หะดีษริยาฎุศศอลิฮีน : บทว่าด้วยความอิคลาศ
หมวดหมู่
Full Description
หะดีษริยาฎุศศอลิฮีน : บทว่าด้วยความอิคลาศ
﴿رياض الصالحين : باب الإخلاص﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
อิมาม อัน-นะวะวีย์
แปลโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ ริยาฎุศ ศอลิฮีน
2010 - 1431
﴿رياض الصالحين : باب الإخلاص﴾
« باللغة التايلاندية »
الإمام يحيى بن شرف النووي
ترجمة: فيصل عبدالهادي
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب رياض الصالحين للنووي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษริยาฎุศศอลิฮีน : บทว่าด้วยความอิคลาศ
بَابُ الإِخْلاَصِ وَإِحْضَارِ النِّيَّةِ فِيْ جَمِيْعِ الأَعْمَالِ وَالأَقْوَالِ وَالأَحْوَالِ الْبَارِزَةِ وَالْخَفِيَّةِ
บทที่ 1 ความบริสุทธิ์ใจและตั้งเจตนาที่บริสุทธิ์ในทุกๆ การกระทำ คำพูด และทุกๆ อิริยาบถทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า:
ﭽ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﭼ
ความว่า: “และพวกเขามิได้มิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อภักดีเคารพต่ออัลลอฮฺ โดยเป็นผู้ที่มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้ที่หันหนีจากศาสนาทั้งหลายสู่ศาสนาอิสลาม และเพื่อดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจ่ายซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงตรง”(อัล-บัยยินะฮฺ : 5)
และพระองค์ได้ตรัสว่า:
ﭽ ﯥ ﯦﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮﯯ ﯻ ﭼ
ความว่า: เนื้อและเลือดของมัน (สัตว์พลี) นั้นจะไม่ถึงอัลลอฮฺหรอก แต่ที่จะถึงพระองค์นั้นคือความยำเกรงจากพวกเจ้า. (อัล-หัจญ์ : 37)
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า:
ﭽ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﭼ
ความว่า: "จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) หากพวกท่านปกปิดสิ่งที่อยู่ในใจของพวกท่านหรือเปิดเผยมันก็ตาม อัลลอฮฺก็ย่อมรู้สิ่งนั้นดี" (อาละอิมรอน : 29)
หะดีษที่ 1
وعن أمير المؤمِنين أبي حَفْصٍ عمرَ بنِ الخطابِ بنِ نُفَيْلِ بنِ عبدِ العُزَّى بن رياحِ بنِ عبدِ اللهِ بن قُرْطِ بن رَزاحِ بنِ عدِي بنِ كعب بنِ لُؤَيِّ بنِ غالبٍ القُرشِيِّ العَدويِّ h، قالَ : سَمِعتُ رَسُولَ اللهِ ﷺ يقُولُ : «إنّمَا الأَعْمَالُ بالنِّيّاتِ ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امرِىءٍ مَا نَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصيبُهَا ، أَوْ امْرَأَةٍ يَنْكَحُهَا ، فَهِجْرَتُهُ إِلى مَا هَاجَرَ إِلَيْه». مُتَّفَقٌ عَلَى صِحَّتِهِ. رَوَاهُ إمَامَا الْمُحَدّثِينَ ، أبُو عَبْدِ الله مُحَمَّدُ بْنُ إسْمَاعيلَ بْن إبراهِيمَ بْن المُغيرَةِ بنِ بَرْدِزْبهْ الجُعْفِيُّ البُخَارِيُّ ، وَأَبُو الحُسَيْنِ مُسْلمُ بْنُ الحَجَّاجِ بْنِ مُسْلمٍ الْقُشَيريُّ النَّيْسَابُورِيُّ k فِي صحيحيهما اللَّذَيْنِ هما أَصَحُّ الكُتُبِ المُصَنَّفَةِ .
ความว่า: และจาก อะมีรุลมุอ์มินีน อบู หัฟฺศฺ อุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ อิบนุ นุฟัยลฺ อิบนุ อับดิลอุซซา อิบนุ ริยาหฺ อิบนุ อับดิลลาฮฺ อิบนุ กุรฺฏฺ อิบนุ เราะซาหฺ อิบนุ อดิยฺ อิบนุ กะอับ[1] อิบนุ ลุอัยฺ อิบนุ ฆอลิบ อัล-กุเราะชียฺ อัล-อะดะวียฺ h เล่าว่า : ฉันได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า: "แท้จริงการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และแท้จริงทุกคนย่อมได้รับตามที่เขาเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ การอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ และผู้ใดก็ตามที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้ที่เขาก็จะได้รับมัน หรือเพื่อผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วย ดังนั้นการอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามความประสงค์ที่เขาอพยพไป" หะดีษนี้เป็นที่เห็นพ้องกันว่า "เศาะหี้หฺ" รายงานโดยสองอิมามของบรรดานักวิชาการหะดีษนั่นคือ อบู อับดิลลาฮฺ มุหัมมัด อิบนุ อิสมาอีล อิบนุ อิบรอฮีม อิบนุ อัล-มุฆีเราะฮฺ อิบนุ บัรฺดิซบะฮฺ อัล-ญุอฺฟียฺ อัล-บุคอรียฺ และอบู อัล-หุสัยนฺ มุสลิม อิบนุ อัล-หัจญาจญ์ อิบนุ มุสลิม อัล-กุชัยรียฺ k ในหนังสือเศาะหี้หฺของท่านทั้งสองซึ่งเป็นหนังสือที่ประพันธ์ที่มีความถูกต้องมากที่สุด[2]
หะดีษที่ 2
وعن أمِّ المؤمِنينَ أمِّ عبدِ اللهِ عائشةَ i قالت : قالَ رَسُوْلُ اللهِ ﷺ: «يغْزُو جَيْشٌ الْكَعْبَةَ فإِذَا كَانُوا بِبَيْدَاءَ مِنَ الأَرضِ يُخْسَفُ بِأَوَّلِهِمْ وآخِرِهِمْ». قَالَتْ : قلتُ : يَا رَسُولَ اللهِ ،كَيْفَ يُخْسَفُ بأوَّلِهِمْ وَآخِرِهِمْ وَفِيهمْ أسْوَاقُهُمْ وَمَنْ لَيْسَ مِنْهُمْ ؟! قَالَ : «يُخْسَفُ بِأَوَّلِهِمْ وَآخِرِهِمْ ثُمَّ يُبْعَثُونَ عَلَى نِيّاتِهمْ». مُتَّفَقٌ عَلَيهِ. هذَا لَفْظُ الْبُخَارِيِّ.
ความว่า: และจากมารดาของผู้ศรัทธาทั้งหลาย อุมมุอับดิลลาฮฺ อาอิชะฮฺ i เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า : "จะมีกองกำลังหนึ่งบุกทำลายวิหารกะอฺบะฮฺ ครั้นเมื่อพวกเขาอยู่ ณ ทุ่งโล่งกว้างของแผ่นดิน พวกเขาจะถูกธรณีสูบตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย" ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า ฉันได้ถามท่านเราะซูลุลลอฮฺ ว่า : "โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮฺ พวกเขาจะถูกธรณีสูบตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้ายได้อย่างไร ในเมื่อท่ามกลางพวกเขานั้นมีชาวตลาดและผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมกับพวกเขา" ท่านตอบว่า : "พวกเขาจะถูกธรณีสูบตั้งแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้าย และพวกเขาจะฟื้นคืนชีพ (ในวันปรโลก) ตามเจตนาของพวกเขา" มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ และสำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์[3]
หะดีษที่ 3
وعن عائِشةَ i ، قَالَتْ : قَالَ النَّبِيُ ﷺ : «لَا هِجْرَةَ بَعْدَ الفَتْحِ ، وَلَكِنْ جِهَادٌ وَنِيَّةٌ، وَإِذَا اسْتُنْفِرْتُمْ فانْفِرُوا». متَّفَقٌ عَلَيْهِ. وَمَعناهُ : لا هِجْرَةَ مِنْ مَكّةَ لأَنَّهَا صَارَتْ دَارَ إسلاَمٍ .
ความว่า: จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ i เล่าว่า ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า: “ไม่มีการอพยพหลังจากการพิชิต (นครมักกะฮฺ) และที่ยังคงอยู่คือการญิฮาดและเจตนา และเมื่อพวกท่านถูกเรียกร้องให้ออกสูสมรภูมิ พวกท่านก็จงออกไปเถิด” มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ[4] ความหมายของหะดีษคือ ไม่มีการอพยพจากนครมักกะฮฺ เพราะนครมักะฮฺได้กลายเป็นรัฐอิสลามแล้ว
หะดีษที่ 4
وعن أبي عبدِ اللهِ جابر بن عبدِ اللهِ الأنصاريِّ h، قَالَ : كُنَّا مَعَ النَّبيِّ ﷺ في غَزَاةٍ، فَقالَ : «إِنَّ بالمدِينَةِ لَرِجَالاً ما سِرْتُمْ مَسِيراً، وَلاَ قَطَعْتُمْ وَادِياً، إلاَّ كَانُوا مَعَكمْ، حَبَسَهُمُ الْمَرَضُ». وَفي روَايَة : «إلاَّ شَرَكُوكُمْ في الأجْرِ» رواهُ مسلمٌ . ورواهُ البخاريُّ عن أنسٍ h، قَالَ : رَجَعْنَا مِنْ غَزْوَةِ تَبُوكَ مَعَ النَّبيِّ ﷺ ، فقال : «إنَّ أقْواماً خَلْفَنَا بالْمَدِينَةِ مَا سَلَكْنَا شِعْباً وَلاَ وَادياً ، إلاّ وَهُمْ مَعَنَا ؛ حَبَسَهُمُ العُذْرُ» .
ความว่า: และจากท่านอบู อับดิลลาฮฺ ญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรีย์ h เล่าว่า : พวกเราได้อยู่พร้อมกับท่านนบี ﷺ ในสงครามหนึ่ง แล้วท่านก็กล่าวว่า “แท้จริง ที่นครมะดีนะฮฺมีชายกลุ่มหนึ่งที่ไม่ว่าพวกท่านจะเดินไปไหนและข้ามช่องเขา ณ แห่งหนใด นอกจากว่าชายกลุ่มนั้นจะร่วมอยู่กับพวกท่านด้วย พวกเขาเหล่านั้นคือผู้ที่ความเจ็บป่วยเป็นเหตุยับยั้งเขา(ไม่ให้ออกรบ)” และในบางสายรายงาน “นอกจากว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมในผลบุญกับพวกท่าน” บันทึกโดยมุสลิม[5] และในการบันทึกของอัล-บุคอรีย์[6] จากท่านอนัส h เล่าว่า พวกเราได้กลับมาจากสงครามตะบูกพร้อมกับท่านนบี ﷺ แล้วท่านก็กล่าวว่า “แท้จริงมีคนกลุ่มหนึ่งที่เราได้ทิ้งเขาไว้ที่นครมะดีนะฮฺ ซึ่งไม่ว่าพวกเราจะเดินข้ามช่องเขาหรือหุบเขาที่ไหน นอกเสียจากว่าพวกเขาย่อมมีส่วนร่วมพร้อมกับพวกเราด้วย เหตุเพราะความจำเป็นได้ยับยั้งพวกเขาไม่ให้ออกรบกับพวกเรานั่นเอง”
หะดีษที่ 5
وعن أبي يَزيدَ مَعْنِ بنِ يَزيدَ بنِ الأخنسِ j، وهو وأبوه وَجَدُّه صحابيُّون ، قَالَ : كَانَ أبي يَزيدُ أخْرَجَ دَنَانِيرَ يَتَصَدَّقُ بِهَا ، فَوَضعَهَا عِنْدَ رَجُلٍ في الْمَسْجِدِ، فَجِئْتُ فأَخذْتُها فَأَتَيْتُهُ بِهَا. فقالَ : واللهِ، مَا إيَّاكَ أرَدْتُ، فَخَاصَمْتُهُ إِلى رسولِ اللهِ ﷺ، فقَالَ : «لكَ مَا نَوَيْتَ يَا يَزِيْدُ ، ولَكَ ما أخَذْتَ يَا مَعْنُ». رواهُ البخاريُّ .
และจากท่านอบู ยะซีด มะอัน อิบนุ ยะซีด อิบนุ อัล-อัคนัส j - เขา พ่อของเขา และปู่ของเขาทั้งหมดล้วนเป็นเศาะหาบะฮฺ- ได้เล่าว่า พ่อของฉัน –ยะซีด- ได้ออกเงินดีนารฺจำนวนหนึ่งเพื่อเศาะดะเกาะฮฺ(บริจาคทาน) แล้วเขาก็ได้มอบให้กับชายคนหนึ่งที่มัสญิด(เพื่อให้ช่วยรับผิดชอบแทนในการบริจาคแทนเขา) แล้วฉันก็ได้ไปเอาเงินนั้นมา และได้พบพ่อของฉันด้วยเงินดังกล่าว พ่อของฉันก็กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ เจ้าไม่ใช่คนที่ฉันต้องการมอบเงินนั้นให้” แล้วฉันก็ได้ให้ท่านนบี ﷺ ช่วยตัดสิน ท่านกล่าวว่า “สำหรับท่าน โอ้ ยะซีด เอ๋ย ท่านจะได้รับผลบุญตามสิ่งที่ท่านได้ตั้งเจตนาไว้ และสำหรับท่าน โอ้ มะอัน เอ๋ย ก็จะได้รับสิ่งที่ท่านได้เอาไป” บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์[7]
หะดีษที่ 6
وعن أبي إسحاقَ سَعدِ بنِ أبي وَقَّاصٍ مالِكِ بنِ أُهَيْب بنِ عبدِ منافِ بنِ زُهرَةَ بنِ كلابِ بنِ مُرَّةَ بنِ كعبِ بنِ لُؤيٍّ القُرشِيِّ الزُّهريِّ h، أَحَدِ العَشَرَةِ المشهودِ لهم بالجنةِ j، قَالَ : جاءنِي رسولُ اللهِ ﷺ يَعُودُنِي عَامَ حَجَّةِ الوَدَاعِ مِنْ وَجَعٍ اشْتَدَّ بي ، فقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللهِ ، إنِّي قَدْ بَلَغَ بي مِنَ الوَجَعِ مَا تَرَى ، وَأَنَا ذُو مالٍ وَلا يَرِثُني إلا ابْنَةٌ لي، أفأَتَصَدَّقُ بِثُلُثَيْ مَالِي ؟ قَالَ : «لَا»، قُلْتُ : فالشَّطْرُ يَا رَسُولَ اللهِ ؟ فقَالَ : «لَا»، قُلْتُ : فالثُّلُثُ يَا رَسُولَ اللهِ ؟ قَالَ : «الثُّلُثُ والثُّلُثُ كَثيرٌ - أَوْ كبيرٌ - إنَّكَ إنْ تَذَرْ وَرَثَتَكَ أغنِيَاءَ خيرٌ مِنْ أنْ تَذَرَهُمْ عَالَةً يتكفَّفُونَ النَّاسَ، وَإنَّكَ لَنْ تُنفِقَ نَفَقَةً تَبْتَغي بِهَا وَجهَ اللهِ إلاَّ أُجِرْتَ عَلَيْهَا حَتَّى مَا تَجْعَلُ في فِيِّ امْرَأَتِكَ»، قَالَ : فَقُلتُ : يَا رسولَ اللهِ، أُخلَّفُ بعدَ أصْحَابي ؟ قَالَ : «إِنَّكَ لَنْ تُخَلَّفَ فَتَعْمَلَ عَمَلاً تَبتَغي بِهِ وَجْهَ اللهِ إلاَّ ازْدَدتَ بِهِ دَرَجةً ورِفعَةً ، وَلَعلَّكَ أنْ تُخَلَّفَ حَتّى يَنتَفِعَ بِكَ أقْوَامٌ وَيُضَرَّ بِكَ آخرُونَ . اللهم أَمْضِ لأصْحَابي هِجْرَتَهُمْ ولاَ تَرُدَّهُمْ عَلَى أعقَابهمْ، لٰكِنِ البَائِسُ سَعدُ بْنُ خَوْلَةَ» يَرْثي لَهُ رَسُولُ اللهِ ﷺ أنْ ماتَ بمَكَّة . مُتَّفَقٌ عليهِ .
ความว่า: และจากท่านอบู อิสหาก สะอัด อิบนุ อบี วักกอศ มาลิก อิบนุ อุฮัยบฺ อิบนุ อับดิมะนาฟ อิบนุ ซุฮฺเราะฮฺ อิบนุ กิลาบ[8] อิบนุ มุรฺเราะฮฺ อิบนุ กะอับ อิบนุ ลุอัยฺ อัล-กุเราะชียฺ อัซ-ซุฮฺรียฺ h -ท่านเป็นหนึ่งในสิบของเศาะหาบะฮฺที่ถูกสัญญาว่าจะได้เข้าสวรรค์ j - เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ ได้มาเยี่ยมเยียนฉันในปีหัจญ์อำลา[9]เนื่องจากอาการเจ็บป่วยของฉันที่ทรุดหนักขึ้นเรื่อยๆ แล้วฉันก็ได้บอกกับท่านว่า: “โอ้เราะซูลุลลอฮฺ แท้จริงฉันมีอาการเจ็บป่วยอย่างที่ท่านเห็น และฉันก็มีทรัพย์มรดกมากมายและไม่มีใครสืบมรดกนอกจากลูกสาวเพียงคนเดียวของฉัน ฉันจะบริจาคเศษสองส่วนสามจากทรัพย์มรดกของฉันได้ไหม?” ท่านตอบว่า: “ไม่ได้หรอก” ฉันถามว่า: “ถ้าเช่นนั้นก็ครึ่งหนึ่งล่ะท่านเราะซูลุลลอฮฺ?” ท่านตอบว่า: “ไม่ได้เช่นกัน” ฉันถามต่ออีกว่า: “ถ้าเช่นนั้นก็เศษหนึ่งส่วนสามล่ะท่านเราะซูลุลลอฮฺ?” ท่านตอบว่า “(ใช่)เศษหนึ่งส่วนสาม และเศษหนึ่งส่วนสามนั้นมันก็มากอยู่ แท้จริงการที่ท่านทิ้งให้ทายาทของท่านมีความมั่งมีดีกว่าการที่ท่านจะทิ้งให้พวกเขามีความขัดสนแบมือขอคนอื่น และแท้จริงท่านมิได้จ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ โดยที่ท่านตั้งเจตนาเพื่ออัลลอฮฺ นอกจากท่านจะได้รับผลบุญตอบแทน แม้แต่สิ่งที่ท่านได้ป้อนเข้าไปในปากของภรรยาของท่านก็ตามที” ท่านสะอัดเล่าต่อว่า: และฉันก็ได้กล่าวว่า: “โอ้เราะซูลุลลอฮฺ ฉันจะถูกทอดทิ้ง (ไว้ที่นครมักกะฮฺ) หลังจากสหายของฉัน (ได้เดินทางกลับนครมะดีนะฮฺพร้อมกับท่าน) ไหม?[10]” ท่านนบีตอบว่า: “ไม่ว่าท่านจะถูกทิ้ง(ไว้ที่นครมักกะฮฺ)ก็ตามที แต่ถ้าท่านประกอบคุณความดีใดๆ โดยมีเจตนาเพื่ออัลลอฮฺ นอกจากว่าท่านจะได้ยกระดับตำแหน่งและเกียรติของท่านให้สูงขึ้น และฉันหวังว่าท่านจะถูกทิ้งไว้(ให้มีอายุยืนยาว) จนกระทั่งมีชนกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์จากท่านและชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับความเสียหาย[11] โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้การอพยพของบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉันลุล่วงด้วยเถิด และจงอย่าให้พวกเขาถอยกลับเลย[12] แต่คนที่โชคร้ายคือสะอัด อิบนุ เคาละฮฺ” ท่านนบี ﷺ ได้แสดงความเสียใจกับการจากไปของสะอัด บิน เคาละฮฺ เพราะเขาได้ตาย ณ นครมักกะฮฺ[13] มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[14]
หะดีษที่ 7
وعنْ أبي هريرةَ عبدِ الرحمانِ بنِ صخرٍ h، قَالَ : قَالَ رَسُولُ الله ﷺ: «إنَّ الله لا ينْظُرُ إِلى أجْسَامِكُمْ، ولا إِلى صُوَرِكمْ، وَلَكن ينْظُرُ إلى قُلُوبِكمْ وأعمالكم». رواه مسلم.
ความว่า: และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ นั่นคืออับดุรเราะหฺมาน อิบนุ ศ็อคฺรฺ h เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺมิได้ทรงมองที่เรือนร่างและรูปร่างของพวกท่าน แต่พระองค์ทรงมองที่หัวใจและการงานของพวกท่าน” บันทึกโดยมุสลิม[15]
หะดีษที่ 8
وعن أبي موسى عبدِ اللهِ بنِ قيسٍ الأشعريِّ h، قَالَ : سُئِلَ رسولُ الله ﷺ عَنِ الرَّجُلِ يُقاتلُ شَجَاعَةً، ويُقَاتِلُ حَمِيَّةً، ويُقَاتِلُ رِيَاءً، أَيُّ ذلِكَ في سبيلِ الله ؟ فقال رَسُول الله : «مَنْ قَاتَلَ لِتَكونَ كَلِمَةُ اللهِ هي العُلْيَا ، فَهوَ في سبيلِ اللهِ» مُتَّفَقٌ عَلَيهِ .
ความว่า: และจากท่านอบู มูซา นั่นคืออับดุลลอฮฺ อิบนุ ก็อยสฺ อัล-อัชอะรีย์ h เล่าว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ ถูกถามเกี่ยวกับผู้ชายที่ทำการสู้รบเพื่อโชว์ความกล้าหาญ[16] ทำการสู้รบเพราะความหึงหวงต้องการปกป้องพรรคพวก และทำการสู้รบเพื่อชื่อเสียง ว่าประเภทไหนที่อยู่แนวทางของอัลลอฮฺ? ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ ตอบว่า “คือผู้ที่ทำการสู้รบเพื่อเชิดชูศาสนาของอัลลอฮฺให้สูงส่ง นั่นแหละคือผู้ที่อยู่ในแนวทางของอัลลอฮฺ” มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[17]
หะดีษที่ 9
وعن أبي بَكرَةَ نُفَيْعٍ بنِ الحَارثِ الثقفيِّ h: أَنَّ النَّبيَّ ﷺ قَالَ : «إِذَا التَقَى المُسْلِمَانِ بسَيْفَيهِمَا فالقَاتِلُ وَالمَقْتُولُ في النّارِ»، قُلتُ : يا رَسُولَ اللهِ، هذا القَاتِلُ فَمَا بَالُ المقْتُولِ ؟ قَالَ : «إنَّهُ كَانَ حَريصاً عَلَى قتلِ صَاحِبهِ». مُتَّفَقٌ عليهِ .
ความว่า: และจากท่านอบู บักเราะฮฺ นั่นคือ นุฟัยอฺ อิบนุ อัล-หาริษ อัษ-ษะเกาะฟีย์ h เล่าว่า : ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า “เมื่อมุสลิมสองคนปะทะกันด้วยดาบ ทั้งผู้ฆ่าและผู้ถูกฆ่าก็จะต้องตกอยู่ในไฟนรก” ฉันถามว่า : โอ้เราะซูลุลลอฮฺ นี่คือผู้ที่ฆ่า[18] แล้วผู้ถูกฆ่ามีความผิดอะไรเล่า? ท่านนบีตอบว่า “เพราะแท้จริงแล้วเขาเหือดกระหายที่หมายจะคร่าชีวิตคู่อริของเขาด้วยเช่นกัน” มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[19]
หะดีษที่ 10
وعن أبي هريرةَ h، قَالَ : قالَ رَسُول الله ﷺ: «صَلاةُ الرَّجلِ في جمَاعَةٍ تَزيدُ عَلَى صَلاتهِ في سُوقِهِ وبيتهِ بضْعاً وعِشرِينَ دَرَجَةً، وَذَلِكَ أنَّ أَحدَهُمْ إِذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الوُضوءَ، ثُمَّ أَتَى المَسْجِدَ لا يُرِيدُ إلاَّ الصَّلاةَ، لاَ يَنْهَزُهُ إِلاَّ الصَلاةُ : لَمْ يَخْطُ خُطْوَةً إِلاَّ رُفِعَ لَهُ بِهَا دَرجَةٌ، وَحُطَّ عَنْهُ بها خَطِيئَةٌ حَتَّى يَدْخُلَ المَسْجِدَ، فإِذا دَخَلَ المَسْجِدَ كَانَ في الصَّلاةِ مَا كَانَتِ الصَّلاةُ هِي تَحْبِسُهُ، وَالمَلائِكَةُ يُصَلُّونَ عَلَى أَحَدِكُمْ مَا دَامَ في مَجْلِسِهِ الَّذِي صَلَّى فِيهِ، يَقُولُونَ : اللهم ارْحَمْهُ، اللهم اغْفِرْ لَهُ، اللهم تُبْ عَلَيهِ ، مَا لَم يُؤْذِ فيه، مَا لَمْ يُحْدِثْ فِيهِ». مُتَّفَقٌ عليه ، وهذا لفظ مسلم . وقوله ﷺ: «يَنْهَزُهُ» هُوَ بِفَتْحِ اليَاءِ والْهَاءِ وبالزَّايِ : أَيْ يُخْرِجُهُ ويُنْهِضُهُ .
ความว่า: และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ h เล่าว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า “การละหมาดของชายคนหนึ่งที่เป็นญะมาอะฮฺ ผลบุญจะทวีคูณกว่าการละหมาดของเขาที่ตลาดและบ้านของเขาถึงยี่สิบกว่าเท่า[20] นั่นคือเมื่อคนหนึ่งคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเขาได้อาบน้ำละหมาด แล้วเขาก็อาบมันอย่างดี หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปมัสญิดโดยไม่มีจุดประสงค์อื่นใดนอกจากเพื่อทำการละหมาด ไม่มีสิ่งใดผลักดันเขา (ให้เดินออกไป) นอกจากการละหมาด เขาจะไม่ก้าวหนึ่งก้าวนอกจากเขาจะถูกยกระดับหนึ่งขั้น และถูกลบความผิดหนึ่งความผิดจนกระทั่งเขาได้ก้าวเข้ามัสญิด และเมื่อเขาได้เข้าในมัสญิด ก็เสมือนกับว่าเขาได้อยู่ในการละหมาดตราบใดที่การละหมาดคือสิ่งที่ได้เหนี่ยวรั้งเขาไว้ และบรรดามลาอิกะฮฺต่างวิงวอนให้กับคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านตราบใดที่เขายังคงนั่งในที่ที่เขาได้ละหมาด พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺโปรดเมตตาแก่เขาด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺโปรดอภัยโทษให้แก่เขาด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺโปรดตอบรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของเขาด้วยเถิด ตราบใดที่เขามิได้ก่อความเดือดร้อนและมิได้มีหะดัษ (เสียน้ำละหมาด) ณ สถานที่นั้น” มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[21] และสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่านมุสลิม «يَنْهَزُهُ» อ่านด้วยสระฟัตหะฮฺบนตัว ยาอ์ ฮาอ์ และซาย แปลว่า ให้ออกไปและผลักดัน
หะดีษที่ 11
وعن أبي العبَّاسِ عبدِ اللهِ بنِ عباسِ بنِ عبد المطلب k ، عن رَسُول الله ﷺ ، فيما يروي عن ربهِ، تباركَ وتعالى، قَالَ : «إنَّ اللهَ كَتَبَ الحَسَنَاتِ والسَّيِّئَاتِ، ثُمَّ بَيَّنَ ذلِكَ، فَمَنْ هَمَّ بحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كَتَبَها اللهُ تَبَارَكَ وتَعَالى عِنْدَهُ حَسَنَةً كامِلَةً، وَإنْ هَمَّ بهَا فَعَمِلَهَا كَتَبَهَا اللهُ عَشْرَ حَسَناتٍ إِلى سَبْعمئةِ ضِعْفٍ إِلى أَضعَافٍ كَثيرةٍ، وإنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كَتَبَهَا اللهُ تَعَالَى عِنْدَهُ حَسَنَةً كَامِلةً، وَإنْ هَمَّ بِهَا فَعَمِلَهَا كَتَبَهَا اللهُ سَيِّئَةً وَاحِدَةً». مُتَّفَقٌ عليهِ .
ความว่า: จากท่านอบู อัล-อับบาส นั่นคืออับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส อิบนุ อับดุลมุฏเฏาะลิบ k จากท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ ท่านได้รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่านผู้ทรงจำเริญและผู้ทรงสูงส่งว่า “แท้จริง อัลลอฮฺได้ทรงบันทึกความดีและความชั่วทั้งหลาย แล้วพระองค์ได้ทรงชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ใครก็ตามที่ปรารถนาจะทำความดีอย่างหนึ่ง แต่แล้วเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮฺจะทรงบันทึก ณ ที่พระองค์ไว้หนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาที่จะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ อัลลอฮฺจะทรงบันทึก ณ ที่พระองค์ไว้สิบความดี และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนอีกถึงเจ็ดร้อยเท่าจนทวีคูณอย่างมากมาย และหากเขาปรารถนาที่จะทำความชั่วอย่างหนึ่ง แต่แล้วเขาไม่ได้ทำ อัลลอฮฺจะทรงบันทึก ณ ที่พระองค์ไว้หนึ่งความดีอย่างสมบูรณ์ และหากเขาปรารถนาที่จะทำมัน แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ พระองค์จะทรงบันทึก ณ ที่พระองค์ไว้หนึ่งความผิดเท่านั้น” มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[22]
หะดีษที่ 12
وعن أبي عبد الرحمن عبدِ الله بنِ عمرَ بن الخطابِ k ، قَالَ : سمعتُ رسولَ الله ﷺ، يقول : «انطَلَقَ ثَلاثَةُ نَفَرٍ مِمَّنْ كَانَ قَبْلَكُمْ حَتَّى آوَاهُمُ المَبيتُ إِلى غَارٍ فَدَخلُوهُ، فانْحَدرَتْ صَخْرَةٌ مِنَ الجَبَلِ فَسَدَّتْ عَلَيْهِمُ الغَارَ، فَقالُوا : إِنَّهُ لاَ يُنْجِيكُمْ مِنْ هذِهِ الصَّخْرَةِ إِلاَّ أنْ تَدْعُوا اللهَ بصَالِحِ أعْمَالِكُمْ . قَالَ رجلٌ مِنْهُمْ : اللهم كَانَ لِي أَبَوانِ شَيْخَانِ كبيرانِ ، وكُنْتُ لا أغْبِقُ قَبْلَهُمَا أهْلاً ولاَ مالاً ، فَنَأَى بِي طَلَبُ الشَّجَرِ يَوْماً فلم أَرِحْ عَلَيْهمَا حَتَّى نَامَا، فَحَلَبْتُ لَهُمَا غَبُوقَهُمَا فَوَجَدْتُهُما نَائِمَينِ، فَكَرِهْتُ أنْ أُوقِظَهُمَا وَأَنْ أغْبِقَ قَبْلَهُمَا أهْلاً أو مالاً، فَلَبَثْتُ - والْقَدَحُ عَلَى يَدِي - أنتَظِرُ اسْتِيقَاظَهُما حَتَّى بَرِقَ الفَجْرُ والصِّبْيَةُ يَتَضَاغَوْنَ عِنْدَ قَدَميَّ، فاسْتَيْقَظَا فَشَرِبا غَبُوقَهُما. اللهم إنْ كُنْتُ فَعَلْتُ ذلِكَ ابِتِغَاء وَجْهِكَ فَفَرِّجْ عَنّا مَا نَحْنُ فِيهِ مِنْ هذِهِ الصَّخْرَةِ، فانْفَرَجَتْ شَيْئاً لا يَسْتَطيعُونَ الخُروجَ مِنْهُ. قَالَ الآخر : اللهم إنَّهُ كانَتْ لِيَ ابْنَةُ عَمٍّ، كَانَتْ أَحَبَّ النّاسِ إليَّ - وفي رواية : كُنْتُ أُحِبُّها كأَشَدِّ مَا يُحِبُّ الرِّجَالُ النساءَ - فأَرَدْتُهَا عَلَى نَفْسِهَا فامْتَنَعَتْ مِنِّي حَتَّى أَلَمَّتْ بها سَنَةٌ مِنَ السِّنِينَ فَجَاءَتْنِي فَأَعْطَيْتُهَا عِشْرِينَ وَمِئَةَ دينَارٍ عَلَى أنْ تُخَلِّيَ بَيْنِيْ وَبَيْنَ نَفْسِهَا فَفعَلَتْ، حَتَّى إِذَا قَدَرْتُ عَلَيْهَا - وفي رواية : فَلَمَّا قَعَدْتُ بَينَ رِجْلَيْهَا، قالتْ : اتَّقِ اللهَ وَلاَ تَفُضَّ الخَاتَمَ إلاّ بِحَقِّهِ ، فَانصَرَفْتُ عَنْهَا وَهيَ أَحَبُّ النَّاسِ إليَّ وَتَرَكْتُ الذَّهَبَ الَّذِي أعْطَيتُها. اللهم إنْ كُنْتُ فَعَلْتُ ذلِكَ ابْتِغاءَ وَجْهِكَ فافْرُجْ عَنَّا مَا نَحْنُ فيهِ ، فانْفَرَجَتِ الصَّخْرَةُ، غَيْرَ أَنَّهُمْ لا يَسْتَطِيعُونَ الخُرُوجَ مِنْهَا. وَقَالَ الثَّالِثُ : اللهم اسْتَأْجَرْتُ أُجَرَاءَ وأَعْطَيْتُهُمْ أجْرَهُمْ غيرَ رَجُلٍ واحدٍ تَرَكَ الَّذِي لَهُ وَذَهبَ، فَثمَّرْتُ أجْرَهُ حَتَّى كَثُرَتْ مِنهُ الأمْوَالُ، فَجَاءنِي بَعدَ حِينٍ، فَقالَ : يَا عبدَ اللهِ، أَدِّ إِلَيَّ أجْرِي، فَقُلْتُ : كُلُّ مَا تَرَى مِنْ أجْرِكَ : مِنَ الإبلِ وَالبَقَرِ والْغَنَمِ والرَّقيقِ، فقالَ : يَا عبدَ اللهِ، لاَ تَسْتَهْزِىءْ بي ! فَقُلْتُ : لاَ أسْتَهْزِئ بِكَ، فَأَخَذَهُ كُلَّهُ فاسْتَاقَهُ فَلَمْ يتْرُكْ مِنهُ شَيئاً. اللهم إنْ كُنتُ فَعَلْتُ ذلِكَ ابِتِغَاءَ وَجْهِكَ فافْرُجْ عَنَّا مَا نَحنُ فِيهِ، فانْفَرَجَتِ الصَّخْرَةُ فَخَرَجُوا يَمْشُونَ». مُتَّفَقٌ عليهِ .
ความว่า: จากท่านอบู อับดิรฺเราะหฺมาน อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ k เล่าว่า: ฉันได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า “ชายสามคนจากประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านได้เดินออกเดินทางจนกระทั่งพวกเขาต้องค้างแรมในถ้ำแห่งหนึ่ง แล้วพวกเขาก็เข้าภายในถ้ำแห่งนั้น แล้วก้อนหินใหญ่จากภูเขาก็ถล่มลงมาปิดปากถ้ำ พวกเขากล่าวกันว่า: แท้จริงไม่มีสิ่งใดที่จะให้พวกท่านรอดพ้นจากก้อนหินใหญ่นี้ได้นอกจากการที่พวกท่านจะของวิงวอนต่ออัลลอฮฺด้วยกับการงานที่ดีของพวกท่าน ชายคนหนึ่งจากพวกเขากล่าวขึ้นว่า: “โอ้อัลลอฮฺ ฉันมีพ่อแม่ที่แก่ชรา แต่ฉันไม่เคยให้ใครดื่มนมก่อนหน้าพวกท่านเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกเมียและทาสรับใช้ แล้ววันหนึ่งฉันจำต้องหาพืชไม้ (เพื่อเป็นอาหารแก่ปศุสัตว์) และฉันไม่ได้กลับหาท่านทั้งสองจนกระทั่งท่านทั้งสองได้หลับนอน และฉันได้รีดน้ำนมให้แก่ทั้งสองและฉันก็พบท่านได้นอนหลับแล้ว และฉันก็รังเกียจที่จะปลุกท่านทั้งสอง และฉันก็รังเกียจที่จะให้ภรรยา ลูกๆ และคนใช้ดื่มก่อนท่านทั้งสอง แล้วฉันก็รอในขณะที่ภาชนะอยู่ในมือของฉัน รอให้ท่านทั้งสองตื่นจนกระทั้งแสงอรุณขึ้นและลูกๆ ของฉันต่างร้องไห้งอแง(เพราะความหิว)อยู่ที่เท้าของฉัน แล้วท่านทั้งสองก็ได้ตื่นและได้ดื่มน้ำนมก่อนคนอื่นๆ โอ้อัลลอฮฺ หากฉันได้กระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อพระองค์แล้ว ได้โปรดให้พวกเรารอดพ้นจากหินก้อนใหญ่ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ด้วยเถิด” แล้วก้อนหินก็เลื่อนออกนิดหนึ่ง แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถออกจากถ้ำได้ แล้วชายอีกคนก็กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันมีลูกสาวของลุง เธอเป็นผู้ที่ฉันรักมากที่สุด และในบางสายรายงานระบุว่า ฉันรักเธอมากเสมือนกับรักอันมากมายของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง แล้วฉันก็ปรารถนาในตัวนาง แต่นางปฏิเสธฉัน จนกระทั่งนางประสบกับความทุกข์ยากเพราะภัยแล้งในปีหนึ่ง แล้วนางได้มาหาฉัน และฉันก็ได้มอบเงินให้นางเป็นจำนวน 120 ดีนารฺโดยมีเงื่อนไขนางจักต้องเปิดโอกาสให้ฉันได้ในตัวนาง แล้วนางก็ยอมทำตามนั้น จนกระทั่งถึงเวลาที่ฉันจวนจะได้กับนางแล้ว - ในบางสายรายงานระบุว่า เมื่อครั้นฉันได้คร่อมอยู่ระหว่างสองขาของนางแล้ว - นางก็ได้เอ่ยขึ้นว่า ท่านจงเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺเถิด และท่านจงอย่าสวมแหวนนอกจากด้วยสิทธิของมัน(หมายถึงอย่าได้มีเพศสัมพันธ์นอกจากด้วยการแต่งงานที่ถูกต้อง) แล้วฉันก็ปล่อยนางไป ทั้งๆ ที่นางเป็นผู้ที่ฉันรักที่สุด และฉันก็มอบทองดังกล่าวให้แก่นางไปโดยไม่เอาคืน โอ้อัลลอฮฺ หากฉันได้กระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อพระองค์แล้ว ได้โปรดให้พวกเรารอดพ้นจากหินก้อนใหญ่ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ด้วยเถิด” แล้วก้อนหินก็เลื่อนออกนิดหนึ่ง แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถออกจากถ้ำได้ และชายคนที่สามก็กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ฉันได้จ้างคนงานจำนวนหนึ่ง และฉันก็ได้ให้ค่าจ้างแก่พวกเขาทั้งหมดนอกจากผู้ชายคนหนึ่งที่ได้ทิ้งส่วนของเขาและได้เดินทางจากไป ฉันจึงได้เอาเงินค่าจ้างของเขามาลงทุนจนกระทั่งมันได้เพิ่มพูนมากมาย หลังจากนั้นเขาก็ได้มาหาฉัน และกล่าวกับฉันว่า โอ้บ่าวของอัลลอฮฺ จงมอบค่าจ้างให้ฉันด้วย ฉันได้ตอบเขาไปว่า ทั้งหมดที่ท่านเห็นจากบรรดาอูฐ วัว แพะแกะ และทาสรับใช้ทั้งหมดนั่นคือค่าจ้างของท่าน เขากล่าวว่า โอ้บ่าวของอัลลอฮฺ ท่านอย่าประชดฉันน่ะ? ฉันกล่าวว่า ฉันไม่ได้ประชดท่านเลย แล้วเขาก็เอาทรัพย์สินไปทั้งหมดและไม่ได้ทิ้งแม้แต่น้อยนิด โอ้อัลลอฮฺ หากฉันได้กระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อพระองค์แล้ว ได้โปรดให้พวกเรารอดพ้นจากหินก้อนใหญ่ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ด้วยเถิด” แล้วก้อนหินก็ได้เปิดออก แล้วพวกเขาก็เดินออกจากถ้ำไปได้โดยดี” มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ[23]
[1] เชื้อสายของท่านนบี g และท่านอุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ h บรรจบที่อดิยฺ อิบนุ กะอับ
[2] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: การศรัทธา, เลขที่: 2784. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, บท: อัล-อิมาเราะฮฺ, บรรพ: คำกล่าวของท่านนบี g "แท้จริงการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา", เลขที่: 1907
[3] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: การค้าขาย, บรรพ: สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับตลาด, เลขที่: 2118. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด: บรรดาฟิตนะฮฺและสัญญาณวันสิ้นโลก, บรรพ: กองทัพที่บุกทำลายวิหารกะอฺบะฮฺถูกธรณีสูบ, เลขที่: 2883
[4] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: การญิฮาดและเดินทาง บรรพ ความประเสริฐของการญิฮาดและเดินทาง, เลขที่: 2783 มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด: หัจญ์, บรรพ: มักกะฮฺเป็นที่ต้องห้ามฯ เลขที่: 1353
[5] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, บท: อัล-อิมาเราะฮฺ, บรรพ: ผลบุญของผู้ที่มิได้ออกสู้รบเพราะป่วยไข้หรือติดภาระกิจอื่นๆ, เลขที่: 1911
[6] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: ญิฮาดและสิยัรฺ, บรรพ: ผู้ที่การป่วยยับยั้งเขาจากการออกสู้รบ, เลขที่: 2839
[7] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, บท: ซะกาต, บรรพ: เมื่อเศาะดะเกาะฮฺให้แก่ลูกในขณะที่เขาไม่รู้ตัว, เลขที่: 1422
[8] เชื้อสายของท่านสะอัด h บรรจบกับเชื้อสายของท่านนบี ﷺ ที่กิลาบ
[9] หรือ “หัจญ์วะดาอ์” ในปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช 10 กล่าวคือท่านสะอัด อิบนุ อบีวักกอศได้ล้มป่วยในช่วงหัจญ์อำลาดังการรายงานของอัซ-ซุฮฺรีย์ ส่วนการรายงานของอิบนุอุยัยนะฮฺที่ระบุว่าท่านป่วยช่วงพิชิตนครมักกะฮฺ เป็นการรายงานที่คลาดเคลื่อน (ฟัตหุลบารีย์ โดยอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ 5/363)
[10] เนื่องจากท่านสะอัดมีอาการเจ็บป่วยและเกรงว่าท่านจะไม่ทันหายก่อนที่บรรดาเศาะหาบะฮฺจะเดินทางกลับยังนครมะดีนะฮฺ เพราะท่านรังเกียจที่จะพำนักอยู่นครมักกะฮฺหลังจากที่ท่านได้อพยพจากมันแล้ว
[11] และประการสุดท้ายนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านสะอัด กล่าวคือหลังจากการล้มป่วยครั้งนั้น อัลลอฮฺได้ประทานให้ท่านมีอายุยืนนานถึง 45 ปี ท่านเสียชีวิตในปีฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 55 ซึ่งเป็นชาวมุฮาญิรีนคนสุดท้ายที่เสียชีวิต ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประชาชาติมุสลิมอย่างมหาศาล ท่านได้พิชิตเมืองต่างๆ มากมาย ซึ่งตรงกับคำพูดของท่านนบี ﷺที่ว่า “จนกระทั่งมีชนกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์ต่อท่าน” นั่นคือมุสลิมได้รับประโยชน์จากการพิชิตเมืองต่างๆ ของท่าน ส่วน “และชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับความความเสียหาย” คือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา
[12] คือให้พวกเขายืนหยัดในอีมาน เพราะตราบใดที่พวกเขายืนหยัดในอีมานก็เท่ากับว่าพวกเขาได้ยืนหยัดในการฮิจญ์เราะฮฺ และจงอย่าให้พวกเขากลับมายังนครมักกะฮฺอีกหลังจากที่พวกเขาได้อพยพจากมันแล้ว
[13] เพราะท่านได้อพยพไปยังนครมะดีนะฮฺ แต่แล้วท่านก็กลับมาเสียชีวิต ณ ดินแดนที่ท่านได้อพยพจากมัน นั่นคือนครมะดีนะฮฺ เพราะเศาะหาบะฮฺรังเกียจที่จะต้องจบชีวิต ณ ดินแดนที่พวกเขาได้อพยพจากมันแล้ว
[14] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด : อัล-ญะนาอิซ, บรรพ : ท่านนบี ﷺ แสดงความเสียใจกับการจากไปของสะอัด อิบนุ เคาละฮฺ, เลขที่ : 1295 มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด : การสั่งเสีย, บรรพ : การสั่งเสียเศษหนึ่งส่วนสามของมรดก, เลขที่ : 1628
[15] มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด การทำดี การเชื่อมสัมพันธ์พี่น้อง และมารยาทต่างๆ, บรรพ ห้ามอยุติธรรมต่อมุสลิมฯ, เลขที่ 2564 ในต้นฉบับหนังสือ “ริยาฎุศศอลิฮีน” ไม่ได้ระบุสำนวน “และการงานของพวกท่าน” ในตอนท้ายของหะดีษ แต่ผู้แปลได้ระบุเอาไว้ ทั้งนี้เพราะการบันทึกของมุสลิมในหนังสือของท่าน ท่านได้ระบุสำนวนนี้
[16] นั่นคือเพื่อให้คนอื่นกล่าวขานว่าเขาเป็นนักรบที่กล้าหาญชาญชัย
[17] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: ความรู้, บรรพ: ผู้ที่ถามในสภาพที่ยืนและผู้รู้ที่อยู่ในสภาพนั่ง, เลขที่: 123. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด: อัล-อิมาเราะฮฺ, บรรพ: ผู้ที่ทำการสู้รบเพื่อเชิดชูศาสนาของอัลลอฮฺให้สูงส่ง, เลขที่: 1904.
[18] การที่เขาต้องเข้านรกเป็นที่ประจักษ์ เพราะเขาได้ฆ่าพี่น้องมุสลิม
[19] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: การศรัทธา, บรรพ: “และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย” และพระองค์ได้เรียกพวกเขาว่าเป็นผู้ศรัทธา, เลขที่: 31. มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด: ฟิตนะฮฺต่างๆ และสัญญาณวันกิยามะฮฺ, บรรพ: เมื่อมุสลิมเผชิญหน้ากันด้วยดาบ, เลขที่: 2888. สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์
[20] กว่า ณ ที่นี้คืออยู่ในช่วง 23-29
[21] อัล-บุคอรีย์, หมวด : การละหมาด, บรรพ : การละหมาดที่มัสญิดตลาด, เลขที่: 477. มุสลิม, หมวด: การศรัทธา, บรรพ: เมื่อบ่าวปรารถนาจะทำดีเขาจะถูกบันทึก แต่เมื่อเขาปรารถนาจะทำชั่วเขาไม่ถูกบันทึก, เลขที่: 255
[22] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: การขัดเกลาจิตใจ, บรรพ: ใครก็ตามที่ปรารถนาจะทำความดีหรือความชั่ว, เลขที่: 6491 มุสลิม, อัล-ญามิอฺ, หมวด: การศรัทธา, บรรพ: เมื่อบ่าวปรารถนาจะทำความดีเขาจะถูกบันทึกและเมื่อปรารถนาจะทำความชั่วเขาจะไม่ถูกบันทึก, เลขที่: 207
[23] อัล-บุคอรีย์, อัล-ญามิอฺ อัล-มุสนัด, หมวด: การเช่าและการจ้าง, บรรพ: ใครที่จ้างคนงานแล้วละทิ้งค่างจ้างฯ, เลขที่: 2272 มุสลิม, อัล-มุสนัด อัศ-เศาะหี้หฺ, หมวด: การซิกิรฺ การดุอาอ์ การเตาบะฮฺ และการอิสติฆฟารฺ, บรรพ: เรื่องราวของชายทั้งสามที่ติดอยู่ในถ้ำ, เลขที่: 2743