หะดีษที่ 19 - ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีหฺ
หมวดหมู่
Full Description
ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีหฺ
﴿فضل قيام رمضان﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
อาหมัด อัลฟารีตีย์
แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน
2010 - 1431
﴿فضل قيام رمضان﴾
« باللغة التايلاندية »
أحمد حسين الفاريتي
ترجمة: حارث جيء دو
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب 40 حديث رمضان
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
หะดีษบทที่ 19
ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีหฺ
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ الله عَنهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ». (البخاري رقم 36، مسلم رقم 1266)
ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ลุกขึ้น(เพื่อละหมาดและประกอบอิบาดะฮฺ)ในคืนของเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 36 และมุสลิม หมายเลข 1266)
คำอธิบาย
อะมัลที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนเราะมะฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวีหฺ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่หย่อนไปกว่าการประกอบอิบาดะฮฺประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา เฉกเช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ รวมทั้งความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
ส่วนหุก่มของการละหมาดตะรอวีหฺนั้น บรรดาอุละมาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะฮฺหรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะฮฺจะมีความประเสริฐมากกว่า
บทเรียนจากหะดีษ
1. กล่าวถึงความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยลฺในเดือนเราะมะฎอน
2. มีความยะกีน/มั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3. ชี้ถึงเราะหฺมัตหรือความเมตตาของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอน