×
การพูดถึงความตาย และสิ่งที่อยู่หลังความตายมีผลต่อการปรับปรุงจิตใจตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการสะสมเสบียงเพื่อกาลข้างหน้า และลดการหมกมุ่นในโลกดุนยานี้ ด้วยเหตุนี้เองท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)จึงส่งเสริมให้พูดถึงความตายให้มากๆ และท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)เองก็ได้ห้ามการที่มุสลิมจะอยากตายเพียงเพราะมีทุกข์ภัยมาประสบ เพราะคนเราไม่รู้หรอกว่า การมีชีวิตอยู่ต่อหรือการตายจะดีกว่า แต่ให้ขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงกำหนดสิ่งที่ดีกว่าแก่ตัวเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    การรำลึกถึงความตายและห้ามมิให้ปรารถนาที่จะตาย

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2013 - 1435

    ذكر الموت والنهي عن تمنيه

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2013 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    การรำลึกถึงความตายและห้ามมิให้ปรารถนาที่จะตาย

    ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า

    «أكثِروا ذِكْرَ هَادِم اللذات» [أخرجه الترمذي]

    “พวกท่านจงกล่าวถึง ผู้มาตัดขาดความสุนทรีย์(ความตาย) ให้มากเถิด” บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ

    และท่านอนัส(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ)ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)กล่าวว่า

    «لَا يَتَمَنَّيَن أَحَدُكم الموتَ لِضُر نزل به، فإن كان لا بُد مُتَمَنِّياً فَلْيَقُل: اللهم أحيِني مَا كاَنت الحياةُ خيراً لي، وَتَوَفّني إذا كانت الوَفَاة خيراً لي» [متفق عليه]

    “พวกท่านคนใดจงอย่าได้หวังความตายเพราะทุกข์ภัยที่มาประสบ แต่หากจำต้องหวังความตาย เขาก็จงขอว่า “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ฉันมีชีวิตอยู่ต่อ หากการชีวิตอยู่ต่อเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับฉัน และโปรดให้ฉันตาย หากการตายเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับฉัน”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม

    และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «لا يَتَمَنّ أَحَدُكُم الموتَ وَلَا يَدْعُ بِهِ مِن قَبْل أَنْ يَأْتِيَه، إِنَّه إِذا ماتَ أحدُكم اِنْقَطَعَ عَمَلُه وإِنَّه لَا يَزيد المؤمن عُمْرَهُ إلا خيرا» [أخرجه مسلم]

    “พวกท่านคนใดจงอย่าหวังความตาย อย่าได้ขอมันก่อนที่มันจะมา เพราะเมื่อพวกท่านคนใดเสียชีวิตไป การงานของเขาก็จะขาดลง และแท้จริงมุอฺมินนั้น อายุเขาไม่เพิ่มพูนสิ่งใดเว้นแต่ความดี” บันทึกโดยมุสลิม

    อธิบาย

    การพูดถึงความตาย และสิ่งที่อยู่หลังความตายมีผลต่อการปรับปรุงจิตใจตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการสะสมเสบียงเพื่อกาลข้างหน้า และลดการหมกมุ่นในโลกดุนยานี้ ด้วยเหตุนี้เองท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)จึงส่งเสริมให้พูดถึงความตายให้มากๆ และท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)เองก็ได้ห้ามการที่มุสลิมจะอยากตายเพียงเพราะมีทุกข์ภัยมาประสบ เพราะคนเราไม่รู้หรอกว่า การมีชีวิตอยู่ต่อหรือการตายจะดีกว่า แต่ให้ขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงกำหนดสิ่งที่ดีกว่าแก่ตัวเขา

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · สมควรพูดถึงความตายให้มาก

    · ห้ามปรารถนาความตายเมื่อมีทุกข์ภัยมาประสบ