์บทความเกี่ยวกับ "อุปนิสัยที่ดี และอุปนิสัยของท่านนบี ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" จากหนังสือ “มุคตะศ็อรฺ อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์” โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ แปลโดย สุกรี นูร จงรักสัตย์.
มารยาทดี - (ไทย)
การมีมารยาทดี ทั้งพูดจาดี ปฏิบัติดีกับผู้อื่น อดทนและคอยช่วยเหลือผู้อื่น หรืออื่นๆที่ถือเป็นมารยาทอันน่ายกย่องนั้น มีสถานะยิ่งใหญ่ในศาสนาอิสลาม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำมัน และบอกว่ามันเป็นการงานที่ประเสริฐที่สุดที่จะใช้ในการใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นได้บรรลุขั้นสูงสุดของการมีมารยาทดี โดยที่อัลลอฮฺได้ทรงยืนยันรับรองเรื่องนี้ไว้ แม้กระทั้งกับคนที่เกลียดท่านเมื่อมาพบเจอท่าน ไม่ทันไร ก็จะเปลี่ยนเป็นรักท่านมากที่สุด ก็ด้วยเพราะมารยาทอันดีงามของท่านนั่นเอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
คุณลักษณะนิสัยที่ดี - (ไทย)
อธิบายความหมายของการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี ความสำคัญและความประเสริฐของมัน โดยยกหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ และตัวอย่างจากกัลยาณชนรุ่นแรก อาศัยการอธิบายที่เรียบง่าย กระชับ แต่แฝงด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การใช้สำหรับตักเตือนในโอกาสต่างๆ ได้
อธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความประเสริฐของมุอามะลาต เช่น การดะอฺวะฮฺ การค้าขาย การช่วยเหลือระหว่างกัน ฯลฯ พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์
การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺ - (ไทย)
การรักกันในหนทางของอัลลอฮฺและการปฏิสัมพันธ์ฉันพี่น้องในกรอบศาสนาอิสลามถือเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเงื่อนไขหลายประการที่คนรักเพื่อนจะต้องปฏิบัติกับเพื่อนเพื่ออัลลอฮฺ งานชิ้นนี้จะอธิบายประเด็นต่างๆ อาทิ ผลและความดีของการรักกันเพื่ออัลลอฮฺ จะเลือกคบหาและมอบความสนิทสนมให้กับใครดี ลักษณะของ ผู้รักกันในหนทางของอัลลอฮฺ หน้าที่และเงื่อนไขของการคบเพื่อนและการรักกัน ตัวอย่างภาพแห่งมิตรภาพอันเข้มข้นจากหัวใจ ข้อพึงระวังในการคบเพื่อน
สิทธิของเพื่อนบ้าน - (ไทย)
ในอิสลามเพื่อนบ้านนั้นมีสิทธิที่ต้องได้รับ อัลลอฮฺทรงกำชับใช้ในเรื่องเพื่อนบ้าน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็สั่งเสียในเรื่องเพื่อนบ้านเช่นกันและท่านได้กำหนดให้การทำดีต่อเพื่อนบ้านนั้นคือส่วนหนึ่งของการมีอีมานที่สมบูรณ์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
การนินทาเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ และเป็นหนึ่งในบาปที่แพร่หลายในระหว่างผู้คนมากที่สุด อีกทั้งพวกเขาก็มักง่าย และพากันละเลยไม่แสดงการรังเกียจ ทั้งที่มันเป็นสาเหตุก่อความเป็นศัตรูต่อกัน และทำลายความเป็นปึกแผ่นของพวกเขา และเพราะความน่ารังเกียจของการนินทา อัลลอฮฺทรงเปรียบคนนินทาว่าเหมือนกับคนที่กินศพพี่น้องของเขา และบทลงโทษของคนนินทาในโลกหลุมศพคือเขาจะฉีกหน้าฉีกอกของเขาด้วยกรงเล็บที่ทำจากทองแดง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ความเมตตาของท่านนบีต่อผู้อ่อนแอ - (ไทย)
กล่าวถึงความเมตตาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อผู้อ่อนแอ และใครคือผู้อ่อนแอที่แท้จริง และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำตัวอย่างเอาไว้อย่างไรบ้างในการให้ความสำคัญและดูแลเอาใจใส่บรรดาผู้อ่อนแอเหล่านั้น ต้นฉบับเดิมจาก http://www.rasoulallah.net/index.php/ar/articles/article/14561
การยิ้มให้พี่น้องของท่านเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าถึงหัวใจของเขาและช่วยขจัดความริษยาหรือความรู้สึกอื่น ๆ ที่เขามีต่อท่านได้ และด้วยเหตุนี้เองท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะสีหน้าของมุสลิมมีรอยยิ้มที่ฉายไปยังพี่น้องมุสลิมของเขา และการยิ้มของเขานั้นก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺของเขาด้วย และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เองก็ยิ้มอย่างมากมายให้กับบรรดาเศาะหาบะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
เมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย - (ไทย)
ศาสนาของชาวมุสลิมเป็นศาสนาที่ดำรงอยู่บนความเมตตา พระผู้อภิบาลของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา นบีของพวกเขาก็เมตตาต่อพวกเขา และอัลลอฮฺทรงกล่าวถึงลักษณะของพวกเขาไว้ว่าพวกเขานั้นมีเมตตาต่อกัน และคุณธรรมของความเมตตานั้นเป็นคุณธรรมที่น่ายกย่องที่อัลลอฮฺรัก และทรงบอกผ่านทางท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ว่า ผู้ที่มีเมตตาเท่านั้นที่จะเมตตาต่อบ่าวของพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
ความอ่อนโยนและความสุขุม - (ไทย)
ความอ่อนโยน รอบคอบและไม่วู่วามเป็นลักษณะที่อัลลอฮฺทรงรัก และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ และมันเป็นเหตุนำสิ่งที่ดีๆให้เข้ามา เพราะเป็นการทำให้ความเมตตา อาทรและความอ่อนโยนแพร่หลายในระหว่างพี่น้องมุสลิม ส่วนความโหดร้าย กักขระ และความรุนแรงเป็นกริยามารยาทอันน่าตำหนิที่อัลลอฮฺทรงกริ้ว ศาสนาอิสลามห้ามปรามไว้ และสมควรที่มุสลิมจะห่างไกลกับมัน เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากความผยองลำพองตน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
ความละอายและคำสั่งใช้ให้ละอาย - (ไทย)
ความละอายเป็นมารยาทที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้อยากละทิ้งสิ่งที่ทำให้จิตใจแปดเปื้อน มันมาจากการมีศรัทธา เพราะมันจะชวนให้ทำดีและให้ห่างจากสิ่งน่ารังเกียจ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า มันทั้งหมดเป็นสิ่งดีงาม และนำมาแต่สิ่งที่ดีงาม และท่านนบีเอง ก็เป็นผู้ที่มีความละอายอย่างมาก และความละอายที่ประเสริฐที่สุดคือความละอายต่ออัลลอฮฺ อายที่พระองค์จะเห็นท่านทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก