ความประเสริฐและการส่งเสริมให้อดทน
หมวดหมู่
Full Description
ความประเสริฐและการส่งเสริมให้อดทน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
فضل الصبر والحث عليه
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความประเสริฐและการส่งเสริมให้อดทน
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ إِنَّمَا يُوَفَّى ٱلصَّٰبِرُونَ أَجۡرَهُم بِغَيۡرِ حِسَابٖ ١٠ ﴾ [الزمر: ١٠]
“แท้จริงบรรดาผู้อดทนนั้นจะได้รับการตอบแทนรางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยไม่อาจคำนวณ” อัซ-ซุมัร:10
และทรงตรัสอีกว่า
﴿ وَبَشِّرِ ٱلصَّٰبِرِينَ ١٥٥ ﴾ [البقرة: ١٥٥]
“และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทน” [อัล-บะเกาะเราะฮฺ:155]
ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ได้มีสตรีผู้หนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม แล้วได้กล่าวว่า
« إِنِّي أُصْرَعُ، وَإِنِّي أَتَكَشَّفُ، فَادْعُ اللَّهَ لِي، قَالَ: «إِنْ شِئْتِ صَبَرْتِ وَلَكِ الجَنَّةُ، وَإِنْ شِئْتِ دَعَوْتُ اللَّهَ أَنْ يُعَافِيَكِ» فَقَالَتْ: أَصْبِرُ، فَقَالَتْ: إِنِّي أَتَكَشَّفُ، فَادْعُ اللَّهَ لِي أَنْ لاَ أَتَكَشَّفَ، فَدَعَا لَهَا » [متفق عليه]
“แท้จริงฉันเป็นโรคลมบ้าหมู และ(เวลาที่เกิดอาการ)ฉันก็จะ(อยู่ในสภาพ)เปลือยกาย ดังนั้นขอท่านดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้ฉันหายทีเถิด” ท่านก็กล่าวว่า “หากเธอต้องการ(อดทน) ก็ให้เธออดทน แล้วเธอจะได้สวรรค์ แต่หากเธอต้องการ(ให้ฉันดุอาอ์) ฉันก็จะขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้เธอหาย” นางก็กล่าวว่า “ฉันจะอดทน” แล้วนางก็กล่าวอีกว่า “แต่ฉันจะเปลือยกาย ท่านโปรดขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้ฉันไม่ต้องเปลือยกายเถิด” แล้วท่านก็ขอดุอาอ์ให้แก่นาง” บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม
ท่านศุฮัยบฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« عَجَبًا لِأَمْرِ الْمُؤْمِنِ، إِنَّ أَمْرَهُ كُلَّهُ خَيْرٌ، وَلَيْسَ ذَاكَ لِأَحَدٍ إِلَّا لِلْمُؤْمِنِ، إِنْ أَصَابَتْهُ سَرَّاءُ شَكَرَ، فَكَانَ خَيْرًا لَهُ، وَإِنْ أَصَابَتْهُ ضَرَّاءُ، صَبَرَ فَكَانَ خَيْرًا لَهُ » [أخرجه مسلم]
“ช่างแปลกเสียจริงกับเรื่องของผู้ศรัทธา แท้จริงเรื่องของเขาทั้งหมดเป็นความดี และอย่างนั้นจะไม่เกิดแก่ผู้ใดนอกจากแก่ผู้ศรัทธาเท่านั้น หากมีสิ่งดีงามใดมาประสบกับเขา เขาก็จะขอบคุณ มันก็จะเป็นความดีสำหรับเขา และหากมีสิ่งเลวร้ายใดมาประสบกับเขา เขาก็อดทน มันก็จะเป็นความดีสำหรับเขา” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« المُسْلِمُ إِذَا كَانَ يُخَالِطُ النَّاسَ وَيَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ خَيْرٌ مِنَ المُسْلِمِ الَّذِي لَا يُخَالِطُ النَّاسَ وَلَا يَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ » [أخرجه الترمذي]
“มุสลิมที่เมื่ออยู่คลุกคลีกับคนอื่นๆ และอดทนกับการทำร้ายของพวกเขานั้น ดีกว่ามุสลิมที่ไม่ได้อยู่คลุกคลีกับคนอื่นๆ และไม่ได้อดทนกับการทำร้ายของพวกเขา” บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ
คำอธิบาย
การอดทนมีสถานภาพยิ่งใหญ่ในศาสนา เพราะเรื่องศาสนาทั้งหมดนั้นยืนอยู่ได้ด้วยความอดทน คือการอดทนในการเชื่อฟังอัลลอฮฺ และอดทนไม่ทำสิ่งที่เป็นข้อห้ามของอัลลอฮฺ และอดทนต่อกำหนดสภาวะการณ์ต่างๆของอัลลอฮฺ และผู้ที่อดทนนั้น คือผู้ได้กำไร เพราะเขาเชื่อฟังอัลลอฮฺ และหวังผลบุญจากพระองค์ และเพราะความหวาดกลัวและความโกรธแค้นนั้นไม่สามารถเปลี่ยนกำหนดใดๆ ได้ หากแต่มันจะกลับกลายเป็นโทษแก่เจ้าของมันเอง
ประโยชน์ที่ได้รับ
· ความประเสริฐของการอดทน และสถานะอันสูงส่งของมันในด้านศาสนา
· มันเป็นเหตุให้ได้รับชัยชนะด้วยสวรรค์
· ส่งเสริมให้อยู่อดทนกับการรบกวนของผู้อื่น