×
ความอิจฉา คือ ความไม่อยากเห็นสิ่งดีงามเกิดขึ้นกับผู้อื่น และหวังให้มันมลายสิ้นไป มันเป็นลักษณะที่น่ารังเกียจที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามเอาไว้เพราะมันเป็นบ่อเกิดความเสียหายในระหว่างมุสลิม และเกิดความไม่พอใจต่อกัน และยังเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายกันได้ และท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกอีกว่า การหวังอยากมีเหมือนคนอื่นเพื่อจะได้แข่งขันทำความดีในเรื่องศาสนานั้นไม่ถือเป็นการอิจฉาที่น่าตำหนิ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    ห้ามการอิจฉา

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    النهي عن الحسد

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ห้ามการอิจฉา

    ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    »لَا تَبَاغَضوا وَلا تَحَاسَدوا وَلَا تَدَابَروا وَلا تَقَاطَعوا وَكُونُوا عِبَادَ اللهِ إِخْوانا، لَا يَحِل لِمُسْلِمٍ أَن يَهْجُرَ أَخَاه فَوْقَ ثَلَاث» [متفق عليه[

    “พวกท่านจงอย่าโกรธกัน อย่าอิจฉากัน อย่าหันหลังให้กัน อย่าตัดสัมพันธ์กัน และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺฉันท์พี่น้อง ไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดหมางเมินพี่น้องของเขาเกินกว่าสาม(วัน) บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    »لَا تَحَاسَدوا وَلَا تَنَاجَشوا وَلَا تَبَاغَضوا وَلَا تَدَابَروا وَلَا يَبِعْ بَعْضُكم عَلى بَيْعِ بَعْض، وَكُوْنُوا عِبَادَ اللهِ إِخْوانا، المُسْلِم أَخو المسلم: لَا يُظْلِمه وَلَا يَخْذِلُه وَلَا يَكْذِبُه وَلَا يَحْقِرُه، التَقْوَى ههنا - يُشِيْر إِلى صَدْرِه، ثَلَاثَ مَرّاتٍ- بِحَسْبِ امْرِيءٍ مِن الشّر أَن يَحْقِرَ أَخاه المسلم، كُلّ المسلم على المسلم حرامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ» [أخرجه مسلم[

    “พวกท่านจงอย่าอิจฉากัน จงอย่าล่อลวงกัน จงอย่าจงหันหลังให้กัน และบางคนจงอย่าขายตัดหน้าของอีกบางคน และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺฉันท์พี่น้อง มุสลิมเป็นพี่น้องของมุสลิม ไม่อธรรมเขา ไม่เหยียบย่ำเขา ไม่โกหกใส่เขา และไม่เหยียดหยามเขา และความยำเกรง(ตักวา)อยู่ตรงนี้ –ท่านได้ชี้ตรงหน้าอกของท่าน 3 ครั้ง- คนๆหนึ่งทำบาปมากพอแล้วกับการดูแคลนพี่น้องมุสลิมของเขา บรรดามุสลิมกับมุสลิมนั้นที่เป็นต้องห้ามกัน ทั้งเลือดเนื้อของเขา ทรัพย์สินของเขา และเกียรติของเขา” บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    »لَا حَسَدَ إِلّا فِي اثْنَتَيْنِ: رَجُلٌ آتاهُ اللهُ مَالًا فَسَلَّطَه عَلى هَلَكَتِهِ بِالحَقّ (أي: إِنفَاقُه) ، وَرَجُلٌ آتاهُ اللهُ الحِكْمَةَ فَهُوَ يَقْضِي بِها وَيُعَلِّمُها» [متفق عليه[

    “ไม่มีการอิจฉาใด(อนุญาตให้ทำได้)เว้นแต่สองประการ คือ คนๆหนึ่ง อัลลอฮฺให้เขามีทรัพย์สิน(มากมาย) แล้วเขาก็จัดการมันให้หมดไปในทางอันชอบ(คือใช้ในหนทางของอัลลอฮฺ) และคนๆหนึ่งที่อัลลอฮฺให้เขามี ฮิกมะฮฺ (คือรู้จักใช้ปัญญา) แล้วเขาก็ใช้มัน(กับตัวเอง) และสอนมัน(ให้ผู้อื่น) บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    (คำว่า ไม่มีการอิจฉา คือ ไม่ควรที่คนใดจะถูกอิจฉา เว้นแต่เขามีข้อใดข้อหนึ่งในสองลักษณะนี้)

    อธิบาย

    ความอิจฉา คือ ความไม่อยากเห็นสิ่งดีงามเกิดขึ้นกับผู้อื่น และหวังให้มันมลายสิ้นไป มันเป็นลักษณะที่น่ารังเกียจที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามเอาไว้เพราะมันเป็นบ่อเกิดความเสียหายในระหว่างมุสลิม และเกิดความไม่พอใจต่อกัน และยังเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายกันได้ และท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกอีกว่า การหวังอยากมีเหมือนคนอื่นเพื่อจะได้แข่งขันทำความดีในเรื่องศาสนานั้นไม่ถือเป็นการอิจฉาที่น่าตำหนิ

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ห้ามการอิจฉาระหว่างมุสลิม

    · การอยากได้ทำดีเหมือนคนอื่นไม่ใช่เป็นการอิจฉา