَخٌ إِلَىٰ يَوۡمِ يُبۡعَثُونَ ١٠٠ ﴾ [المؤمنون : 99-100]
ความว่า "จนกระทั่งเมื่อความตายได้มาหาคนใดในพวกเขา เขาก็จะกล่าวขึ้นว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์กลับไปมีชีวิตอีกครั้งหนึ่งเถิด เพื่อข้าพระองค์จะได้กระทำความดีในสิ่งที่ข้าพระองค์ปล่อยทิ้งไว้ เปล่าเลย มันเป็นเพียงถ้อยคำที่เขากล่าวมันไว้เท่านั้น และเบื้องหน้าของพวกเขานั้นมีโลกบัรซัค จนกระทั่งถึงวันที่พวกเขาจะถูกฟื้นคืนชีพขึ้นมา” (อัลมุอ์มินูน 99-100)
และตรัสว่า:
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تُلۡهِكُمۡ أَمۡوَٰلُكُمۡ وَلَآ أَوۡلَٰدُكُمۡ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ ٩ وَأَنفِقُواْ مِن مَّا رَزَقۡنَٰكُم مِّن قَبۡلِ أَن يَأۡتِيَ أَحَدَكُمُ ٱلۡمَوۡتُ فَيَقُولَ رَبِّ لَوۡلَآ أَخَّرۡتَنِيٓ إِلَىٰٓ أَجَلٖ قَرِيبٖ فَأَصَّدَّقَ وَأَكُن مِّنَ ٱلصَّٰلِحِينَ ١٠ ﴾ [المنافقون : 9-10]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย อย่าให้ทรัพย์สินของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้าหันเหพวกเจ้าจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และผู้ใดกระทำเช่นนั้น ชนเหล่านั้นคือพวกที่ขาดทุน และจงบริจาคจากสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าก่อนที่ความตายจะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดในหมู่พวกเจ้า แล้วเขาก็จะกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ มาตรว่าพระองค์ท่านทรงผ่อนผันให้แก่ข้าพระองค์อีกชั่วเวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อที่ข้าพระองค์จะได้บริจาคและข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่คนดีทั้งหลาย (ผู้ทรงคุณธรรม") อัล-มุนาฟิกูน 9-10)
ท่านอิบนุอุมัร เล่าว่า : ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จับไหล่ของฉันและกล่าวว่า
«كُنْ فِي الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ ، أَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ» [البخاري برقم 6416]
ความว่า "จงใช้ชีวิตในดุนยาดั่งคนแปลกหน้า หรือผู้เดินทาง"
และท่านอิบนุอุมัรได้เคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อท่านตื่นขึ้นในยามเช้า จงอย่าคอยเวลาเย็น และเมื่อถึงเวลาเย็น ก็จงอย่ารอให้ถึงเช้า" (อัล-บุคอรียฺ 6416)
และในรายงานของติรมิซียฺระบุว่า "จงถือว่าตัวท่านเป็นผู้ที่อยู่ในหลุมศพ โอ้บ่าวของอัลลอฮฺ ท่านจะไม่รู้เลยว่า ชื่อของท่านจะเป็นเช่นไร (หมายถึงไม่รู้ว่าชีวิตของท่านในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร)" (อัต-ติรมิซียฺ 2333)
กวีท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า: "โอ้ผู้หมกมุ่นกับดุนยา อยู่กับความปรารถนาที่ไม่สิ้นสุด ความตายจะมาถึงอย่างฉับพลัน สุสานนั้นคือแหล่งสะสมการงาน"
และอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า: "หากว่าเราตายแล้วเราถูกเพิกเฉย ความตายก็คงจะเป็นยอดปรารถนาของทุกชีวิต แต่นี่เราตายแล้วฟื้นคืน และจะถูกถามถึงทุกสิ่งที่เคยกระทำ"
والحمد لله رب العالمين
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين