×
บทความสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความละอาย หรือ อัล-หะยาอ์ อธิบายความหมาย ความประเสริฐ พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่สนับสนุนคุณลักษณะนิสัยประการนี้ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

    ความละอาย

    ﴿الحياء﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : ฟารีด กรีมละ

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

    2011 - 1432

    ﴿الحياء﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: فريد كريم لأ

    مراجعة: فيصل عبد الهادي

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ความละอาย

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรและความศานติพึงประสบแก่ท่านศาสนทูตของพระองค์ และฉันปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดต่อพระองค์ และฉันปฏิญาณว่า มุหัมมัด คือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะที่ดีงามที่ศาสนาเรียกร้องให้ปฏิบัติคือ ความละอาย

    อัลลอฮฺ ได้ตรัสถึงท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ขณะที่ได้นำน้ำให้แก่สตรีทั้งสองว่า

    ﭽ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙﮚﭼ

    ความว่า : นางคนหนึ่งในสองคนได้มาหาเขา เดินมาอย่างขวยเขิน แล้วกล่าวขึ้นว่า คุณพ่อของดิฉันขอเชิญท่านไป เพื่อจะตอบแทนค่าแรงแก่ท่านที่ได้ช่วยตักน้ำให้เรา

    จากท่านสะอีด อิบนุ ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า:

    أَنَّ رَجُلاً قال : يارسول الله : أَوْصِنِيْ ، قال «أُوصِيكَ أَنْ تَسْتَحِيَ مِنَ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ ، كَمَا تَسْتَحِيَ رَجُلاً مِنْ صَالِحِيْ قَوْمِكَ»

    ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ โปรดสั่งเสียแก่ฉันเถิด ท่านศาสนทูต จึงกล่าวว่า “ ฉันขอสั่งเสียแก่ท่าน ให้ท่านละอายต่ออัลลอฮฺเสมือนที่ท่านละอายต่อบรุษผู้หนึ่งที่ทรงคุณธรรมในหมู่ชนของท่าน” (อัซ-ซุฮฺดฺ โดยอิมาม อะหฺมัด 14, อัช-ชุอับ โดย อัล-บัยฮะกียฺ 6/145-146 เลขที่ 7738)

    และจากท่าน อบูมัสอูด อัล-บัดรียฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า

    «إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلَامِ النُّبُوَّةِ الْأُولَىٰ: إِذَا لَمْ تَسْتَحْيِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ»

    ความว่า : “แท้จริงประการหนึ่งที่มนุษย์ได้จากคำพูดของนบีท่านก่อนๆ คือ ตราบใดที่ท่านไม่มีความละอายแล้วไซร้ ท่านก็จงปฏิบัติตามที่ท่านปรารถนาเถิด” (อัล-บุคอรียฺ 6120)

    ได้มีรายงานจากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

    «الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ، أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً، فَأَفْضَلُهَا قَوْلُ لاَ إِلٰهَ إِلاَّ اللَّهُ، وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ، وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ»

    ความว่า: “ การศรัทธามีเจ็ดสิบกว่าแขนง หรือ หกสิบกว่าแขนง ที่ประเสริฐที่สุดคือ คำกล่าวว่า ลาอิลาฮาอิลลัลลลอฮฺ ที่ต่ำที่สุดคือ การขจัดขวากหนามออกจากเส้นทางสัญจร และความละอายเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา” (อัล-บุคอรียฺ 9, มุสลิม 162)

    อาหรับยุคญาฮิลียะฮฺก็มีคุณลักษณะของความละอายเช่นเดียวกัน จะเห็นได้จาก อะบูสุฟยานก่อนที่ท่านจะเข้ารับอิสลามเมื่อได้ยืนต่อหน้า เฮลาคิอุส จักรพรรดิอที่เขาจะได้ถามถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อบูสุฟยานได้กล่าวถึงตัวของเขาว่า “หากแม้นว่าความละอายจะไม่ส่งผลกระทบต่อการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โกหกแล้วไซร้ แน่นอนฉันจะกล่าวเท็จต่อเขา”

    ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่า “ ความละอายถูกสร้างขึ้นมาจากมารยาทที่ประเสริฐสุด สูงส่งสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีประโยชน์มากที่สุด เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่ไม่มีความละอายในตัวของเขา เขาหาได้มีความเป็นมนุษย์อยู่ในตัวไม่ นอกเสียจากเป็นเพียงก้อนเนื้อ ก้อนเลือด และรูปลักษณ์แห่งความเป็นมนุษย์ เฉกเช่นกับเขาไม่มีคุณธรรมความดีประการใด หากไม่มีมารยาทนี้ (ความละอาย) แล้วไซร้ เขาจะไม่ให้เกียรติต่อแขก ไม่รักษาสัญญา ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับไว้เนื้อเชื่อใจ (อะมานะฮฺ) ไม่จัดการกิจธุระคนอื่น ไม่เลือกในสิ่งที่ดีเพื่อปฏิบัติและต่อสิ่งน่ารังเกียจเพื่อละทิ้ง ไม่ปกปิดสิ่งพึงสงวน และไม่ละเลิกต่อพฤติกรรมที่ชั่วช้า แท้จริงผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมเหล่านั้นในศาสนา คือ ความหวังต่อบั้นปลายที่น่าสรรเสริญ ส่วนในดุนยา คือ ผู้ปฏิบัติประการเหล่านั้นจะได้คุณลักษณะของความละอายเป็นมารยาทของเขา และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า หากแม้นไม่มีความละอายไม่ว่าต่อผู้ทรงสร้างหรือผู้ถูกสร้าง เขาย่อมไม่กระทำการงานเหล่านี้ (มุคตะศ็อรฺ กิตาบ มิฟตาหฺ ดารฺ อัส-สะอาดะฮฺ โดยอิบนุล ก็อยยิม 277 อ้างจากหนังสือนัฎเราะตุนนะอีม 5/1802)

    ท่านอุมัร กล่าวว่า เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ “ใครก็ตามที่มีความละอายเพียงน้อยนิด ความสำรวมของเขาก็จะน้อยตามไปด้วย และใครก็ตามที่มีความสำรวมเพียงเล็กน้อย หัวใจของเขาก็จะตายด้าน” (มะการิม อัล-อัคลาก โดยอิบนุ อบี อัด-ดุนยา 82-83 เลขที่ 93)

    ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ท่านเราะสูลได้เดินผ่านชายคนหนึ่งจากชาวอันซอรในขณะที่เขากำลังตักเตือนพี่น้องของเขาถึงความละอาย ท่านเราะสูลได้กล่าวขึ้นว่า ปล่อยให้เขาตักเตือนไปเถิด เพราะความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ 1/24 เลขที่24, เศาะฮีหฺมุสลิม 1/63 เลขที่: 36)

    นักกวีกล่าวว่า

    หากแม้นท่านไม่กลัวในช่วงท้ายของกลางคืน

    ท่านไม่ละอายก็จงทำตามประสงค์เถิด

    ไม่หรอก ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ไม่มีความดีใดในชีวิต

    และในดุนยาตราบใดที่ไม่มีความอาย

    มนุษย์คงจะใช้ชีวิตโดยไม่ละอายต่อความดี

    เหลือเพียงไว้ไม้หอมที่อยู่ในเปลือก

    ท่านอิบนุก็อยยิมกล่าวว่า “และบางประการของผลตอบแทนของผู้กระทำความผิด คือการไม่มีความละอายซึ่งเป็นแก่นแท้ของจิตวิญญาณ มันคือรากฐานของความดีทุกประการ การไม่มีความละอาย ก็คือ การจากไปของความดีทุกประการ ได้ปรากฏในหะดีษที่เศาะฮีหฺ ว่า “ความละอายจะไม่นำพาสิ่งใด นอกเสียจากความดีงาม” ความหมายคือความผิดจะทำให้ความอายของบ่าวนั้นแผ่วลง และบางทีมันอาจจะหมดไปเลย จนกระทั่งบางทีนั้นเขาไม่รู้สึกสะทกสะท้านเมื่อมีคนอื่นรู้หรือเห็นสภาพที่ไม่ดีของเขา ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะโพนทะนาสภาพและพฤติกรรมที่ไม่ดีของเขาก็ตาม และสาเหตุที่ให้เขาเป็นเช่นนั้นคือ การไม่มีความละอาย เมื่อบ่าวถึงสภาพนี้เขาจะไม่มีความปรารถนาในความดี และบุคลใดที่ละอายต่ออัลลอฮฺในความผิดบาปของเขา อัลลอฮฺจะทรงละอายจากการลงโทษต่อเขาในวันที่บ่าวจะกลับไปพบพระองค์ และบุคคลใดที่ไม่ละอายต่อความผิดบาปของเขา อัลลอฮฺก็จะมิทรงละอายต่อการลงโทษเขา (อัล-ญะวาบ อัล-กาฟีย์ ลิมัน สะอะละ อัน อัด-ดะวาอ์ อัช-ชาฟีย์ 61-62)

    และตัวอย่างคือ บางคนได้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อสนองตัญหาและอารมณ์ใคร่ ภายหลังจากนั้นเขาได้มาเล่าให้บุคคลอื่นๆ ถึงพฤติกรรมที่ต่ำทรามของเขาที่เขาได้ประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้า ผิดประเวณี และอื่นๆ ที่เป็นสิ่งที่ชั่วช้า

    จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านกล่าวว่า:

    «كُلُّ أُمَّتِي مُعَافًى إِلَّا الْمُجَاهِرِينَ، وَإِنَّ مِنْ الْمُجَاهَرَةِ أَنْ يَعْمَلَ الرَّجُلُ بِاللَّيْلِ عَمَلًا ثُمَّ يُصْبِحَ وَقَدْ سَتَرَهُ اللَّهُ عَلَيْهِ، فَيَقُولَ : يَا فُلَانُ عَمِلْتُ الْبَارِحَةَ كَذَا وَكَذَا، وَقَدْ بَاتَ يَسْتُرُهُ رَبُّهُ وَيُصْبِحُ يَكْشِفُ سِتْرَ اللَّهِ عَنْهُ»

    ความว่า : “ประชาชาติของฉันล้วนได้รับการอภัยนอกจากมุญาฮิรีน (ผู้ที่ป่าวประกาศในความชั่วของตน) และส่วนหนึ่งจากการป่าวประกาศความชั่วนั้นคือ การที่ชายคนหนึ่งได้ประพฤติสิ่งที่ไม่ดีในยามกลางคืนพอมาในตอนเช้า อัลลอฮฺได้ทรงปกปิดความประพฤติของเขา หลังจากนั้นเขา กล่าวว่า โอ้ท่าน ฉันได้ทำอย่างนี้อย่างนั้น เขาได้นอนกลางคืนโดยที่พระผู้อภิบาลของเขาได้ทรงปกปิดพฤติกรรมของเขา พอในยามเช้าเขากลับมาเปิดเผยในสิ่งที่พระองค์ทรงปกปิด” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ 4/104 เลขที่: 6069 และมุสลิม 4/2298 เลขที่: 2990)

    สำหรับส่วนของพวกเขาเหล่านี้ คือบุคคลดังดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

    ﭽ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈﭼ

    ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้ (อัน-นูร : 19 )

    และณ ตรงนี้เป็นเรื่องที่สมควรระวังคือ การละเว้นต่อการสั่งใช้ในกิจการความดีและหักห้ามจากความชั่วช้า ไม่จัดว่าเป็นความละอาย เพราะอัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า

    ﭽ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝﯞ ﭼ

    ความว่า : และอัลลอฮฺมิทรงละอายต่อสัจธรรม (อัล-อะหฺซาบ : 53 )

    ท่านอิมามอัน-นะวะวียฺ กล่าวว่า “อาจมีปัญหาสำหรับบางคนว่าผู้ที่มีคุณลักษณะแห่งความละอาย จนกระทั่งละอายต่อการแนะนำผู้คนในเรื่องราวของสัจธรรม เขาจึงละทิ้งการแนะนำในสิ่งที่เป็นความดีงามและห้ามปรามในเรื่องชั่วช้า และบางทีความอายอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่องต่อสิทธิต่างๆ สำหรับคำตอบของประเด็นนี้นักวิชาการบางท่าน เช่น อบูอัมรฺ อิบนุ เศาะลาหฺ ได้ให้คำตอบว่า “ตัวการที่ขัดขวางในการไม่แนะนำในเรื่องของสัจธรรมไม่ใช่ความละอายหรอก หากแต่มันคือ ความอ่อนแอ ไร้ศักยภาพ และไร้เรี่ยวแรง ความละอายที่แท้จริงคือมารยาทที่กระตุ้นต่อการละทิ้งพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ และหักห้ามต่อการความสะเพร่าต่อสิทธิของผู้ที่มีสิทธิ์นั้นๆ [ชัรหฺ เศาะฮีหฺ อัล-มุสลิม 1/5-6]

    ท่านนบีได้ส่งเสริมการหักห้ามในสิ่งที่เป็นความชั่วช้าและสั่งใช้ให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังการรายงานของท่านอบู สะอีด อัล-คุดรียฺ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

    «مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ»

    ความว่า : “ใครก็ตามที่เห็นความไม่ดีในหมู่พวกท่านดังนั้นเขาจงเปลี่ยนแปลงมันด้วยกับมือเสีย หากไม่มีความสามารถก็ด้วยกับลิ้น และหากไม่มีความสามารถก็ด้วยกับหัวใจ และนี่คืออีหม่านที่อ่อนแอที่สุด” (บันทึกโดย มุสลิม 1/69 เลขที่: 49)

    และมวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล และขออัลลอฮฺทรงประทานพรอันประเสริฐและความศานติแด่นบีของเรามุหัมมัด วงศ์วานของท่าน และสหายของท่านทั้งหลาย