×
อธิบายความหมายและหุก่มของ อัล-ฮิบะฮฺและอัศ-เศาะดะเกาะฮฺ ความประเสริฐของการมีความเผื่อแผ่ใจบุญและการทำดีต่อผู้อื่น บทบัญญัติในการรับของที่ถูกยกให้ สิ่งที่ทำให้การยกให้ถือว่าใช้ได้ วิธีการยกทรัพย์สินให้แก่ลูก ๆ การเอาของที่มอบให้คนอื่นคืน สิ่งที่ผู้มอบและผู้รับมอบควรทำ การบริจาคที่ดีที่สุด ฯลฯ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    อัล-ฮิบะฮฺ (การยกให้)

    และอัศ-เศาะดะเกาะฮฺ (การบริจาค)

    ﴿ عنوان﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : อิสมาน จารง

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2009 - 1430

    ﴿الهبة والصدقة﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: عثمان جارونج

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    อัล-ฮิบะฮฺ (การยกให้)

    และอัศ-เศาะดะเกาะฮฺ (การบริจาค)

    การช่วยเหลือด้วยทรัพย์สินนั้นมีสามระดับ

    ระดับแรก คือการที่ท่าน (ผู้ช่วยเหลือ) ได้วางตัวผู้ขัดสนให้อยู่ในฐานะทาสคนหนึ่งของท่าน โดยท่านจะเป็นผู้ที่เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่เขาโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการขอก่อน ซึ่งระดับนี้ถือเป็นระดับต่ำสุด.

    ระดับที่สอง คือการที่ท่านวางตัวเขา (ผู้ขัดสน) ให้อยู่ในฐานะเดียวกับตัวท่าน โดยท่านพอใจให้เขามีส่วนร่วมในทรัพย์สินของท่าน

    ระดับที่สาม ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุด คือการที่ท่านยอมเสียสละให้กับเขามากกว่าตัวท่านเอง ระดับนี้คือระดับผู้เป็นศิดดีกีน (บรรดาผู้มีสัจจะ)

    อัล-ฮิบะฮฺ คือการมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในขณะที่ผู้มอบยังมีชีวิตอยู่ ให้แก่ผู้อื่นโดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน ซึ่งอยู่ในความหมายนี้เช่นกันก็คือ อัล-ฮะดิยฺยะฮฺ (ให้ของกำนัล) และอัล-อะฏิยฺยะห์(มอบของขวัญ)

    อัศ-เศาะดะเกาะฮฺ คือสิ่งที่มอบให้แก่ผู้ยากจนและขัดสนในรูปขอวงทรัพย์สิน โดยหวังเพียงผลบุญจากอัลลอฮฺ ตะอาลา.

    หุก่มของ อัล-ฮิบะฮฺและอัศ-เศาะดะเกาะฮฺ

    ทั้งอัล-ฮิบะฮฺและอัศ-เศาะดะเกาะฮฺถือเป็นสิ่งที่สุนัต แท้จริงแล้วอิสลามได้สนับสนุนให้มีการฮิบะฮฺ ฮะดิยฺยะฮฺ อะฏิยฺยะฮฺ และเศาะดะเกาะฮฺ เพราะมันมีส่วนที่ทำให้หัวใจเกิดความรักใคร่กัน ทำให้สายใยแห่งความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์นั้นแข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้จิตใจสะอาดปลอดจากความโสมมของความตระหนี่ ขี้เหนียว และความละโมบโลภมาก มันจะทำให้ผู้ที่ปฏิบัติมันโดยหวังเพียงความโปรดปราณจากอัลลอฮฺจะได้รับการตอบแทนที่มากมายและผลบุญที่ยิ่งใหญ่.

    แบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ในการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ

    อัลลอฮฺทรงเป็น ผู้ทรงเผื่อแผ่ยิ่ง พระองค์ทรงรักความใจบุญสุนทานและการเผื่อแผ่ ท่านศาสนะทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถือเป็นมนุษย์ที่มีความใจบุญเผื่อแผ่มากที่สุด ท่านจะมีความเผื่อแผ่มากใจบุญมากขึ้นในเดือนเราะมะฎอน ท่านจะรับฮะดิยฺยะฮฺและท่านจะตอบแทนกลับด้วย ท่านเชิญชวนให้รับมันและสนันสนุนการรับด้วย ท่านเป็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในการให้ในสิ่งที่ตนมีอยู่ในมือ ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดขอสิ่งใดจากท่านนอกจากท่านจะให้แก่คนๆนั้นแม้จะเพียงเล็กน้อยหรือมากมาย ท่านจะให้โดยไม่เกรงกลัวความยากจน และการให้และอะติยฺยะฮฺและเศาะดะเกาะฮฺเป็นสิ่งที่ท่านรักมากที่สุด.

    ความสุขใจของท่านในการให้มีมากกว่าการรับ เมื่อมีผู้ขัดสนมาหาท่าน ท่านจะยอมเสียสละมากกว่าตัวท่านเอง และท่านจะมีความหลากหลายในวิธีการให้และการบริจาคของท่าน บางครั้งท่านจะให้โดยวิธีฮิบะฮฺ บางครั้งด้วยการเศาะดะเกาะฮฺ บางครั้งด้วยการให้ฮะดิยฺยะฮฺ ในบางครั้งท่านจะซื้อสิ่งหนึ่งแล้วให้มากกว่าราคาของมัน บางครั้งท่านจะกู้ยืมสิ่งหนึ่งแล้วชดใช้มากกว่านั้น บางครั้งท่านจะซื้อสิ่งหนึ่งแล้วท่านก็มอบทั้งสินค้าและราคาให้ผู้ขายไปทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นผู้ที่มีจิตใจปลอดโปร่งมากที่สุด ดีที่สุด และมีความสุขมากที่สุด ขอความสรรเสิญจากอัลลอฮฺและความสันติสุขของพระองค์จงมีแด่ท่าน.

    ความประเสริฐของการมีความเผื่อแผ่ใจบุญและการทำดีต่อผู้อื่น

    1- อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกรุอานว่า

    ( ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ) [البقرة/ 272]

    ความว่า “และความดีงาม ( ทรัพย์สิน ) ใดๆที่พวกเจ้าบริจาค มันย่อมเป็นของตัวพวกเจ้าอย่างแน่นอน และพวกเจ้าจะไม่บริจาคนอกจากเพื่อแสวงหาความพึงพอใจของอัลลอฮฺเท่านั้น และความดีงามใดที่พวกเจ้าบริจาคนั้นมันจะถูกตอบแทนครบถ้วนแก่พวกเจ้าโดยจะไม่ถูกฉ้อฉลอย่างแน่นอน [อัล-บะเกาะเราะฮฺ : ๒๗๒]

    2- รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ تَصَدَّقَ بِعَدْلِ تَـمْرَةٍ مِنْ كَسْبٍ طَيِّبٍ، وَلا يَـقْبَلُ الله إلَّا الطَّيِّبَ وَإنَّ الله يَتَقَبَّلُـهَا بِيَـمِينِـهِ ثُمَّ يُرَبِّيهَا لِصَاحِبِـهَا كَمَـا يُرَبِّي أَحَـدُكُمْ فَلُوَّهُ حَتَّى تَـكُونَ مِثْلَ الجَبَلِ». متفق عليه.

    ความว่า “ใครก็ตามที่ได้ให้เศาะดะเกาะฮฺลูกอินทพาลัมเพียง ๑ ลูกที่เขาได้มันมาด้วยวิธีที่ดี -ซึ่งแท้จริงแล้วอัลลอฮฺจะไม่ทรงรับเว้นแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น- โดยแท้จริงแล้วอัลลอฮฺจะทรงรับเศาะดะเกาะฮฺนั้นด้วยพระหัตย์ขวาของพระองค์ และพระองค์จะทรงเลี้ยงดูมันให้แก่ผู้ที่ได้บริจาคท่านนั้น เปรียบดังเช่นคนๆหนึ่งทำการเลี้ยงดูลูกม้าของเขา จนกระทั่งเศาะดะเกาะห์ที่เขาให้นั้นใหญ่โตเหมือนภูเขา” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1410 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1014]

    บทบัญญัติในการรับของที่ถูกยกให้

    ใครก็ตามที่ได้รับทรัพย์สินหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ใช่เป็นการฝากให้ดูแลและไม่ใช่เป็นการขอทานจากผู้อื่น เขาก็จงรับมันไว้และไม่จำเป็นต้องปฏิเสธเพราะแท้จริงมันเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่เขา ซึ่งหากว่าเขาต้องการเก็บมันไว้เป็นทรัพย์สินก็ได้หรือจะบริจาคมันไปก็ได้.

    ได้มีรายงานจากท่าน อิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ท่านได้กล่าวว่า

    أنَّ رَسُولَ الله صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم كَانَ يُـعْطِي عُمَـرَ بْنَ الخَطَّابِ العَطَاءَ فَيَـقُولُ لَـهُ عُمَرُ: أعْطِهِ يَا رَسُولَ الله أفْقَرَ إِلَيْـهِ مِنِّي، فَقَالَ لَـهُ رَسُولُ الله ×: «خُذْهُ فَتَـمَوَّلْـهُ أوْ تَصَدَّقْ بِـهِ، وَمَا جَاءَكَ مِنْ هَذَا المَالِ وَأنْتَ غَيْرُ مُشْرِفٍ وَلا سَائِلٍ فَخُذْهُ، وَمَا لا فَلا تُتْبِعْهُ نَفْسَكَ». متفق عليه.

    ความว่า “แท้จริงท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยให้ของชิ้นหนึ่งแก่อุมัร บุตร อัล-ค็อฏฏอบ ดังนั้นอุมัรได้กล่าวว่าแก่ท่านศาสดาว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺท่านจงให้แก่เขาผู้นั้นเถิดเพราะเขามีความยากจน(จำเป็น) มากกว่าฉัน” ท่านเราะสูลุลลอฮฺสุ, ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่ท่านอุมัรว่า “ท่านจงรับมันไว้ใช้ (เป็นทรัพย์สิน) หรือบริจาคมันไปก็ได้ และทรัพย์สินเหล่านี้ที่ท่านได้รับมันมาโดยไม่ใช่การฝากให้ดูแลหรือการร้องขอก็จงรับมันไว้, แต่ถ้าหากว่าไม่ใช่อย่างที่ว่านั้นก็จงอย่าได้มีความต้องการที่จะได้มันเลย” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 7164 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1045]

    - อนุญาตให้มีการบริจาคแก่มุสลิมหรือคนศาสนาอื่นได้

    สิ่งที่ทำให้การยกให้ถือว่าใช้ได้

    การยกให้ถือว่าใช้ได้ไม่ว่าจะด้วยคำกล่าวใดก็ตามที่สื่อถึงการมอบกรรมสิทธิ์ให้ครอบครองโดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน เช่น ฉันมอบให้เธอ ฉันให้ของขวัญแก่เธอ ฉันยกให้แก่เธอ หรือทุกการหยิบยื้นที่สื่อถึงการให้ดังกล่าว และการยกให้ถือว่าใช้ได้กับวัตถุทุกสิ่งที่สามารถซื้อขายได้ และถือเป็นมักรฮฺที่จะปฏิเสธมันแม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยก็ตาม

    วิธีการยกทรัพย์สินให้แก่ลูก ๆ

    1. อนุญาตให้บุคคลยกทรัพย์สินให้แก่บุตรของเขาในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่โดยที่เขาจะต้องแบ่งให้(บุตรทุกคน)อย่างเท่าเทียมกันตามจำนวนสิทธิ์ในมรดก และถ้าหากเขาให้บางคนมากกว่าคนอื่น เขาก็ต้องทำให้เสมอภาคกันโดยการเอาคืนหรือเพิ่มจำนวน(ให้แก่คนที่ได้น้อย)

    2. หากบุคคลหนึ่งแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุตรคนหนึ่งของเขาเพราะบุตรคนนั้นมีความจำเป็น ความอ่อนแอ มีลูกมาก เจ็บป่วย กำลังศึกษาหาความรู้ หรือ อื่นๆ ถือว่าเป็นที่อนุญาตเพราะสาเหตุดังกล่าว แต่จะถือว่าต้องห้ามหากเป็นเพราะความเสน่หา

    โดยมีหะดีษรายงานจากท่านอัล-นุอฺมาน บุตร บะชีร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ท่านได้กล่าวว่า

    إن أباه أتى به رسول الله صلى الله عليه وسلم فقال: إني نَحَلْت ابني هذا غلاماً كان لي، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : «أَكُلَّ وَلَـدِكَ نَحَلْتَـهُ مِثْـلَ هَـذَا؟» فقـال: لا، فقـال رسـول الله ×: «فَارْجِعْهُ». متفق عليه.

    ความว่า “แท้จริงบิดาของฉันได้พาฉันไปพบท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และกล่าวว่า “ฉันได้มอบทาสคนหนึ่งของฉันให้เป็นของขวัญแก่ลูกของฉันคนนี้” ท่านเราะสูลจึงได้กล่าวถามว่า “ลูกทุกคนของท่านท่านได้ให้อย่างนี้ครบทุกคนหรือเปล่า?” พ่อของฉันได้ตอบว่า “เปล่า” ท่านเราะสูลจึงได้กล่าวว่า “ท่านจงเอาของชิ้นนั้นกลับคืนมาจากเขาเสีย” . [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข2586 และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1623 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน]

    การเอาของที่มอบให้คนอื่นคืน

    ไม่อนุญาตให้เอาคืนทรัพย์สินที่ได้มอบให้คนอื่นแล้ว ยกเว้นในกรณีที่พ่อให้แก่ลูกเท่านั้น และถือว่าเป็นที่อนุมัติแก่พ่อที่จะเอาทรัพย์ของบุตรในสิ่งที่จะไม่เป็นผลเสียแก่เขา หรือในสิ่งที่เขาไม่จำเป็นต้องใช้มัน และบุตรนั้นไม่สามารถร้องขอหนี้หรือสิ่งที่คล้ายหนี้จากพ่อของเขา เว้นแต่ค่าเลี้ยงดูที่เขาควรที่จะได้รับมัน.

    จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «الْعَائِدُ فِي هِبَتِهِ كَالْكَلْبِ يَقِيءُ ثُمَّ يَعُودُ فِي قَيْئِهِ». متفق عليه.

    ความว่า "ผู้ที่รับคืนที่สิ่งที่เขายกให้คนอื่นนั้น เหมือนสุนัขที่อาเจียนออกมาแล้วก็กินมันเข้าไปอีกครั้ง" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 2589 และ มุสลิม 1622)

    สิ่งที่ผู้มอบและผู้รับมอบควรทำ

    สุนัตให้มีการรับของขวัญ (ฮะดียะฮฺ) และตอบแทนด้วยกับสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกันหรือสิ่งทีดีกว่า และหากว่าไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนก็จงวิงวอนขอดุอาให้แก่เขา ถือว่าอนุญาตในการให้ของขวัญแก่คนต่างศาสนิก และอนุญาตเช่นกันให้รับของขวัญจากคนต่างศาสนิก ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความใกล้ชิดและหวังในการเข้ารับอิสลามของเขา.

    ได้มีรายงานจากท่าน อุสามะฮฺ บุตร ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า

    «مَنْ صُنِعَ إلَيْـهِ مَعْرُوفٌ فَقَالَ لِفَاعِلِـهِ: جَزَاكَ الله خَيْراً فَقَدْ أَبْلَغَ فِي الثَّنَاءِ». أخرجه الترمذي.

    ความว่า “ใครก็ตามที่เขาได้รับการปฏิบัติที่ดีอย่างหนึ่ง (จากบุคคลหนึ่ง) แล้วเขากล่าวต่อผู้ที่ทำดีต่อเขาว่า "ญะซากัลลอฮฺ ค็อยร็อน" (ขออัลลอฮฺจงตอบแทนท่านด้วยความดี) แท้จริงเขาผู้นั้นได้กล่าวคำชมเชยที่เหมาะสมที่สุดแล้ว”. [หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัตตัรมิซีญ์ หมายเลข 2035]

    การบริจาคที่ดีที่สุด

    ได้มีรายงานจากท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ท่านได้กล่าวว่า

    جَاءَ رَجُلٌ إلَى النَّبِيِّ عَلَيه الصَّلاةُ وَالسَّلامُ فَقَالَ: يَارَسُولَ الله أَيُّ الصَّدَقَةِ أَعْظَمُ أَجْراً؟ قَالَ: «أَنْ تَصَدَّقَ وَأَنْتَ صَحِيحٌ شَحِيحٌ تَـخْشَى الفَقْرَ وَتَأْمُلُ الغِنَى وَلا تُـمْهِلُ حَتَّى إذَا بَلَغَتِ الحُلْقُومَ قُلْتَ: لِفُلانٍ كَذَا وَلِفُلانٍ كَذَا وَقَدْ كَانَ لِفُلانٍ». متفق عليه.

    ความว่า “ได้มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี อะลัยฮิศอลาตุวัสสะลาม และได้ถามว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺการบริจาคอย่างไรที่จะได้รับการตอบแทนที่ดีที่สุด? ท่านนบีได้ตอบว่า “การที่ท่านได้บริจาคในขณะที่ท่านยังมีร่างกายที่แข็งแรง มีความโลภอยู่ กลัวความจนและหวังในความร่ำรวย และท่านจงอย่าได้รอจนกระทั่งถึงตอนที่วิญญานของท่านมาอยู่ที่ลูกกระเดือก แล้วท่านก็จะกล่าวว่า “แก่คนนั้นให้สิ่งนี้ แก่คนนี้ให้สิ่งนั้น สิ่งของชิ้นนี้เป็นของคนโน้น” .[บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข1419 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1032]

    การยกให้ก่อนเสียชีวิต

    ใครที่ป่วยด้วยการเป็นโรคร้ายแรง (ที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง) เช่น โรคอหิวา โรคเรื้อน ฯลฯ การบริจาคทรัพย์สินใดๆของเขาให้แก่ทายาทถือว่าไม่เป็นผล ยกเว้นจะได้รับการยินยอมจากทายาททุกคนหลังจากที่เขาตายไปแล้ว และไม่เป็นผลเช่นกันสำหรับการบริจาคของเขาให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทของตนเกินไปกว่า เศษหนึ่งส่วนสาม ของทรัพย์สินที่มีอยู่ยกเว้น ทายาททุกคนจะยินยอมจากหลังจากที่เขาตายไปแล้ว.

    ผู้ใดก็ตามให้การประกัน(ช่วยให้พ้นผิด) แก่เพื่อนของเขา แล้วเขาถูกให้ของขวัญเพราะการกระทำดังกล่าวโดยที่เขารับมันไว้ แท้จริงเขาได้เข้าสู่ประตูหนึ่งที่ใหญ่จากบรรดาประตูแห่งริบา(ดอกเบี้ย)

    การปฏิเสธของขวัญ

    อนุญาตให้ปฏิเสธการรับของขวัญเมื่อมีสาเหตุเช่นรู้ว่าคนที่ให้เป็นคนที่ชอบถวงบุญคุณ กล่าวติเตียนเพราะการให้ดังกล่าว หรือชอบพูด(บ่อยๆ)ถึงการให้ดังกล่าวเป็นต้น และถือเป็นวายิบที่จะต้องปฏิเสธของขวัญ ถ้าหากรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกขโมยมาหรือปล้นมา

    การให้ของขวัญเพื่อผลประโยชน์

    ถ้าหากบุคคลหนึ่งให้ของขวัญแก่ผู้ที่ปกครอง(ผู้มีอำนาจ)เพื่อให้ช่วยเขาทำในสิ่งที่ต้องห้ามถือว่าหะรอมทั้งผู้ที่ให้และผู้ที่รับของขวัญ เพราะมันคือ สินบนที่ถูกสาปแช่งทั้งผู้รับและผู้ให้ และถ้าหากว่าเขาให้ของขวัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอธรรมต่อตัวเขา หรือเพื่อให้ได้สิทธิของเขาที่เขาจะต้องได้มันอยู่แล้วถือว่าของขวัญอันนั้นเป็นของต้องห้าม(หะรอม)สำหรับผู้รับ แต่เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้ให้ที่เป็นผู้ที่ต้องการป้องกันความชั่วของคนๆนั้นจากตัวเขาและรักษาสิทธิของเขา

    ผู้ที่สมควรรับการบริจาคทานเป็นลำดับแรก

    ของขวัญและทานที่ดีที่สุดนั้นคือของขวัญที่ให้ขณะที่ร่ำรวย และควรเริ่มให้คนที่ในความรับผิดชอบก่อน(ญาติใกล้ชิด) ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «ابْدَأْ بِنَفْسِكَ فَتَصَدَّقْ عَلَيْـهَا، فَإنْ فَضَلَ شَيْءٌ فَلأَهْلِكَ، فَإنْ فَضَلَ عَنْ أَهْلِكَ شَيْءٌ فَلِذِي قَرَابَتِكَ، فَإنْ فَضَلَ عَنْ ذِي قَرَابَتِكَ شَيْءٌ فَهَكَذَا وَهَكَذَا». يَـقُولُ: فَبَيْنَ يَدَيْكَ وَعَنْ يَـمِينِكَ وَعَنْ شِمَالِكَ. أخرجه مسلم.

    ความว่า “ ให้เริ่มจากตัวท่านเอง ดังนั้นท่านจงให้ทานแก่ตัวท่านก่อน ถ้าหากมีสิ่งที่เหลือจากการให้ครอบครัว ก็จงให้แก่เครือญาติของท่าน และถ้ายังเหลืออีกจากการให้แก่ญาติดังกล่าวก็จงให้เช่นดังกล่าวเรื่อยไป” แล้วท่านนบีได้กล่าวว่า “ดังนั้น(จงให้)คนที่อยู่ด้านหน้าท่านด้านขวาท่านและด้านซ้ายท่าน”. [บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 997]

    ความดีของการใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ดี

    หนึ่งความดีนั้นมีค่า(ผลบุญ)เท่ากับสิบเท่าของมันไปจนถึง700 เท่า และ การให้ทานในหนทางของพระองค์อัลลอฮเท่ากับ 700 เท่า และพระองค์จะทรงเพิ่มมากกว่านั้นแก่ผู้ใดก็ตามที่ทรงประสงค์ โดยจะแตกต่างไปตามลักษณะและสภาพของผู้ให้ เจตนา ความศรัทธา ความ บริสุทธิ์ใจ ความประพฤติดี ความสบายใจ ดีใจกับสิ่งนั้น และขึ้นอยู่กับผลบุญที่ได้จากการให้ทานแล้วผลบุญดังกล่าวย่อมขึ้นอยู่กับปริมาณของทานที่ให้ ประโยชน์ของมัน ถูกต้องตามกาละเทสะ นอกจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคุณภาพของสิ่งที่บริจาค ความสมบูรณ์ สะอาดและวิธีการให้

    1. อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

    (ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ) [البقرة/ 261]

    ความว่า “อุปมาบรรดาผู้บริจาคทรัพย์ของพวกเขาในหนทางของอัลลอฮนั้น ดังอุปมัยเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่งที่งอกขึ้นมา 7 รวง ซึ่งในแต่ละรวงมี 700 เมล็ด และอัลลอฮจะทรงเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์อีกและอัลลอฮทรงเป็นผู้กว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้ ”.[อัลบะเกาะเราะฮฺ/261]

    2. และได้ตรัสอีกว่า

    (ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ) [البقرة/ 274]

    ความว่า “ บรรดาผู้บริจาคทรัพย์ของพวกเขาทั้งในเวลากลางคืน และกลางวัน ทั้งโดยปกปิดและเปิดเผยนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และไม่มีความกลัวอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ”. (อัลบะเกาะเราะฮฺ/274)

    3. จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إذَا أَحْسَنَ أَحَدُكُمْ إسْلامَهُ فَكُلُّ حَسَنَةٍ يَـعْمَلُـهَا تُكْتَبُ بِعَشْرِ أَمْثَالِـهَا إلى سَبْعِمِائَةِ ضِعْفٍ». متفق عليه

    ความว่า “เมื่อคนๆ หนึ่งได้ทำให้อิสลามในตัวเขาดีแล้ว ดังนั้นทุกๆความดี ที่เขาได้ทำ จะถูกบันทึกผลบุญ(สำหรับเขา)เป็น 10 เท่าไปจนถึง 700เท่า” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข42 และบันทึกโดยมุสลิม หมายเลข129 ซึ่งคำรายงานนี้เป็นของท่าน]