หะดีษที่ 40 - การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล
หมวดหมู่
Full Description
การถือศีลอดหกวันเดือนเชาวาล
﴿صيام ستة أيام من شوال﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
2010 - 1431
﴿صيام ستة أيام من شوال﴾
« باللغة التايلاندية »
أحمد حسين الفاريتي
ترجمة: حارث جيء دو
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب 40 حديث رمضان
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 40
การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล
عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ». (مسلم رقم 1984)
ความว่า จากท่านอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ได้ฟังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี” (รายงานโดย มุสลิม)
บทเรียนจากหะดีษ
1. การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นวาญิบและการถือศีลอดในเดือนเชาวาลเป็นสุนัต
2. บ่งบอกถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในเดือนเชาวาล
3. การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮฺจะทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี
4. หลักทั่วไปเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนต่อการกระทำที่ดี คือ หนึ่งความดี ตอบแทนด้วย10 เท่า การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน 30 วัน พร้อมกับการถือศีลอดเดือนเชาวาล 6 วัน รวมกันเป็น 36 วัน จากนั้นคูณด้วย 10 เท่ากับ 360 วัน ก็เท่ากับว่าถือศีลอดเป็นเวลา 1 ปี
5. ถือศีลอดสุนัตในเดือนเชาวาล ควรเริ่มจากวันที่ 2 ของเดือนเชาวาล และถือศีลอดติดต่อกัน แต่หากไม่ได้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่ต้นเดือน และไม่ได้ถือศีลอดติดต่อกันก็ถือว่าทำได้