ละหมาดสุนัต
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การละหมาดตะเฏาวุอฺ (ละหมาดสุนัต)
﴿صلاة التطوع﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ดานียา เจะสนิ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿صلاة التطوع﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: دانيال جيء سنيك
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
16. การละหมาดตะเฏาวุอฺ (ละหมาดสุนัต)
เคล็ดลับในการบัญญัติการละหมาดสุนัต
เป็นความเมตตาของอัลลอฮฺที่ในบทบัญญัติทุกๆประเภทที่พระองค์ได้บัญญัติสิ่งที่วาญิบไว้จะมีเสริมสิ่งที่เป็นสุนัตในประเภทเดียวกันอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเปิดโอกาสให้มุอฺมินเพิ่มอีมานด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นตะเฏาวุอฺเหล่านั้น และเพื่อเติมเต็มจุดที่บกพร่องในบทบัญญัติที่วาญิบในวันกิยามะฮฺ ทั้งนี้การปฏิบัติสิ่งที่วาญิบย่อมไม่พ้นความบกพร่องแน่นอน
การละหมาดมีที่เป็นวาญิบและที่เป็นสุนัต การถือศีลอดมีที่เป็นวาญิบและที่เป็นสุนัต เช่นเดียวกันกับการทำหัจญฺ การเศาะดะเกาะฮฺ เป็นต้น ดังนั้นบ่าวคนหนึ่งจึงยังคงมีโอกาสจะหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺด้วยสิ่งที่เป็นสุนัตได้ทุกเวลาที่ต้องการ จนกระทั่งเขาจะเป็นที่ชอบของอัลลอฮฺ
ประเภทของการละหมาดสุนัต
การละหมาดสุนัตมีหลายประเภท
1- ประเภทที่ถูกบัญญัติให้ละหมาดร่วมกันเป็นญะมาอะฮฺ เช่นละหมาดตะรอวีหฺ อิสติสกออ์(ขอฝน) กุสูฟ(เมื่อเกิดสุริยคราสและจันทรคราส) และอีดทั้งสอง
2- ประเภทที่ไม่ได้บัญญัติให้ละหมาดร่วมกัน เช่นละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
3- ประเภทที่ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ เช่นละหมาดเราะวาติบ
4- ประเภทที่ไม่ได้ยึดติดกับการละหมาดวาญิบ เช่นละหมาดฎุฮา
5- ประเภทที่มีกำหนดเวลา เช่นละหมาดตะฮัจญุด
6- ประเภทที่ไม่ได้มีกำหนดเวลา เช่น ละหมาดสุนัตมุฏลัก
7- ประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ เช่นละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด ละหมาดสองร็อกอะฮฺวุฎูอ์
8- ประเภทที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุ เช่นละหมาดสุนัตมุฏลัก
9- ประเภทที่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ เช่นละหมาดอีดทั้งสอง กุสูฟ และวิตรฺ
10- ประเภทที่ไม่เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ เช่นละหมาดก่อนมัฆฺริบ เป็นต้น
นี่คือความประเสริฐที่อัลลอฮฺมอบให้แก่บ่าวของพระองค์ กล่าวคือพระองค์ได้บัญญัติแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกจะได้ใช้เพื่อเข้าใกล้กับพระองค์ เปิดโอกาสหลายช่องทางให้แก่บ่าวเพื่อพวกเขาจะได้ขจัดความผิดต่อพระองค์ เพิ่มพูนผลบุญและยกระดับความใกล้ของตัวเองกับพระองค์ ฉะนั้นจึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บ่าวจะกล่าวสรรเสริญและขอบคุณพระองค์
1- การละหมาดสุนัตเราะวาติบ
สุนัตเราะวาติบ คือการละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดฟัรฎุ ซึ่งมีสองประเภทด้วยกัน
ประเภทของการละหมาดเราะวาติบ
หนึ่ง สุนัตเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ(เน้นให้ปฏิบัติ) ซึ่งมีทั้งหมด 12 ร็อกอะฮฺ
1- สี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดซุฮฺริ
2- สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดซุฮฺริ
3- สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดมัฆฺริบ
4- สองร็อกอะฮฺหลังจากละหมาดอิชาอ์
5- สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดฟัจญ์รฺ (ศุบหฺ)
มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุ หะบีบะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา ภรรยาของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَـا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِـمٍ يُصَلِّي ٬ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَي عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعاً غَيْرَ فَرِيضَةٍ إلَّا بَنَى الله لَـهُ بَيْتاً فِي الجَنَّةِ، أَوْ إلَّا بُنِيَ لَـهُ بَيْتٌ فِي الجَنَّةِ»
ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนไหนที่ได้ละหมาดสุนัตวันละ 12 ร็อกอะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้เขาหลังหนึ่งในสวรรค์ หรือ บ้านหลังหนึ่งจะถูกสร้างให้เขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)
และบางครั้งอาจละหมาดเราะวาติบมุอักกะดะฮฺ เพียง 10 ร็อกอะฮฺ ซึ่งจะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่างเพียงแต่ละหมาดก่อนซุฮฺริแค่ 2 ร็อกอะฮฺ
มีรายงานจากท่านอิบนุอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
صَلَّيْتُ مَعَ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم قَبْلَ الظُّهْر سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَهَا سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ المَغْرِبِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ العِشَاءِ سَجْدَتَيْنِ، وَبَـعْدَ الجُـمُعَةِ سَجْدَتَيْنِ، فَأَمَّا المَغْرِبُ وَالعِشَاءُ وَالجُـمُعَةُ فَصَلَّيْتُ مَعَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فِي بَيْتِـهِ
ความว่า “ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อนซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังซุฮฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังมัฆฺริบ 2 ร็อกอะฮฺ หลังอิชาอ์ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนศุบฺหิ 2 ร็อกอะฮฺ และหลังจากญุมุอะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ ซึ่งละหมาดหลังมัฆฺริบ อิชาอ์ และญุมุอะฮฺนั้น ฉันละหมาดกับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่บ้านของท่าน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 937 และมุสลิม เลขที่: 729 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
สอง สุนัตเราะวาติบที่ไม่มุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมทำ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำ ได้แก่ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดมัฆฺริบ สองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอิชาอ์ และมีสุนัตสี่ร็อกอะฮฺก่อนละหมาดอัศฺริ
หุก่มการละหมาดสุนัตมุฏลัก
การละหมาดสุนัตมุฏลัก(การละหมาดสุนัตทั่วไปที่ไม่มีมูลเหตุเฉพาะเจาะจง)นั้นมีบัญญัติให้ละหมาดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺและประเสริฐที่สุดคือละหมาดกลางคืน
สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้กระทำมากที่สุด
สุนัตเราะวาติบที่เน้นให้ทำมากที่สุดคือ สองร็อกอะฮฺก่อนศุบหฺ โดยมีสุนัตให้ละหมาดเพียงสั้นๆ ซึ่งหลังจากสูเราะฮฺฟาติหะฮฺให้อ่านในร็อกอะฮฺแรกด้วยสูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ หรือในร็อกอะฮฺแรกให้อ่านอายะฮฺในสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 136 จนจบ นั่นคือ
(ﭣ ﭤ ﭥ...) [البقرة/136]
ในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านอายะฮฺที่ 64 จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
(ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ) [آل عمران/64]
และบางครั้งให้อ่านด้วยอายะฮฺที่ 52 จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
( ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ) [آل عمران/52].
ผู้ใดที่ไม่ทันละหมาดสุนัตเราะวาติบเหล่านี้ในเวลาของมันเนื่องจากเหตุจำเป็น สุนัตให้เขาละหมาดชดในเวลาอื่น
สมมุติว่าหากมุสลิมคนหนึ่งได้อาบน้ำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)และได้เข้ามัสญิดหลังจากอะซานซุฮฺริ แล้วได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺโดยตั้งเจตนาว่าได้ละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด สุนัตวุฎูอ์และสุนัตก่อนซุฮฺริพร้อมๆ กันถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้
ส่งเสริมให้ทิ้งช่วง ระหว่างละหมาดวาญิบกับละหมาดสุนัตเราะวาติบทั้งก่อนและหลังด้วยการย้ายที่หรือการพูดคุย
จะละหมาดเราะวาติบที่บ้านหรือที่มัสญิดก็ได้ แต่ที่ดีที่สุดคือละหมาดที่บ้านเพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้ว่า
«... فَصَلُّوا أَيُّهَا النَّاسُ فِي بُيُوتِكُمْ فَإنَّ أَفْضَلَ الصَّلاةِ صَلاةُ المَرْءِ فِي بَيْتِـهِ إلَّا المَكْتُوبَةَ»
ความว่า “พวกท่านจงละหมาดสุนัตที่บ้านของพวกท่านเถิด เพราะการละหมาดที่ดีที่สุด คือการที่คนๆหนึ่งละหมาดที่บ้านของเขา ยกเว้นละหมาดวาญิบ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 731 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 781)
ลักษณะการละหมาดสุนัต
1- อนุญาตให้ละหมาดสุนัตในท่านั่งได้ถึงแม้ว่าสามารถที่จะยืนได้ แต่หากผู้ใดละหมาดยืนนั้นจะดีกว่า ส่วนละหมาดวาญิบนั้นการยืนถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งจะนั่งไม่ได้เว้นแต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถที่จะยืนได้ อนุโลมให้ละหมาดนั่งหรือตามความสามารถที่เขาจะทำได้
2- ผู้ใดที่ละหมาดในท่านั่งโดยไม่มีความจำเป็นใดๆเขาจะได้ผลบุญครึ่งหนึ่งของผลบุญผู้ที่ยืนละหมาด แต่หากมีความจำเป็นเขาก็จะได้ผลบุญเต็มเหมือนผู้ละหมาดยืน และผู้ที่ละหมาดสุนัตในท่านอนเพราะเหตุจำเป็นก็จะได้ผลบุญเหมือนผู้ที่ละหมาดยืนแต่หากไม่มีความจำเป็นเขาก็จะได้ครึ่งหนึ่งจากผลบุญของผู้ที่ละหมาดในท่านั่ง
2- การละหมาดตะฮัจญุด
หุก่มกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺ คือการละหมาดสุนัตมุฏลักซึ่งเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺได้ใช้ให้เราะสูลของพระองค์ปฏิบัติเป็นประจำ
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ) [المزمل / 1-4].
ความว่า “โอ้ผู้คลุมกายอยู่นั้น จงยืนขึ้น(ละหมาด)ในเวลากลางคืนเว้นแต่เพียงเล็กน้อย(ไม่ใช่ตลอดคืน) ครึ่งหนึ่งของกลางคืน หรือลดน้อยกว่านั้นเพียงเล็กน้อย หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆเป็นจังหวะ” (อัล-มุซซัมมิล : 1-4)
2- และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ) [الإسراء/79].
ความว่า “และจากบางช่วงของกลางคืน เจ้าจงตื่นขึ้นมาละหมาด เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ” (อัล-อิสรออ์ :79)
3- และอัลลอฮฺได้กล่าวถึงลักษณะของผู้ที่เกรงกลัวอัลลอฮฺว่า
(ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ) [الذاريات/17- 18].
ความว่า “พวกเขาได้หลับนอนเพียงนิดหน่อยในเวลากลางคืน และในยามรุ่งสาง พวกเขาได้ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ” (อัซ-ซาริยาต : 17-18)
ความประเสริฐของการละหมาดกิยามุลลัยลฺ
กิยามุลลัยลฺเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุดอย่างหนึ่ง และประเสริฐกว่าการละหมาดสุนัตกลางวัน เพราะมันจะเกิดความอิคลาศเพื่ออัลลอฮฺมากกว่าเนื่องจากเป็นช่วงที่ลับจากสายตาผู้คน และเนื่องจากความลำบากอดนอนหรือตื่นนอนเพื่อทำการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ และเนื่องจากมันการละหมาดที่ได้รสชาติในการเข้าพบอัลลอฮฺมากที่สุด และในช่วงท้ายของกลางคืนนั้นเป็นเวลากิยามุลลัยลฺที่ประเสริฐที่สุด
1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ) [المزمل/6].
ความว่า “แท้จริงการตื่นขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นเป็นที่ประทับใจและการอ่านที่ชัดเจนยิ่ง” (อัล-มุซซัมมิล : 6)
2- และมีรายงานจากท่านอัมฺรุ อิบนุ อับสะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ أَقْرَبَ مَا يَكُونُ الرَّبُّ عَزَّ وَجَلَّ مِنَ العَبْدِ جَوْفَ اللَّيْلِ الآخِرِ، فَإنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تَـكُونَ مِـمَّنْ يَذْكُرُ الله عَزَّ وَجَلَّ فِي تِلْكَ السَّاعَةِ فَكُنْ، فَإنَّ الصَّلاةَ مَـحْضُورَةٌ مَشْهُودَةٌ إلَى طُلُوعِ الشَّمْسِ..»
ความว่า “แท้จริงช่วงที่อัลลอฮฺจะอยู่ใกล้กับบ่าวของพระองค์มากที่สุดคือช่วงท้ายของกลางคืน ฉะนั้นหากท่านทำจะทำตัวเป็นคนที่ซิกฺรุระลึกถึงอัลลอฮฺในช่วงดังกล่าวได้ก็จงทำ เพราะการละหมาดในช่วงนี้มะลาอิกะฮฺจะคอยเป็นสักขีพยานตลอดจนกระทั่งเช้า” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์3579 และอัน-นะสาอีย์ 572 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน)
3- และมีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา? ท่านตอบว่า
«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»
ความว่า “การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1163)
ช่วงเวลากลางคืนที่ดุอาอ์จะถูกตอบรับ
1- มีรายงานจากท่านญาบิรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ فِي اللَّيْلِ لَسَاعَةً لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيْراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ»
ความว่า “แท้จริงในเวลากลางคืนนั้นมีช่วงหนึ่งที่ไม่มีมุสลิมคนไหนที่ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้เขาได้สิ่งหนึ่งจากประการทางโลกหรืออาคิเราะฮฺซึ่งตรงกับช่วงดังกล่าวพอดี นอกจากอัลลอฮฺจะให้สิ่งที่เขาขอแน่นอน และช่วงที่ว่านี้จะมีอยู่ทุกคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 757)
2- และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟»
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1145 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 758)
มีสุนัตให้มุสลิมนอนในสภาพที่สะอาดจากหะดัษและนอนแต่เนิ่นๆ หลังจากละหมาดอิชาอ์ เพื่อจะได้ตื่นละหมาดกลางคืนอย่างกระฉับกระเฉง
ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَـعْقِدُ الشَّيْطَانُ عَلَى قَافِيَةِ رَأْسِ أَحَدِكُمْ إذَا هُوَ نَامَ ثَلاثَ عُقَدٍ، يَضْرِبُ على مكان كُلِّ عُقْدَةٍ: عَلَيْكَ لَيْلٌ طَوِيلٌ فَارْقُدْ. فَإنِ اسْتَيْقَظَ فَذَكَرَ الله انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ تَوَضَّأَ انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَإنْ صَلَّى انْحَلَّتْ عُقْدَةٌ، فَأَصْبَـحَ نَشِيْطاً طَيِّبَ النَّفْسِ، وَإلَّا أَصْبَـحَ خَبِيْثَ النَّفْسِ كَسْلانَ»
ความว่า “ชัยฏอนจะสะกดจุดที่ต้นคอคนหนึ่งคนใดเมื่อนอนหลับสามจุดด้วยกัน แต่ละจุดจะมีการย้ำคำกล่าวว่า ท่านยังมีเวลาหลับอีกยาวนาน ฉะนั้นจงหลับต่อไป หากเขาตื่นในตอนนั้นแล้วระลึกถึงอัลลอฮฺจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไป และหากเขาไปอาบน้ำละหมาดอีกจุดหนึ่งก็จะถูกคลายไปและเมื่อเขาไปละหมาดอีกจุดสุดท้ายก็จะถูกคลายไป ในที่สุดเขาก็จะมีความกระฉับกระเฉง รู้สึกสบายกาย มิฉะนั้นแล้วเขาจะรู้สึกไม่ดี ขี้เกียจ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1142 สำนวนนี้เป็นท่าน และมุสลิม เลขที่: 776)
ความเข้าใจเกี่ยวกับกิยามุลลัยลฺ
มุสลิมควรที่จะขยันละหมาดกิยามุลลัยลฺให้มากเป็นพิเศษอย่าละเลยมัน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดกิยามุลลัยลฺจนกระทั่งส้นเท้าทั้งสองของท่านแตก แล้วท่านหญิงอาอิชะฮฺก็ถามท่านว่า ทำไมท่านต้องทำถึงขนาดนี้ ทั้งที่อัลลอฮฺได้อภัยโทษทุกอย่างแก่ท่านแล้วทั้งบาปที่ผ่านมาและบาปที่ยังมาไม่ถึง ท่านเลยตอบว่า
«أَفَلا أُحِبُّ أَنْ أَكُونَ عَبْداً شَكُوراً»
ความว่า “ฉันอยากเป็นบ่าวที่รู้จักชุกูรฺ(ขอบคุณ)ต่ออัลลอฮฺมากๆ ไม่ได้หรือ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 4837 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 2820)
จำนวนร็อกอะฮฺในการละมาดตะฮัจญุด
สิบเอ็ดร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ หรือสิบสามร็อกอะฮฺพร้อมวิตรฺ
ช่วงเวลาในการละมาดตะฮัจญุด
เวลาที่ประเสริฐที่สุดคือหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน ทั้งนี้ให้แบ่งกลางคืนออกเป็นสองส่วนแล้วลุกขึ้นละหมาดช่วงหนึ่งในสามช่วงแรกในส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนในช่วงท้าย
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมฺริน อิบนุ อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَحَبُّ الصَّلاةِ إلَى الله صَلاةُ دَاوُدَ عَلَيْـهِ السَّلام، وَأَحَبُّ الصِّيَامِ إلَى الله صِيَامُ دَاوُدَ، وَكَانَ يَنَامُ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَيَـقُومُ ثُلُثَهُ، وَيَنَامُ سُدُسَهُ، وَيَصُومُ يَوماً، وَيُفْطِرُ يَوماً»
ความว่า “การละหมาดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดคือการละหมาของดดาวุด อะลัยฮิสลาม และการถือศีลอดที่อัลลอฮฺโปรดมากที่สุดก็คือการถือศีลอดของดาวุดอาลัยฮิสลามเช่นกัน ซึ่งท่านจะนอนหนึ่งในสองส่วนแรกของกลางคืน แล้วลุกขึ้นมาละหมาดหนึ่งในสามช่วงแรกของส่วนที่สองของกลางคืน แล้วนอนอีกครั้งในหนึ่งในหกช่วงท้ายของของส่วนที่สองของกลางคืน และท่านจะถือศีลอดวันหนึ่ง แล้วหยุดวันหนึ่งตลอด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1131 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 1159)
ลักษณะการละหมาดตะฮัจญุด
1- สุนัตให้ตั้งเจตนาก่อนนอนว่าจะลุกขึ้นละหมาดกิยามุลลัยลฺ ซึ่งถ้าหากเขาหลับโดยไม่ตื่นเขาก็จะได้ผลบุญในสิ่งที่ได้เจตนาไว้ ถือว่าการหลับสนิทของเขาเป็นเศาะดะเกาะฮฺจากอัลลอฮฺที่ให้แก่เขา และหากเขาตื่นขึ้นมาให้ขจัดอาการง่วงออกไปโดยเอามือลูบหน้าแล้วอ่านสิบอายะฮฺจากส่วนท้ายของสูเราะฮฺอาละอิมรอน ตั้งแต่อายะฮฺที่ว่า
(ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ...)
แล้วให้เขาแปรงฟัน แล้วให้เขาอาบน้ำละหมาด หลังจากนั้นให้เขาเริ่มละหมาดตะฮัจญุด ด้วยสองร็อกอะฮฺสั้นๆ ทั้งนี้เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إذَا قَامَ أَحَدُكُمْ مِنَ اللَّيْلِ فَلْيَفْتَتِـح صَلاتَـهُ بِرَكْعَتَينِ خَفِيْفَتَيْنِ»
ความว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้ลุกขึ้นละหมาดในเวลากลางคืน ให้เขาเริ่มต้นเป็นปฐมละหมาดก่อนสองร็อกอะฮฺสั้นๆ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 768)
2- หลังจากนั้นให้ละหมาดทีละสองร็อกอะฮฺ โดยให้สลามในทุกๆ สองร็อกอะฮฺ ทั้งนี้เพราะมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
إن رَجُلاً قال: يا رَسولَ ا٬لله، كيف صلاة الليل؟ قال: «مَثْنَى مَثْنَى، فَإذَا خِفْتَ الصُّبْـحَ فَأَوْتِرْ بِوَاحِدَةٍ»
ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่าโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การละหมาดกลางคืนนั้นละหมาดอย่างไร? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตอบว่า ละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺ เมื่อกลัวว่าจะเข้าศุบหฺแล้วให้ละหมาดวิตรฺหนึ่งร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 749)
3- บางครั้งอาจละหมาดตะฮัจญุดสี่ร็อกอะฮฺรวดด้วยสลามเดียวก็ได้
4- และมีสุนัตให้ผู้ละหมาดรู้จำนวนร็อกอะฮฺที่ละหมาดประจำด้วย หากนอนไม่ตื่น ให้ชดด้วยจำนวนคู่ เนื่องจากมีรายงานว่า
سُئلت عائشة رضي الله عنها عن صَلاة رسولِ الله٬ صلى الله عليه وسلم بالليل فقالت: سَبْعٌ، وَتِسْعٌ، وَإحْدَى عَشْرَةَ سِوَى رَكْعَتَي الفَجْرِ
ความว่า “มีคนถามท่านหญิงอาอิชะฮฺถึงการละหมาดกลางคืนของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงตอบว่า เจ็ด เก้า สิบเอ็ดร็อกอะฮฺนอกเหนือจากสองร็อกอะฮฺสุนัตก่อนศุบฺหิ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1139)
5- และสุนัตให้ละหมาดตะฮัจญุดที่บ้าน ปลุกให้สมาชิกในลุกขึ้นมาละหมาดด้วยและให้นำละหมาดพวกเขาเป็นบางครั้ง และสุนัตสุญูดให้นานจนเท่ากับอ่านอัลกุรอานได้ห้าสิบอายะฮฺ ถ้าหากง่วงก็ให้งีบหลับสักพัก และมีสุนัตให้ยืนกิยามให้นานและอ่านให้ยาว โดยให้อ่านอัลกุรอานญุซอ์หนึ่งหรือมากกว่า บางครั้งให้อ่านด้วยเสียงดังและบางครั้งให้อ่านด้วยเสียงค่อย เมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่เกี่ยวกับความเมตตาก็ให้ขอดุอาอ์ให้ได้รับมัน เมื่ออ่านถึงอายะฮฺเกี่ยวกับการลงโทษให้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากมัน และเมื่ออ่านถึงอายะฮฺที่สรรเสริญความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺให้กล่าวตัสบีหฺ
6- หลังจากนั้นให้จบการละหมาดตะฮัจญุดด้วยละหมาดวิตรฺ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«اجْعَلُوا آخِرَ صَلاتِكُمْ بِاللَّيْلِ وِتْراً»
ความว่า “ท่านจงจบท้ายละหมาดกลางคืนของท่านด้วยวิตรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 998 และมุสลิม เลขที่: 751)
3- การละหมาดวิตรฺ
หุก่มการละหมาดวิตรฺ
การละหมาดวิตรฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำ ทั้งนี้ได้มีรายงานกล่าวว่า
«الوِتْرُ حَقٌّ عَلَى كُلِّ مُسْلِـمٍ»
ความว่า “การละหมาดวิตรฺเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1422 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของท่าน และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1712)
เวลาของการละหมาดวิตรฺ
เวลาละหมาดวิตรฺคือหลังจากละหมาดอิชาอ์จนถึงออกฟัจญฺริที่สอง(คือถึงเวลาละหมาดศุบหฺ) และช่วงท้ายของกลางคืนเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เชื่อใจตัวเองว่าจะตื่นละหมาดได้ ทั้งนี้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
مِنْ كُلِّ اللَّيْلِ قَدْ أَوْتَرَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم مِنْ أَوَّلِ اللَّيْلِ، وَأَوْسَطِهِ، وَآخِرِهِ، فَانْتَـهَى وِتْرُهُ إلَى السَّحَرِ
ความว่า “ในตลอดทั้งคืนเป็นช่วงเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยละหมาดวิตรฺทั้งสิ้นบางครั้งในช่วงแรก ในช่วงกลาง และในช่วงท้าย จนกระทั่งจบวิตรฺในเวลาสุหูรฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 996 และมุสลิม เลขที่: 745 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ลักษณะการละหมาดวิตรฺ
บางครั้งอาจมีร็อกอะฮฺเดียว บางครั้งสาม ห้า เจ็ด หรือเก้า หากต่อกันรวดเดียวด้วยสลามเดียว (บันทึกโดยมุสลิมหมายเลข 746 และอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1713)
จำนวนร็อกอะฮฺของละหมาดวิตรฺอย่างน้อยที่สุดและมากที่สุด
1- อย่างน้อยที่สุดของคือหนึ่งร็อกอะฮฺการละหมาดวิตรฺ และมากที่สุดคือไม่เกินสิบสามร็อกอะฮฺ ให้ละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺสองร็อกอะฮฺ แล้วจบท้ายด้วยหนึ่งร็อกอะฮฺ และวิตรฺที่สมบูรณ์แบบนั้นอย่างต่ำต้องไม่น้อยกว่าสามร็อกอะฮฺ โดยมีสลามสองครั้ง หรือมีสลามเดียวและตะชะฮฺฮุดครั้งเดียวตอนท้ายก็ได้ และสุนัตให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อะอฺลาในร็อกอะฮฺแรกหลังจากฟาติหะฮฺ ในร็อกอะฮฺที่สองอ่านสูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน และในร็อกอะฮฺที่สามอ่านสูเราะฮฺ อัล-อิคลาศ
2- ถ้าหากละหมาดห้าร็อกอะฮฺให้ตะชะฮฺฮุดครั้งเดียวในตอนท้ายแล้วให้สลาม และหากละหมาดเจ็ดร็อกอะฮฺก็ให้ทำเช่นเดียวกัน แต่หากจะตะชะฮฺฮุดในร็อกอะฮฺที่หก แล้วเริ่มร็อกอะฮฺที่เจ็ดอีกหนึ่งร็อกอะฮฺก็ทำได้
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أوْصَانِي خَلِيلِي بِثَلاثٍ، لا أدَعُهُنَّ حَتَّى أمُوتَ: صَوْمِ ثَلاثَةِ أيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ، وَصَلاةِ الضُّحَى وَنَوْمٍ عَلَى وِتْرٍ
ความว่า “ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉันได้สั่งเสียฉันสามอย่างด้วยกัน โดยไม่ให้ฉันละเลยสามอย่างนี้จนกว่าฉันจะตายไป คือการถือศีลอดสุนัตสามวันต่อเดือน การละหมาดฎุฮา และการละหมาดวิตรฺก่อนนอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 749)
หากละหมาดวิตรฺเก้าร็อกอะฮฺให้ตะชะฮฺฮุดสองครั้ง ครั้งแรกในร็อกอะฮฺที่แปดแต่อย่าเพิ่งให้สลาม ให้ลุกขึ้นมาทำร็อกอะฮฺที่เก้าแล้วตะชะฮฺฮุดแล้วจึงให้สลาม แต่ที่ดีคือให้จบท้ายด้วยหนึ่งร็อกอะฮฺที่เอกเทศเสมอ หลังจากนั้นให้กล่าวหลังจากสลามว่า
(سُبْحَانَ الْمَلِكِ الْقُدُّوْسِ)
สุบหานัล มะลิกิล กุดดูส
โดยให้กล่าวสามครั้ง และให้ยืดเสียงในครั้งที่สาม
เวลาในการละหมาดวิตรฺ
ให้มุสลิมละหมาดวิตรฺหลังจากละหมาดตะฮัจญุด แต่หากกลัวว่าไม่ตื่น ก็ให้ละหมาดก่อนนอน เพราะมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«مَنْ خَافَ أَنْ لا يَـقُومَ مِنْ آخِرِ اللَّيْلِ فَلْيُوتِرْ أَوَّلَـهُ، وَمَنْ طَمِعَ أَنْ يَـقُومَ آخِرَهُ فَلْيُوتِرْ آخِرَ اللَّيْلِ، فَإنَّ صَلاةَ آخِرِ اللَّيْلِ مَشْهُودَةٌ، وَذَلِكَ أَفْضَلُ»
ความว่า “ผู้ใดที่กลัวว่าตัวเองจะไม่ตื่นในช่วงท้ายของกลางคืน ให้เขาละหมาดวิตรฺในช่วงแรกๆและผู้ใดที่มั่นใจว่าจะตื่นในช่วงท้ายให้ละหมาดวิตรฺในช่วงท้าย เพราะการละหมาดวิตรฺในช่วงท้ายนั้นมลาอิกะฮฺจะดูเป็นสักขีพยาน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 755)
ผู้ใดที่ได้ละหมาดวิตรฺในช่วงแรกของกลางคืนแล้วตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายอีก ให้เขาละหมาดคู่โดยไม่ต้องวิตรฺ ทั้งนี้มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«لا وِتْرَانِ فِي لَيْلَةٍ»
ความว่า “ไม่มีการละหมาดวิตรฺสองครั้งในคืนเดียว” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1439 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 470)
หุก่มการอ่านกุนูตในการละหมาดวิตรฺ
การกุนูตในวิตรฺนั้นให้ทำได้เป็นบางครั้ง ผู้ใดชอบที่จะทำก็ให้เขาทำ ส่วนผู้ใดที่ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ และที่ดีที่สุดคือไม่ทำมากกว่าทำ เพราะไม่มีรายงานที่ยืนยันได้จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านอ่านกุนูตในวิตรฺ
ลักษณะการดุอาอ์ในกุนูตวิตรฺ
ในกรณีที่ละหมาดวิตรฺสามร็อกอะฮฺ ให้ยกมือดุอาอ์หลังจากยืนในร็อกอะฮฺที่สามหรือก่อนรุกูอฺหลังจากอ่านสูเราะฮฺจบ โดยให้สรรเสริญ(ตะหฺมีด)อัลลอฮฺ(คือกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ) และกล่าวชมเชยอัลลอฮฺ แล้วกล่าวเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ต่อจากนั้นให้ขอดุอาอ์ตามที่ใจปรารถนา จากบรรดาดุอาอ์ที่มีรายงานมาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เช่น
«اللَّهُـمَّ اهْدِنِي فِيْـمَنْ هَدَيْتَ، وَعَافِنِي فِيْـمَنْ عَافَيْتَ، وَتَوَلَّنِي فِيْـمَنْ تَوَلَّيْتَ، وَبَارِكْ لِي فِيْـمَا أَعْطَيْتَ، وَقِنِي شَرَّ مَا قَضَيْتَ، إنَّكَ تَقْضِي وَلا يُـقْضَى عَلَيْكَ، وَإنَّهُ لا يَذِلُّ مَنْ وَالَيْتَ، تَـبَارَكْتَ رَبَّنَا وَتَعَالَيْتَ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1425 และอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 464)
และบางครั้งให้เริ่มกุนูตด้วยดุอาอ์ที่ได้รับรายงานจากท่านอุมัรฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
«اللَّهُـمَّ إيَّاكَ نَعْبُدُ، وَلَكَ نُصَلِّي وَنَسْجُدُ، وَإلَيْكَ نَسْعَى وَنَحْفِدُ، نَرْجُو رَحْـمَتَـكَ وَنَخْشَى عَذَابَكَ، إِنَّ عَذَابَكَ بِالكَافِرِينَ مُلْـحِقٌ، اللَّهُـمَّ إنَّا نَسْتَعِينُكَ وَنَسْتَغْفِرُكَ، وَنُثْنِي عَلَيْكَ الخَيْرَ وَلا نَكْفُرُكَ، وَنُؤْمِنُ بِكَ وَنَخْضَعُ لَكَ، وَنَخْلَعُ مَنْ يَكْفُرُكَ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอัล-บัยฮะกีย์ หมายเลข (3144 ดู อิรวาอ์ อัล-เฆาะลีล หมายเลข 428)
และผู้ละหมาดสามารถที่จะเพิ่มดุอาอ์อะไรก็ได้ที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ไม่ควรให้ยาวจนเกินไป เช่น
«اللَّهُـمَّ أَصْلِـحْ لِي دِيْنِيَ الَّذِي هُوَ عِصْمَةُ أَمْرِي، وَأَصْلِـحْ لِي دُنْيَايَ الَّتِي فِيهَا مَعَاشِي، وَأَصْلِـحْ لِي آخِرَتِيَ الَّتِي فِيهَا مَعَادِي، وَاجْعَلِ الحَيَاةَ زِيَادَةً لِي فِي كُلِّ خَيْرٍ، وَاجْعَلِ المَوْتَ رَاحَةً لِي مِنْ كُلِّ شَرٍّ»
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2720)
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ العَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَالهَرَمِ وَعَذَابِ القَبْرِ، اللَّهُـمَّ آتِ نَفْسِي تَقْوَاهَا، وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا، أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَولاهَا، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عِلْـمٍ لا يَنْفَعُ، وَمِنْ قَلْبٍ لا يَـخْشَعُ، وَمِنْ نَفْسٍ لا تَشْبَـعُ، وَمِنْ دَعْوَةٍ لا يُسْتَـجَابُ لَـهَا»
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2722)
หลังจากนั้นกล่าวในตอนท้ายว่า
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ، وَبِمُعَافَاتِكَ مِنْ عُقُوبَتِكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْكَ لا أُحْصِي ثَنَاءً عَلَيْكَ، أَنْتَ كَمَا أَثْنَيْتَ عَلَى نَفْسِكَ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1427 ซึ่งสำนวนนี้เป็นสำนวนของเขาและบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3566)
หลังจากนั้นให้จบกุนูตด้วยการเศาะละวาตต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และไม่ต้องเอามือลูบหน้าหลังจบดุอาอ์ทั้งในกุนูตวิตรฺและอื่นๆ
มักรูฮฺที่จะอ่านกุนูตในละหมาดอื่นนอกเหนือจากวิตรฺ เว้นแต่จะมีเหตุร้ายหรืออุบัติภัยต่อชาวมุสลิมที่ใดที่หนึ่งก็อนุญาตให้อิมามกุนูตในละหมาดห้าเวลาหลังจากร็อกอะฮฺสุดท้าย หรือบางครั้งก็อาจจะก่อนรุกูอฺก็ได้
กุนูตนะวาซิลหรือนาซิละฮฺ คือการดุอาอ์เพื่อให้ช่วยชาวมุสลิมที่อ่อนแอซึ่งถูกรังแกหรือดุอาอ์เพื่อให้ลงโทษกาฟิรฺที่อยุติธรรมหรือทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน
ละหมาดที่ประเสริฐที่สุดสำหรับคนคนหนึ่งนั้นคือที่บ้านของเขา นอกจากละหมาดห้าเวลาและการละหมาดที่มีบัญญัติให้ละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ เช่น ละหมาดกุสูฟ ละหมาดตะรอวีหฺ เป็นต้น เหล่านี้ให้ละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด
หุก่มการละหมาดวิตฺรในขณะเดินทาง
ผู้ใดที่อยู่ในระหว่างเดินทางไม่ว่าจะเป็นโดยรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน หรือเรือนั้นมีสุนนะฮฺให้เขาละหมาดวิตรฺบนพาหนะที่ขับขี่อยู่ โดยให้หันหน้าไปทางกิบละฮฺตอนตักบีเราะตุลอิหฺรอมหากทำได้ หากทำไม่ได้ให้เขาละหมาดหันหน้าไปทางไหนก็ได้ตามแต่พาหนะหันไป โดยให้ละหมาดในท่ายืน หากไม่ได้ก็ให้ละหมาดในท่านั่งแล้วให้เคลื่อนไหวด้วยศีรษะของเขา
ในบางครั้ง ผู้ที่ละหมาดวิตรฺแล้วก็อนุญาตให้เขาละหมาดร็อกอะฮฺสั้นๆ หลังจากวิตรฺได้อีก โดยนั่งละหมาดเมื่อถึงที่รุกูอฺให้ยืนขึ้นแล้วรุกูอฺ
ลักษณะการชดละหมาดวิตรฺ
ผู้ใดนอนหลับไม่ตื่นละหมาดวิตรฺ หรือลืมละหมาดวิตรฺ ให้เขาละหมาดชดเมื่อตื่นขึ้นมา หรือนึกขึ้นได้ ในระหว่างอะซานฟัจญ์รฺกับอิกอมะฮฺด้วยลักษณะปรกติของมัน และสามารถชดตอนกลางวันในลักษณะจำนวนร็อกอะฮฺเป็นเลขคู่ไม่ใช่คี่ ซึ่งหากปรกติเขาละหมาดสิบเอ็ดร็อกอะฮฺก็ให้เขาชดสิบสองร็อกอะฮฺ ครั้งละสองเรื่อยไปจนครบ
มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
أنَّ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم كَانَ إذَا فَاتَتْـهُ الصَّلاةُ مِنَ اللَّيْلِ مِنْ وَجَعٍ أَوْ غَيْرِهِ، صَلَّى مِنَ النَّهَارِ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً
ความว่า “แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเมื่อท่านไม่สามารถละหมาดวิตรฺในตอนกลางคืนเพราะเจ็บป่วยหรืออื่นๆ ท่านจะละหมาดชดในตอนกลางวันสิบสองร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 746)
4- การละหมาดตะรอวีหฺ
หุก่มการละหมาดตะรอวีหฺ
การละหมาดตะรอวีหฺเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ซึ่งมีตัวบทว่าเป็นการกระทำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และจัดอยู่ในจำพวกละหมาดสุนัตที่บัญญัติให้ละหมาดเป็นญะมาอะฮฺในเดือนเราะมะฎอน
สาเหตุที่เรียกชื่อการละหมาดว่าตะรอวีหฺเพราะผู้ละหมาดต่างนั่งพักกันหลังจบสี่ร็อกอะฮฺ เนื่องจากมีการอ่านยาว และละหมาดนาน
เวลาของการละหมาดตะรอวีหฺ
ให้ละหมาดตะรอวีหฺในเดือนเราะมะฎอนหลังจากละหมาดอิชาอ์จนกระทั่งออกฟัจญ์รฺ เป็นสิ่งที่สุนัตสำหรับทั้งชายและหญิง ซึ่งท่านนบีได้เน้นให้กระทำเป็นพิเศษ มีรายงานจากท่านว่า
«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ»
ความว่า “ผู้ใดละหมาดในเดือนเราะมะฎอน ด้วยใจที่ศรัทธาและหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดของเขาที่ผ่านมา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1137 สำนวนนี้เป็นของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม เลขที่: 749)
ลักษณะของการละหมาดตะรอวีหฺ
หนึ่ง ตามสุนนะฮฺแล้ว ในการละหมาดตะรอวีหฺให้อิมามนำละหมาดบรรดามุสลิมสิบเอ็ดร็อกอะฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนร็อกอะฮฺที่ดีที่สุด หรือบางครั้งอาจนำละหมาดถึงสิบสามร็อกอะฮฺก็ได้ โดยละหมาดครั้งละสองร็อกอะฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และบางครั้งอาจละหมาดครั้งละสี่ร็อกอะฮฺก็ได้ ดังนั้นบางครั้งอาจละหมาดด้วยวิธีหนึ่งบางครั้งอีกวิธีหนึ่งทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูสุนนะฮฺ
1- มีรายงานว่า
سئلت عائشة رضي الله عنها كيف كانت صلاة رسول الله صلى الله عليه وسلم في رمضان؟ فقالت: مَا كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يَزِيْدُ فِي رَمَضَانَ وَلا فِي غَيْرِهِ عَلَى إحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُصَلِّي أَرْبَـعاً فَلا تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِـهِنَّ وَطُوْلِـهِنَّ، ثُمّ يُصَلِّي أَرْبَـعاً فَلا تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِـهِنَّ وَطُوْلِـهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي ثَلاثاً...
ความว่า “ครั้งหนึ่งมีคนถามท่านหญิงอาอิชะฮฺว่าลักษณะการละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในเดือนเราะมะฎอนเป็นอย่างไร? ท่านตอบว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยละหมาดเกินสิบเอ็ดร็อกอะฮฺเลยไม่ว่าในเดือนเราะมะฎอนหรือเดือนอื่นๆ ท่านละหมาดสี่ร็อกอะฮฺซึ่งไม่ต้องบอกถึงความสละสลวยและความยาวนานของมัน แล้วท่านละหมาดอีกสี่ร็อกอะฮฺซึ่งไม่ต้องบอกถึงความสละสลวยและความยาวนานของมันเช่นกัน แล้วท่านก็ละหมาดอีกสามร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1147)
2- มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ ثَلاثَ عَشْرَةَ رَكْعةً
ความว่า “ปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดในตอนกลางคืนสิบสามร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1138 และมุสลิม เลขที่: 764 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
3- มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي فِيْـمَا بَيْنَ أَنْ يَفْرُغَ مِنْ صَلاةِ العِشَاءِ إلَى الفَجْرِ إحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُسَلِّمُ بَيْنَ كُلِّ رَكْعَتَيْنِ، وَيُوْتِرُ بِوَاحِدَةٍ
ความว่า “ปรากฎว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดหลังจากเสร็จละหมาดอิชาอ์จนกระทั่งออกฟัจญฺริสิบเอ็ดร็อกอะฮฺ ท่านจะให้สลามในทุกๆสองร็อกอะฮฺแล้วละหมาดวิตฺริหนึงร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 736)
สอง ตามสุนนะฮฺในการละหมาดตะรอวีหฺให้อิมามละหมาดสิบเอ็ดร็อกอะฮฺหรือสิบสามร็อกอะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นช่วงต้นหรือช่วงท้ายเราะมะฎอน แต่มีให้เน้นเฉพาะในสิบวันสุดท้ายให้ละหมาดให้นาน ยืนนาน รุกูอฺและสุญูดนาน ทั้งนี้เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นละหมาดตลอดทั้งคืน ดังนั้น หากจะละหมาดน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กล่าวมาก็ได้
เมื่อใดที่มะอ์มูมจะได้ผลบุญเหมือนละหมาดตลอดทั้งคืน
ที่ดีที่สุดสำหรับมะอ์มูมนั้นคือการละหมาดพร้อมอิมามจนจบไม่ว่าอิมามจะละหมาดสิบเอ็ด สิบสามหรือยี่สิบสาม หรือน้อยกว่าหรือมากกว่านั้น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ผลบุญเหมือนละหมาดตลอดทั้งคืน มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«إنَّهُ مَنْ قَامَ مَعَ الإمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَـهُ قِيَامُ لَيْلَةٍ»
ความว่า “แท้จริงแล้วผู้ที่ละหมาดพร้อมอิมามจนจบ เขาจะได้ได้ผลบุญเหมือนละหมาดทั้งคืน” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1375 และอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 806 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอัน-นะสาอีย์)
หากมีผู้เป็นอิมามสองคน ผู้ที่จะได้ผลบุญเหมือนละหมาดตลอดทั้งคืนก็คือผู้ที่ละหมาดพร้อมอิมามทั้งสองคน เพราะคนที่สองก็คือตัวแทนของคนแรกในการเพิ่มการละหมาดให้สมบูรณ์
ผู้ใดที่ควรเป็นอิมามนำละหมาดตะรอวีหฺ
ผู้ที่สมควรจะเป็นอิมามนำละหมาดในเดือนเราะมะฎอนคือผู้ที่อ่านอัลกุรอานได้ดี รักษาตัจญ์วีดดีและท่องจำอัลกุรอาน หากจำไม่ได้อนุญาตให้อิมามอ่านจากมุศหัฟ(อัลกุรอานเป็นเล่ม)ได้ และที่ดีที่สุดคือให้บรรดามะอ์มูมได้ฟังอัลกุรอานทั้งเล่มในเดือนเราะมะฎอน ถ้าไม่ได้หมดก็ให้ได้ส่วนหนึ่งก็ยังดี
หุก่มการดุอาอ์เมื่อเคาะตัมอัลกุรอาน
การดุอาอ์หลังจากเคาะตัมอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอนและเดือนอื่นๆ หากนอกการละหมาดใครใคร่ทำก็ทำได้ แต่การดุอาอ์เคาะตัมอัลกุรอานในละหมาดนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีบัญญัติไว้ เพราะไม่ปรากฎหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และจากบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านแม้แต่คนเดียว
ผู้ใดที่ละหมาดตะฮัจญุดซึ่งปรกติเขาจะละหมาดช่วงท้ายของกลางคืน แล้วเขาละหมาดวิตรฺหลังจากละหมาดตะฮัจญุด หากเขาละหมาดพร้อมอิมามหากอิมามละหมาดวิตรฺ ให้เขาละหมาดวิตรฺพร้อมอิมาม และเมื่อเขาลุกขึ้นมาช่วงท้ายของกลางคืนอีกครั้งก็ให้เขาละหมาดคู่
หากสตรีคนใดปรารถนาที่จะออกไปละหมาดที่มัสญิด ไม่ว่าจะเป็นละหมาดวาญิบหรือสุนัตให้เธอออกไปได้โดยไม่แต่งตัวสวยและไม่ใส่เครื่องหอม
5- การละหมาดอีดทั้งสอง
จำนวนอีดในอิสลาม
อีดในอิสลามมีสามอีดด้วยกัน
1- อีดุลฟิฏรี คือวันที่หนึ่งเดือนเชาวาลของทุกปี
2- อีดุลอัฎหา คือวันที่สิบเดือนซุลหิจญะฮฺของทุกปี
3- อีดุลอุสบูอฺ (อีดประจำสัปดาห์) คือวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว
หิกมะฮฺที่ได้บัญญัติการละหมาดอีดทั้งสอง
การละหมาดอีดุลฟิฏรีเกิดขึ้นหลังจากถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้ครบสมบูรณ์แล้ว ส่วนการละหมาดอีดุลอัฎหานั้นเกิดขึ้นหลังจากภารกิจหัจญ์และปิดท้ายสิบวันแห่งซุลหิจญะฮฺ ดังนั้นการละหมาดอีดทั้งสองจึงเป็นความประเสริฐของอิสลามที่เปิดโอกาสให้ชาวมุสลิมได้มีโอกาสฉลองหลังจากที่ได้ปฏิบัติอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ทั้งสอง เพื่อเป็นการชุกูรฺต่ออัลลอฮฺ
มีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
قَدِمَ رَسُولُ الله٬ ﷺ المَـدِينَةَ وَلَـهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا فَقَالَ: «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا: كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْـجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ الله٬ ﷺ: «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْراً مِنْهُمَا يَوْمَ الْأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ»
ความว่า “ตอนที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีวันสำคัญอยู่สองวัน ที่พวกเขามีการละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงถามว่า สองวันนี้เป็นวันอะไรกัน? พวกเขาตอบว่า เป็นสองวันที่พวกเราเล่นละเริงกันมาตั้งแต่สมัยญาฮิลิยะฮฺ ท่านเราะสูลุลลอฮฺก็เลยกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนสองวันนี้ด้วยสองวันที่ดีกว่านั่นก็คือวันอีดุลอัฎหาและอีดุลฟิฏรี” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1134 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอบู ดาวูด และอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1556)
หุก่มการละหมาดอีดทั้งสอง
การละหมาดอีดทั้งสองเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺสำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน
เวลาการละหมาดอีดทั้งสอง
หลังจากตะวันขึ้นเท่ากับด้ามหอกจนกระทั่งตะวันคล้อย ซึ่งหากผู้คนไม่รู้ว่าเป็นวันอีดจนถึงหลังตะวันคล้อยแล้ว ให้ละหมาดในวันรุ่งขึ้นในเวลาของมัน และไม่อนุญาตให้เชือดอุฎฺหิยะฮฺนอกจากหลังจากละหมาดอีดุลอัฎหาแล้ว
ลักษณะการออกไปละหมาดอีดทั้งสอง
1- สุนัตให้ผู้ที่จะออกไปละหมาดอีดทำความสะอาดร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ดี เพื่อแสดงถีงความรื่นเริงดีใจในวันดังกล่าว และไม่อนุญาตให้สตรีแต่งกายสวยงามหรือใส่เครื่องหอม และให้พวกผู้หญิงออกไปละหมาดพร้อมผู้คนทั่วไปและให้ผู้ที่มีประจำเดือนเข้าร่วมฟังคุฏบะฮฺด้วยโดยให้พวกเธอแยกตัวต่างหากจากมุศ็อลลา
2- สุนัตให้บรรดามะอ์มูมออกไปยังที่ละหมาดแต่เนิ่นๆ หลังจากศุบหฺด้วยการเดินเท้าไปถ้าทำได้ ส่วนอิมามนั้นให้ออกไปตอนที่จะเริ่มละหมาดเลย และสุนัตให้ออกไปทางหนึ่งและกลับอีกทางหนึ่งที่ไม่ใช่ทางมา เพื่อแสดงออกถึงความพิเศษของวันนี้และตามแบบอย่างสุนนะฮฺ
3- สุนัตให้ผู้ที่ออกไปละหมาดอีดุลฟิฏรีรับประทานอินทผลัมเป็นจำนวนคี่ก่อนออกไปละหมาด ส่วนผู้ที่จะออกไปอีดุลอัฎหาให้อดจากการรับประทานอาหารจนกระทั่งได้รับประทานเนื้อกุรบานของเขาเอง ถ้าเขาทำกุรบาน
สถานที่ละหมาดอีดทั้งสอง
1- สุนัตให้ออกไปละหมาดอีด ณ ที่โล่งใกล้ๆ เมือง ซึ่งเมื่อผู้ละหมาดไปถึงมุศ็อลลาแล้วให้ละหมาดตะหิยะตุลมัสญิดสองร็อกอะฮฺแล้วนั่งซิกิรฺต่ออัลลอฮฺ ไม่ละหมาดอีดทั้งสองในมัสญิดนอกจากมีเหตุจำเป็น เช่น ฝนตก หิมะ หรืออื่นๆ ยกเว้นที่มักกะฮฺซึ่งต้องละหมาดในมัสญิดอัลหะรอม
2- อนุญาตให้ผู้ที่เข้าไปอยู่ในมุศ็อลลาแล้วละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดอีดทั้งสอง ตราบใดที่เวลานั้นไม่ใช่เวลาที่ห้ามละหมาด แต่หากเป็นเวลาที่ต้องห้ามแล้ว ไม่มีบัญญัติให้ละหมาดใดๆ นอกจากละหมาดตะหิยะตุลมัสญิดเท่านั้น และให้ใช้เวลาไปกับการทำอิบาดะฮฺ คือการตักบีรฺจนกระทั่งอิมามเข้ามา
ลักษณะการละหมาดอีดทั้งสอง
เมื่อถึงเวลาละหมาด ให้อิมามขึ้นไปนำบรรดามะอ์มูมละหมาดสองร็อกอะฮฺ โดยไม่มีการอะซานและไม่มีการอิกอมะฮฺ ให้กล่าวตักบีรฺในร็อกอะฮฺแรกเจ็ดครั้งหรือเก้าครั้งพร้อมตักบีเราะตุลอิหฺรอมและในร็อกอะฮฺที่สองให้ตักบีรฺห้าครั้งหลังลุกขั้นมายืน
หลังจากนั้นสุนัตให้อ่านเสียงดังโดยเมื่ออ่านฟาติหะฮฺแล้วให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อะอฺลา และในร็อกอะฮฺที่สองหลังจากอัล-ฟาติหะฮฺให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-ฆอชิยะฮฺ หรือในร็อกอะฮฺแรกสูเราะฮฺกอฟ (ق) และในร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-เกาะมัรฺ (اقتربت الساعة) หรือจะสลับกันบางครั้งอ่านแบบที่หนึ่ง บางครั้งอ่านแบบที่สอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺทุกรูปแบบที่บัญญัติไว้
หลังจากให้สลามแล้ว ให้กล่าวคุฏบะฮฺหนึ่งคุฏบะฮฺโดยหันหน้าไปทางบรรดามมะอ์มูม ในคุฏฺบะฮฺให้กล่าวตะหฺมีดฺ(อัลหัมดุลิลลาฮฺ) ชุกูรฺต่ออัลลอฮฺ และให้ระลึกถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัตตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และกล่าวส่งเสริมให้ทำกุรบานเป็นการเฉพาะในอีดอัฎหาและอธิบายหุก่มต่างๆ ของการกุรบาน
เมื่อวันอีดและวันญุมุอะฮฺเกิดตรงเป็นวันเดียวกัน ถือว่าผู้ที่ละหมาดอีดแล้วจะไม่ไปละหมาดญุมุอะฮฺก็ได้โดยให้ละมาดซุฮฺริแทน แต่สำหรับผู้เป็นอิมามและผู้ที่ไม่ได้ละหมาดอีดยังคงวาญิบต้องไปละหมาดญุมุอะฮฺอยู่
เมื่ออิมามลืมตักบีรฺหนึ่งตักบีรฺใดจากบรรดาตักบีรฺซะวาอิด โดยเริ่มอ่านอัล-ฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺแล้ว ถือว่าตกไปไม่เป็นไร(คือไม่ต้องกล่าวตักบีรฺซะวาอิดชดใช้) เพราะมันเป็นสุนัตที่เวลาของมันได้ผ่านพ้นไปแล้ว และให้ผู้ละหมาดยกมือในขณะตักบีรฺทั่วไป ดังที่มีรายงานในการยกมือทั้งในละหมาดฟัรฎูและสุนัต แต่ไม่ต้องยกมือในขณะตักบีรฺซะวาอิดในสองร็อกอะฮฺของละหมาดอีดทั้งสองหรือการละหมาดอิสติสกออ์
มีสุนัตสำหรับอิมามให้มีการสอนสั่งผู้หญิงโดยเฉพาะในคุฏบะฮฺของเขา กล่าวเตือนถึงสิ่งพวกเธอจำเป็นต้องทำและส่งเสริมให้พวกเธอเศาะดะเกาะฮฺให้มากๆ
ผู้ใดที่ทันละหมาดอีดพร้อมอิมามก่อนที่อิมามจะให้สลาม หลังจากอิมามให้สลามแล้วให้เขาลุกขึ้นละหมาดต่อตามลักษณะของมันจนจบ และผู้ใดที่ไม่ทันละหมาดเลยก็ไม่จำเป็นต้องชด
เมื่ออิมามละหมาดอีดเสร็จแล้ว ผู้ใดที่ปรารถนาจะกลับบ้านเลยก็กลับได้ และผู้ใดที่ปรารถนาจะนั่งฟังคฏฺบะฮฺ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกว่า) ก็ให้เขานั่งฟัง
หุก่มการตักบีรฺในวันอีด
สุนัตสำหรับมุสลิมทุกคนให้มีการตักบีรฺในวันอีดด้วยเสียงอันดัง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ตลาด ถนนหนทาง มัสญิด เป็นต้น แต่ผู้หญิงจะออกเสียงดังไม่ได้หากชายอื่นที่ไม่ใช่มะหฺร็อมอยู่ด้วย
ช่วงเวลาในการตักบีรฺ
1- ช่วงเวลาในการตักบีรฺของวันอีดุลฟิฏรฺเริ่มตั้งแต่คืนวันอีดจนกระทั่งละหมาดอีด
2- ช่วงเวลาในการตักบีรฺของวันอีดุลอัฎหาเริ่มตั้งแต่เริ่มเข้าวันที่สิบของเดือนซุลหิจญะฮฺจนกระทั่งตะวันตกดินวันที่สิบสามของเดือนเดียวกัน
สำนวนการตักบีรฺ
1- การกล่าวตักบีรฺแบบคู่ คือ
« الله أكبر، الله أكبر، لا إله إلا الله، والله أكبر، الله أكبر، ولله الحمد »
2- การกล่าวตักบีรฺแบบคี่ คือ
«الله أكبر، الله أكبر، الله أكبر، لا إله إلا الله، والله أكبر، الله أكبر، الله أكبر، ولله الحمد »
3- การกล่าวตักบีรฺแบบคี่ครั้งแรกและแบบคู่ครั้งที่สอง
«الله أكبر، الله أكبر، الله أكبر، لا إله إلا الله، والله أكبر، الله أكبر، ولله الحمد »
บางครั้งใช้สำนวนนี้บ้างและบางครั้งใช้สำนวนนั้นบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำได้
หุก่มอีดที่อุตริขึ้นมา
งานฉลองวันเกิดส่วนบุคคล และงานอื่นๆ เช่นวันปีใหม่ฮิจญ์เราะฮฺศักราชหรือคริสต์ศักราช คืนอิสรออ์ คืนนิศฟุชะอฺบาน วันเกิดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วันแม่ และอื่นๆ ที่แพร่หลายท่ามกลางชาวมุสลิมบางส่วน ทุกสิ่งที่กล่าวมาถือเป็นบิดอะฮฺที่ถูกปฏิเสธ ผู้กระทำมัน ยอมรับมัน เรียกไปสู่มัน หรือลงทุนลงแรงเพื่อมัน ถือว่าเป็นคนบาป ต้องรับบาปที่เกิดจากมัน และต้องรับบาปของผู้ที่ทำมัน
6- การละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
คุสูฟ (จันทรุปราคา) คือ การที่แสงจันทร์หายไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางคืน
กุสูฟ (สุริยุปราคา) คือ การที่แสงตะวันถูกบังไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางวัน
หุก่มการละหมาดคุสูฟและกุสูฟ
การละหมาดคุสูฟและกุสูฟเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ สำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน ไม่ว่าจะเป็นในยามเดินทางหรือไม่ก็ตาม
การรู้เวลากุสูฟและคุสูฟ
คุสูฟและกุสูฟนั้นมีกำหนดเวลาที่ชัดเจนเหมือนกับการขึ้นของดวงตะวันและดวงจันทร์ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดยปรกติแล้วอัลลอฮฺจะกำหนดให้กุสูฟนั้นปรากฏในท้ายของเดือน และกำหนดให้คุสูฟนั้นปรากฎในระหว่างที่มันเต็มเดือนอยู่เรียกว่าวันบีฎ
สาเหตุของการกุสูฟและคุสูฟ
เมื่อเกิดกุสูฟหรือคุสูฟให้มุสลิมรีบไปละหมาดที่มัสญิด หรือที่บ้านก็ได้ แต่ที่มัสญิดนั้นดีกว่า ด้วยการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีสาเหตุ ฟ้าแลบก็มีสาเหตุ ภูเขาไฟระเบิดก็มีสาเหตุ การกุสูฟและคุสูฟก็ย่อมมีสาเหตุที่อัลลอฮฺกำหนดให้เช่นกัน ซึ่งเคล็ดลับก็คือการเตือนบ่าวของอัลลอฮฺให้มีความกลัวในโทษของพระองค์และมอบตัวเองและกลับคืนสู่อัลลอฮฺ
ช่วงเวลาของการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
เริ่มละหมาดได้เมื่อเริ่มมีปรากฏการณ์กุสูฟและคุสูฟจนกระทั่งกลับสู่สภาพปรกติ
ลักษณะการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
การละหมาดกุสูฟและคุสูฟไม่มีการอะซานและอิกอมะฮฺ แต่ว่ามีการเรียกให้มาละหมาดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน โดยใช้ประโยคว่า (الصلاة جامعة) จะกล่าวครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้
หลังจากนั้นให้อิมามตักบีรฺแล้วอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺที่ยาวด้วยเสียงดัง แล้วจึงรุกูอฺด้วยการรุกูอฺที่นาน แล้วเงยขึ้นจากรุกูอฺพร้อมกับกล่าว
(سمع الله لمن حمده، ربنا ولك الحمد)
โดยไม่ต้องลงไปสุญูดก่อน แต่ให้เริ่มอ่านฟาติหะฮฺใหม่อีกครั้ง ตามด้วยสูเราะฮฺที่สั้นกว่าครั้งแรก แล้วจึงรุกูอฺด้วยการรุกูอฺที่สั้นกว่าครั้งแรก แล้วเงยขึ้นจากรุกูอฺ แล้วจึงสุญูดด้วยการสุญูดที่นานสองสุญูด โดยสุญูดครั้งแรกให้นานกว่าครั้งที่สองและให้นั่งระหว่างสองสุญูดด้วย หลังจากนั้นให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สองโดยทำเหมือนกับร็อกอะฮฺแรกทุกประการ เพียงแต่ให้สั้นกว่านิดหน่อย แล้วจึงกล่าวตะชะฮฺฮุด แล้วจึงให้สลาม
ลักษณะคุฏบะฮฺในการละหมาดกุสูฟ
สุนัตให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺหลังจากละหมาด โดยมีเนื้อหาการสอนสั่งให้ผู้คนทำดี และกล่าวตักเตือนให้นึกถึงปรากฎการณ์อันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นนี้เพื่อโน้มน้าวจิตใจ แล้วใช้ให้ผู้คนดุอาและอิสติฆฺฟารฺให้มากๆ
มีรายจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า
خَسَفَتِ الشَّمْسُ فِي عَهْدِ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم ، فَقَامَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي، فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ قَامَ فَأطَالَ القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَقَامَ، فَأطَالَ القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ انْصَرَفَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم وَقَدْ تَـجَلَّتِ الشَّمْسُ، فَخَطَبَ النَّاسَ فَحَـمِدَ الله وَأثْنَى عَلَيْـهِ، ثُمَّ قال: «إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ مِنْ آيَاتِ الله، وَإنَّهُـمَا لا يَنْخَسِفَانِ لِـمَوْتِ أحَدٍ وَلا لِـحَيَاتِـهِ، فَإذَا رَأيْتُـمُوهُـمَا فَكَبِّرُوا، وَادْعُوا الله وَصَلُّوا وَتَصَدَّقُوا، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! إنْ مِنْ أحَدٍ أغْيَرَ مِنَ الله أنْ يَزْنِيَ عَبْدُهُ أوْ تَزْنِيَ أمَتُـهُ، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! وَالله! لَوْ تَعْلَـمُونَ مَا أعْلَـمُ لَبَكَيْتُـمْ كَثِيرًا وَلَضَحِكْتُـمْ قَلِيلا، ألا هَلْ بَلَّغْتُ؟»
ความว่า “ได้เกิด(กุสูฟ)สุริยุปราคาขึ้นในสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงได้ออกไปละหมาดโดยยืนละหมาดนานมาก แล้วท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านก็ลุกขึ้นยืนละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในร็อกอะฮฺแรก หลังจากนั้นท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านจึงเสร็จละหมาด เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่นออก หลังจากนั้นท่านก็ได้ยืนขึ้นกล่าวตัหฺมีดและชุกูรฺอัลลอฮฺ แล้วกล่าวแก่ผู้คนว่า แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายหรือการเกิดของผู้ใด เมื่อพวกท่านเห็นมันก็จงกล่าวตักบีรฺ แล้วดุอาต่ออัลลอฮฺ และจงละหมาดและเศาะดะเกาะฮฺ โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ยไม่มีผู้ใดที่จะห่วงเกินไปกว่าอัลลอฮฺในการที่บ่าวชายของพระองค์จะซินาหรือบ่าวหญิงของพระองค์จะซินา โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ย หากพวกท่านรู้ในสิ่งที่ฉันรู้แน่นอนพวกท่านย่อมร้องไห้มากและย่อมหัวเราะน้อย โอ้ ท่านทั้งหลาย ฉันได้บอกจนประจักษ์แล้วหรือไม่ ?” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1044 และมุสลิม เลขที่: 901 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
การชดละหมาดกุสูฟและคุสูฟ
ถือว่าได้หนึ่งร็อกอะฮฺละหมาดกุสูฟสำหรับผู้ที่ทันในรุกูอฺแรกของทุกร็อกอะฮฺ และไม่จำเป็นต้องชดละหมาดกุสูฟ หากไม่ทันละหมาดเพราะปรากฏการณ์นั้นๆสิ้นสุดแล้ว
เมื่อการกุสูฟและคุสูฟสิ้นสุดลงในขณะที่ผู้คนกำลังละหมาดอยู่ ให้รีบทำให้เสร็จโดยละหมาดสั้นๆ และเมื่อละหมาดเสร็จแล้วแต่การกุสูฟและคุสูฟยังไม่สิ้นสุด ให้กล่าวดุอาอ์ ตักบีรฺและเศาะดะเกาะฮฺให้มากๆ จนกว่าจะสิ้นสุดการกุสูฟและคุสูฟ
ความเข้าใจเกี่ยวกับกุสูฟ
เป็นสิ่งที่ประจักษ์ว่าการกุสูฟนั้นทำให้จิตใจของคนโน้มเอียงไปสู่การเตาฮีดที่บริสุทธิ์ ยอมรับที่จะทำอิบาดะฮฺ ห่างไกลจากอบายมุขและบาป ยำเกรงต่ออัลลอฮฺและกลับเข้าหาอัลลอฮฺ
1- อัลลอฮฺได้กล่าวว่า
( ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [الإسراء/59].
ความว่า “และเรามิได้ส่งสัญญานต่างๆ เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเป็นเตือนสำทับเท่านั้น” (อัล-อิสรออ์ : 59)
2- มีรายงานจากท่านอบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ آيَتَانِ مِنْ آيَاتِ الله يُـخَوِّفُ الله بِـهِـمَا عِبَادَهُ، وَإنَّهُـمَا لا يَنْكَسِفَانِ لِـمَوتِ أَحَدٍ مِنَ النَّاسِ، فَإذَا رَأَيْتُـمْ مِنْـهُـمَا شَيْئاً فَصَلُّوا وَادْعُوا الله حَتَّى يُكْشَفَ مَا بِكُمْ»
ความว่า “แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ เพื่อเป็นการเตือนสำทับบรรดาบ่าวของพระองค์ ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายของผู้ใด เมื่อพวกท่านเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จงละหมาดและขอดุอาต่ออัลลอฮฺจนกว่ามันจะหายไป”(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1041 และมุสลิม เลขที่: 911 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
หุก่มการละหมาดเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ
มีบัญญัติว่าการละหมาดเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มีทั้งหมดหกร็อกอะฮฺและสี่สุญูด ในทุกๆ ร็อกอะฮฺมีสามรุกูอฺและสองสุญูด ส่วนสัญญานต่างๆ นั้นได้แก่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด อุบัติภัย และอื่นๆ
7- การละหมาดอิสติสกออ์
อิสติสกออ์ คือ การดุอาอ์เพื่อขอฝนจากอัลลอฮฺด้วยลักษณะที่เฉพาะ
หุก่มการละหมาดอิสติสกออ์
การละหมาดอิสติสกออ์เป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ละหมาดได้ทุกเวลานอกจากเวลาห้ามละหมาดและที่ดีที่สุดคือให้ละหมาดหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก
เคล็ดลับในการบัญญัติการละหมาดอิสติสกออ์
เมื่อฝนไม่ตก พื้นดินแห้งแล้งมีบัญญัติให้ละหมาดอิสติสกออ์ โดยให้บรรดามุสลิมออกไปสู่ที่แจ้งด้วยความอ่อนน้อม ใจสงบ ถ่อมตน ทั้งชายและหญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยให้อิมามนัดบรรดามะอ์มูมออกมาละหมาดอิสติสกออ์ก่อนหน้านั้นวันสองวัน
ประเภทของอิสติสกออ์
อิสติสกออ์อาจทำได้ โดยการละหมาดอิสติสกออ์ร่วมกัน การดุอาอ์ในคุฏบะฮฺญุมุอะฮฺ การดุอาอ์หลังจากเสร็จละหมาดห้าเวลา หรือในขณะที่นั่งสงบจิตอยู่คนเดียวโดยไม่มีการละหมาดหรือคุฏบะฮฺ
ลักษณะการละหมาดอิสติสกออ์
อิมามขึ้นไปนำละหมาดผู้คนสองร็อกอะฮฺโดยไม่ต้องมีการอะซานและอิกอมะฮฺ ให้ตักบีรฺในร็อกอะฮฺแรกเจ็ดตักบีรฺพร้อมตักบีเราะตุลอิหฺรอม แล้วให้อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺหนึ่งสูเราะฮฺใดก็ได้ด้วยเสียงดัง แล้วรุกูอฺและสุญูดตามลำดับ หลังจากนั้นลุกขึ้นทำในร็อกอะฮฺสองโดยให้ตักบีรฺในร็อกอะฮที่สองห้าตักบีรฺที่นอกเหนือจากตักบีรฺลุกขึ้นกิยาม แล้วให้อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺด้วยเสียงดัง เมื่อละหมาดได้สองร็อกอะฮฺแล้วให้ตะชะฮฺฮุด แล้วให้สลาม
ช่วงเวลาการกล่าวคุฏบะฮฺ
ตามสุนนะฮฺแล้วให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺก่อนการละหมาดอิสติสกออ์
1- มีรายงานจากท่านอับบ๊าด บิน ตะมีม จากอาของท่านว่า
رأيت النبي صلى الله عليه وسلم يوم خرج يستسقي قال: فَحَوَّلَ إلَى النَّاسِ ظَهْرَهُ وَاسْتَقْبَلَ القِبْلَةَ يَدْعُو، ثُمَّ حَوَّلَ رِدَاءَهُ ثُمَّ صَلَّى لَنَا رَكْعَتَيْنِ جَهَرَ فِيهِـمَا بِالقِرَاءَةِ
ความว่า “ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในวันที่ท่านออกไปละหมาดอิสติสกออ์ แล้วท่านก็หันหลังให้แก่ผู้คนและหันหน้าไปทางกิบละฮฺแล้วขอดุอาอ์ แล้วพลิกกลับด้านผ้าคลุมร่างของท่าน แล้วละหมาดนำพวกเราสองร็อกอะฮฺ โดยให้อ่านเสียงดังทั้งสองร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1025 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 894)
2- มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
خرج رسول الله صلى الله عليه وسلم حين بدا حاجب الشمس، فقعد على المنبر، فكبر صلى الله عليه وسلم وحمد الله عز وجل، ثم قال: «إنَّكُمْ شَكَوْتُـمْ جَدْبَ دِيَارِكُمْ..» ... ثم أقبل على الناس ونزل فصلى ركعتين
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอิสติสกออ์เมื่อมีแสงตะวันขึ้น แล้วท่านก็นั่งบนมิมบัรฺแล้วตักบีรฺ แล้วตะหฺมีด หลังจากนั้นได้กล่าวคุฏบะฮฺว่า “แท้จริงพวกท่านต่างมาฟ้องกับฉันเกี่ยวความแห้งแล้งบ้านเมืองพวกท่าน” จนจบ .. แล้วท่านก็หันไปยังผู้คน และเดินลงมาจากมินบัรฺแล้วก็ละหมาดสองร็อกอะฮฺ” (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข(1173)
ลักษณะคุฏบะฮฺอิสติสกออ์
ให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺแค่คุฏบะฮฺเดียวโดยยืนคุฎบะฮฺ ตะหฺมีด ตักบีรฺ และอิสติฆฺฟารฺ แล้วกล่าวดังที่มีตัวบทจากสุนนะฮฺ เช่น
«إنَّكُمْ شَكَوْتُـمْ جَدْبَ دِيَارِكُمْ، وَاسْتِئْخَارَ المَطَرِ عَنْ إبَّانِ زَمَانِـهِ عَنْكُمْ، وَقَدْ أَمَـرَكُمُ الله عَزّ وَجَلَّ أَنْ تَدْعُوهُ، وَوَعَدَكُمْ أَنْ يَسْتَـجِيْبَ لَكُمْ»، ثم يقول: (ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) «لا إلَـهَ إلَّا الله يَفْعَلُ مَا يُرِيْدُ، اللَّهُـمَّ أَنْتَ الله لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ الغَنِيُّ، وَنَحْنُ الفُقْرَاءُ، أنْزِلْ عَلَيْنَا الغَيْثَ، وَاجْعَلْ مَا أَنْزَلْتَ لَنَا قُوَّةً وَبَلاغاً إلَى حِينٍ»
ความว่า “แท้จริง พวกท่านต่างมาฟ้องกับฉันเกี่ยวความแห้งแล้งบ้านเมืองพวกท่านและความล่าช้าของฝนฟ้ามาเป็นเวลานานแล้ว จริงๆ แล้วอัลลอฮฺได้ใช้ให้พวกท่านขอต่อพระองค์ แล้วสัญญาว่าจะตอบรับดุอาอ์ของท่านโดยจะให้ในสิ่งที่พวกท่านขอทุกประการ” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็กล่าวดุอาอ์ว่า
: (ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) «لا إلَـهَ إلَّا الله يَفْعَلُ مَا يُرِيْدُ، اللَّهُـمَّ أَنْتَ الله لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ الغَنِيُّ، وَنَحْنُ الفُقْرَاءُ، أنْزِلْ عَلَيْنَا الغَيْثَ، وَاجْعَلْ مَا أَنْزَلْتَ لَنَا قُوَّةً وَبَلاغاً إلَى حِينٍ»
(เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1173)
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِنَا غَيْثاً، مُغِيثاً، مَرِيئاً، مَرِيعاً، نَافِعاً غَيْرَ ضَارٍّ، عَاجِلاً غَيْرَ آجِلٍ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1169)
หรือกล่าวดุอาว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِ عِبَادَكَ وَبِـهَائِمَكَ وَانْشُرْ رَحْـمَتَـكَ، وَأحْيِ بَلَدَكَ المَيِّتَ»
(เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยมาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ หมายเลข 449, อบู ดาวูด หมายเลข 1176 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอบู ดาวูด)
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا، اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا، اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1014 และมุสลิม เลขที่: 987 )
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِنَا، اللَّهُـمَّ اسْقِنَا، اللَّهُـمَّ اسْقِنَا»
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1013)
เมื่อมีฝนตกหนักและรู้สึกหวาดกลัวความลำบากที่จะตามมา สุนัตให้กล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ حَوَالَيْنَا وَلا عَلَيْنَا، اللَّهُـمَّ عَلَى الآكَامِ وَالجِبَالِ وَالظِّرَابِ وَالأَوْدِيَةِ، وَمَنَابِتِ الشَّجَرِ»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกใน อัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1013 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 897)
ฝนที่เริ่มแรกตก เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เมื่อมันตกลงมามีสุนัตให้ถลกผ้าเพื่อให้ฝนถูกส่วนหนึ่งของร่างกายพร้อมๆ กับกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللهم صَيِّباً نَافِعاً»
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1032)
และให้กล่าวหลังจากฝนตกลงมาแล้วว่า
«مُطِرْنَا بِفَضْلِ الله وَرَحْـمَتِـهِ»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1038 และมุสลิม เลขที่: 71)
เมื่ออิมามกล่าวดุอาอ์อิสติสกออ์มีสุนนะฮฺให้เขายกมือทั้งสองขึ้น และบรรดามะอ์มูมก็ทำตามด้วย แล้วกล่าวอามีนในดุอาอ์ของอิมามในระหว่างที่คุฏบะฮฺอยู่
หลังจากคุฏบะฮฺอิมามจะทำอย่างไร?
เมื่ออิมามกล่าวคุฏบะฮฺเสร็จแล้วให้เขาหันหน้าไปสู่กิบละฮฺแล้วให้ขอดุอาอ์ หลังจากนั้นให้เขาพลิกกลับด้านผ้าคลุมร่างของเขาโดยให้เอาด้านขวาไปเป็นด้านซ้าย ด้านซ้ายเป็นด้านขวา แล้วบรรดามะอ์มูมก็ยกมือขอดุอาอ์เช่นกัน หลังจากนั้นให้เขาเริ่มนำบรรดามะอ์มูมละหมาดอิสติสกออ์สองร็อกอะฮฺตามลักษณะที่กล่าวมา
การร่วมกันทำอิบาดาตและการเชื่อฟังอัลลอฮฺนั้นมีอยู่สองประเภทคือ
ประเภทแรก สิ่งที่เป็นสุนนะฮฺ รอติบะฮฺ (เป็นภารกิจที่ให้ทำเป็นประจำ) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งวาญิบ เช่น การร่วมกันเพื่อละหมาดห้าเวลา การร่วมกันเพื่อละหมาดญุมุอะฮฺ หรือสิ่งที่เป็นสุนัต เช่นการร่วมกันเพื่อละหมาดอีดทั้งสอง การร่วมกันเพื่อละหมาดตะรอวีหฺ การร่วมกันเพื่อละหมาดกุสูฟ การร่วมกันเพื่อละหมาดอิสติสกออ์ ซึ่งสุนนะฮฺรอติบะฮฺเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ให้ตลอดเวลาและให้สม่ำเสมอ
ประเภทที่สอง สิ่งที่ไม่เป็นสุนนะฮฺ รอติบะฮฺ เช่น การร่วมกันละหมาดสุนัตอย่างกิยามุลลัยลฺ หรือการร่วมกันเพื่อขอดุอาอ์ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำเป็นบางครั้งได้แต่อย่าทำเป็นประจำ
8- การละหมาดฎุฮา
การละหมาดฎุฮา เป็นการละหมาดที่เป็นสุนัต ซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องมีสองร็อกอะฮฺ แต่จะละหมาดมากเท่าใดก็ได้ไม่จำกัด
เวลาในการละหมาดฎุฮา คือหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก(ประมาณหนึ่งเมตร) หมายความว่าหลังจากตะวันขึ้นประมาณสิบห้านาที จนกระทั่งตะวันคล้อย และเวลาที่ดีที่สุดคือเมื่อแสงอาทิตย์ร้อนจัดทำให้ทรายร้อน จนเท้าของลูกอูฐร้อนและอยู่ไม่นิ่ง
ความประเสริฐของการละหมาดฎุฮา
1- มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า
أَوْصَانِي خَلِيلِي صلى الله عليه وسلم بِثَلاثٍ: صِيَامِ ثَلاثَـةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْـرٍ، وَرَكْعَتَيِ الضُّحَـى، وَأَنْ أُوْتِـرَ قَبْلَ أَنْ أَنَـامَ.
ความว่า “ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉัน(หมายถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้สั่งเสียแก่ฉันสามอย่างด้วยกัน คือการถือศีลอดสุนัตสามวันต่อเดือนทุกเดือน การละหมาดสองร็อกอะฮฺในเวลาฎุฮา และการละหมาดวิตรฺก่อนที่ฉันจะนอนทุกครั้ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1981 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 721)
2- มีรายงานจากท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
«يُصْبِـحُ عَلَى كُلِّ سُلامَى مِنْ أحَدِكُمْ صَدَقَةٌ، فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـحْـمِيدَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ، وَأمْرٌ بِالمَعْرُوفِ صَدَقَةٌ، وَنَـهْيٌ عَنِ المُنْكَرِ صَدَقَةٌ، وَيُـجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُـمَا مِنَ الضُّحَى»
ความว่า “ทุกๆ เช้า พวกท่านเริ่มเช้าขึ้นมาด้วยหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชอบบริจาคเศาะดะเกาะฮฺต่อ(พระคุณของอัลลอฮฺที่ทรงประทาน)กระดูกทุกข้อของพวกท่าน ทุกครั้งที่กล่าว สุบหานัลลอฮฺ เป็นเศาะดะเกาะฮฺหนึ่ง การกล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ การกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ การกล่าว อัลลอฮุอักบัรฺ ก็เป็นเศาะดะเกาะฮฺ การใช้ให้ทำความดีเป็นเศาะดะเกาะฮฺ การห้ามปรามจากความชั่วเป็นเศาะดะเกาะฮฺ และเป็นการเพียงพอจากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาด้วยการละหมาดฎุฮาเพียงสองร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 720)
9- การละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
อิสติคอเราะฮฺ คือ การขอทางเลือกจากอัลลอฮฺในการตัดสินใจเลือกเอาสิ่งหนึ่งจากหลายๆ สิ่งที่เป็นวาญิบหรือสิ่งที่เป็นสุนัต เมื่อมันเป็นสองสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน หรือสิ่งที่เป็นมุบาหฺ(อนุญาตให้ทำได้ทั้งสองอย่าง)เมื่อไม่รู้ว่าอย่างไหนมีประโยชน์มากกว่า
หุก่มการละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
การละหมาดอิสติคอเราะฮฺเป็นการละหมาดสุนัตฺ ซึ่งมีสองร็อกอะฮฺ และการดุอาอ์อิสติคอเราะฮฺนั้นให้ทำก่อนสลามหรือหลังก็ได้ แต่ก่อนสลามนั้นดีกว่า และอนุญาตให้ละหมาดอิสติคอเราะฮฺได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ในเวลาที่หลากหลาย และให้เขาทำอะไรก็ได้ที่จะทำให้ใจของเขาบริสุทธิ์ สงบ สบายปราศจากอารมณ์ใฝ่ต่ำก่อนที่จะละหมาดอิสติคอเราะฮฺ
การอิสติคอเราะฮฺและอิสติชาเราะฮฺ(ขอคำปรึกษา)นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่สิ่งหะรอมและมักรูฮฺ ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งสุนัต ฉะนั้นจึงไม่น่าจะมีการเสียใจในภายหลังสำหรับคนที่ขออิสติคอเราะฮฺจากอัลลอฮฺและขอคำปรึกษาจากมนุษย์แล้ว ก่อนจะตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังที่อัลลอฮฺกล่าวว่า
(ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ) [آل عمران/159]
ความว่า “และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้วก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮฺเถิด” (อาล อิมรอน : 159)
ลักษณะการอิสติคอเราะฮฺ
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
كَانَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم يُـعَلِّمُنَا الاسْتِـخَارَةَ فِي الأُمُورِ كُلِّهَا كَالسُّورَةِ مِنَ القُرْآنِ: «إذَا هَـمَّ أَحَدُكُمْ بِالأَمْرِ، فَلْيَرْكَعْ رَكْعَتَيْنِ مِنْ غَيْرِ الفَرِيضَةِ ثُمَّ يَـقُولُ: «اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْتَـخِيرُكَ بِـعِلْـمِكَ، وَأَسْتَقْدِرُكَ بِقُدْرَتِكَ، وَأَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ العَظِيمِ، فَإنَّكَ تَقْدِرُ وَلا أَقْدِرُ، وَتَعْلَـمُ وَلا أَعْلَـمُ، وَأَنْتَ عَلَّامُ الغُيُوبِ، اللَّهُـمَّ إنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ خَيْرٌ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ: فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- قَاقْدُرْهُ لِي.
وَإنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ شَرٌّ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي، وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- فَاصْرِفْهُ عَنِّي وَاصْرِفْنِي عَنْـهُ، وَاقْدُرْ لِيَ الخَيْرَ حَيْثُ كَانَ، ثُمَّ رَضِّنِي بِـهِ، وَيُسَمِّي حَاجَتَـهُ»
ความว่า “ปรากฎว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนพวกเราเกี่ยวกับอิสติคอเราะฮฺในทุกๆ เรื่องเหมือนสอนสูเราะฮฺหนึ่งในอัลกุรอาน (เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านปรารถนาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เขาจงละหมาดสองร็อกอะฮฺซึ่งไม่ใช่ละหมาดวาญิบแล้วให้กล่าวว่า
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْتَـخِيرُكَ بِـعِلْـمِكَ، وَأَسْتَقْدِرُكَ بِقُدْرَتِكَ، وَأَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ العَظِيمِ، فَإنَّكَ تَقْدِرُ وَلا أَقْدِرُ، وَتَعْلَـمُ وَلا أَعْلَـمُ، وَأَنْتَ عَلَّامُ الغُيُوبِ، اللَّهُـمَّ إنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ خَيْرٌ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي وَعَاقِبَةِ أَمْرِي-أَوْ قَالَ: فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- قَاقْدُرْهُ لِي. وَإنْ كُنْتَ تَعْلَـمُ أَنَّ هَذَا الأَمْرَ شَرٌّ لِي فِي دِينِي وَمَعَاشِي، وَعَاقِبَةِ أَمْرِي -أَوْ قَالَ فِي عَاجِلِ أَمْرِي وآجِلِـهِ- فَاصْرِفْهُ عَنِّي وَاصْرِفْنِي عَنْـهُ، وَاقْدُرْ لِيَ الخَيْرَ حَيْثُ كَانَ، ثُمَّ رَضِّنِي بِـهِ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสตะคีรุกะ บิอิลมิกะ, วะอัสตักดิรุกะ บิกุดร่อติกะ, วะอัสอะลุกะ มินฟัฎลิกั๊ลอะซีม, ฟะอินนะกะ ตักดิร วะลาอั๊กดิร, วะตะอฺละมุ วะลาอะอฺลัม, วะอันตะ อั๊ลลามุ้ลฆุยู๊บ, อัลลอฮุมมะ อินกุนตะ ตะอฺละมุ อันนะฮาซัลอัมร่อ ...(ระบุงานที่จะขอตรงนี้) ... คอยรุน ลี , ฟีดีนี วะมะอาชี วะอากิบะติ อัมรี, (หรือกล่าวว่า ฟี อฺาญิลิ อัมรี วะ อาญิลิฮี), ฟักดุรฮุลี วะยัสสิรฺฮุ ลี ษุมมะบาริก ลีฟีฮิ, วะอินกุนตะ ตะอฺละมุ อันนะฮาซัล อัมร่อ ชัรรุน ลี, ฟีดีนี วะมะอาชี วะอากิบะติอัมรี (หรือกล่าวว่า ฟี อฺาญิลิ อัมรี วะ อาญิลิฮี), ฟัศริฟฮุ อันนี วัศริฟนี อันฮุ, วักดุร ลิยัลค็อยร่อ ฮัยษุกานะ, ษุมมัรฎินี บิฮี
ความหมายดุอาอ์ โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอให้พระองค์ช่วยเลือกสิ่งที่ดีด้วยความรอบรู้ของพระองค์ และขอให้พระองค์บันดาลให้ข้าพระองค์มีความสามารถที่จะลงมือทำ ด้วยพระเดชานุภาพของพระองค์ และข้าพระองค์วิงวอนต่อพระองค์จากพระมหากรุณาอันใหญ่หลวงของพระองค์ (ให้เปิดใจเพื่อคุณธรรมความดีด้วยเถิด) แน่แท้พระองค์ทรงมหาอำนาจ ข้าพระองค์ไม่มีอำนาจใดๆ เลย พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่ง ส่วนข้าพระองค์ไม่มีความรู้อะไรเลย พระองค์ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้ยิ่งในสิ่งเร้นลับทั้งหลาย โอ้ อัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงทราบว่านี้...(กล่าวชื่อของงาน เป็นภาษาใดก็ได้) เป็นส่วนดีแก่ข้าพระองค์ ในการศาสนาของข้าพระองค์ และในการครองชีพ ของข้าพระองค์ และในอวสานแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว (ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล) ดังนั้น ขอพระองค์กำหนดงานนั้นให้ข้าพระองค์และให้มันสะดวก ง่ายดายแก่ข้าพระองค์แล้วขอประทานความศิริมงคลในงานนี้ให้แก่ข้าพระองค์ด้วย แต่ถ้าพระองค์ทรงรู้ว่างานนี้เป็นผลร้ายแก่ข้าพระองค์ ในการศาสนาของข้าพระองค์ และในการครองชีพของข้าพระองค์ และในตอนสุดท้ายแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว (ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล) ขอพระองค์ได้ทรงโปรดให้งานนี้หลีกพ้นไปจากข้าพระองค์ด้วย และขอให้ข้าพระองค์รอดพ้นจากนี้ด้วยเถิด และขอพระองค์ทรงบันดาลความดีให้แก่ข้าพระองค์ ไม่ว่าสถานใด แล้วขอได้ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ข้าพระองค์ในงานนั้นๆ ด้วย
โดยให้กล่าวถึงสิ่งที่เขาปรารถนาจะเลือก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6382)
การสุญูดติลาวะฮฺ
หุก่มการสุญูดติลาวะฮฺ
การสุญูดติลาวะฮฺเป็นสุนัตทั้งในและนอกละหมาด และสุนัตให้สุญูดไม่ว่าจะเป็นผู้อ่านหรือผู้ฟังในทุกเวลา
จำนวนอายะฮฺสัจญดะฮฺในอัลกุรอาน
ในอัลกุรอานมีอายะฮฺสัจญดะฮฺ 15 อายะฮฺ คือในสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ, สูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดุ, สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลุ, สูเราะฮฺ อัล-อิสรออ์, สูเราะฮฺ มัรฺยัม, สองอายะฮฺในสูเราะฮฺ อัล-หัจญ์, สูเราะฮฺ อัล-ฟุรฺกอน, สูเราะฮฺ อัน-นัมลฺ, สูเราะฮฺ อัส-สัจญ์ดะฮฺ, สูเราะฮฺ ศอด, สูเราะฮฺ ฟุศฺศิลัต, สูเราะฮฺ อัน-นัจญ์มุ, สูเราะฮฺ อัล-อินชิกอก และ สูเราะฮฺ อัล-อะลัก
อายะฮฺสัจญดะฮฺในอัลกุรอานมีอยู่สองประเภท
คือการบอกเล่า และการสั่ง สำหรับการบอกเล่านั้นคือการบอกเล่าจากอัลลอฮฺเกี่ยวกับการสุญูดของสิ่งถูกสร้างต่อพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นโดยรวมหรือเป็นการเฉพาะ ฉะนั้นจึงสุนัตให้ผู้อ่านและผู้ฟังต้องสุญูดเลียนแบบพวกเขา
ส่วนอายะฮฺที่เป็นการสั่งให้สุญูดต่ออัลลอฮฺ ฉะนั้นเขาจงน้อมรับคำสั่งนั้นด้วยการภักดีเชื่อฟังต่อพระเจ้าของเขาด้วยการสุญูดตามคำสั่งดังกล่าว
ลักษณะการสุญูดติลาวะฮฺ
การสุญูดติลาวะฮฺคือการสุญูดครั้งเดียวโดยให้กล่าวตักบีรฺเมื่อจะสุญูดและเมื่อเงยขึ้นจากสุญูดถ้าอยู่ในละหมาด และถ้าอยู่นอกละหมาดให้สุญูดโดยไม่ต้องยืน ไม่ต้องตักบีรฺ ไม่ต้องตะชะฮฺฮุด และไม่ต้องให้สลาม
ความประเสริฐของสุญูดติลาวะฮฺ
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إذَا قَرَأَ ابْنُ آدَمَ السَّجْدَةَ فَسَجَدَ، اعْتَزَلَ الشَّيْطَانُ يَبْكِي، يَـقُولُ: يَا وَيْلَـهُ، -وَفِي رِوَايَةٍ- يَا وَيْلِي أُمِرَ ابْنُ آدَمَ بِالسُّجُودِ فَسَجَدَ فَلَـهُ الجَنّةَ، وَأُمِرْتُ بِالسُّجُودِ فَأَبَيْتُ فَلِي النَّارُ»
ความว่า “เมื่อลูกอาดัมคนหนึ่งอ่านอายะฮฺสัจญ์ดะฮฺแล้วสุญูด ชัยฏอนจะออกห่างแล้วร้องไห้ แล้วกล่าวว่า ความพินาจประสบแก่ข้าแล้ว (และอีกสายรายงานหนึ่ง) ฉิบหายแล้วข้า ลูกอาดัมถูกสั่งให้สุญูด เขาก็สุญูด เขาจึงได้เข้าสวรรค์ แต่ข้านั้นเมื่อถูกสั่งให้สุญูด ข้าไม่ยอมสุญูด ข้าเลยต้องลงนรก” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 81)
เมื่ออิมามสุญูดจำเป็นที่มะอ์มูมต้องสุญูดตามอิมามด้วย และไม่มักรูฮฺสำหรับอิมามหากเขาจะอ่านอายะฮฺหรือสูเราะฮฺที่มีสัจญ์ดะฮฺในการละหมาดที่อ่านเสียงค่อย
สิ่งที่กล่าวในสุญูดติลาวะฮฺ
ให้กล่าวในสุญูดติลาวะฮฺเหมือนที่กล่าวในสุญูดละหมาดปรกติไม่ว่าจะเป็นซิกิรฺหรือดุอา
สุนัตให้สุญูดติลาวะฮฺในสภาพที่สะอาดจากหะดัษและนะญิส และอนุญาตให้ผู้มีหะดัษ หัยฎฺและนิฟาสสุญูดติลาวะฮฺหากผ่านหรือได้ยินคนอ่านอายะฮฺสัจญ์ดะฮฺ
การสุญูดชุกูรฺ
หุก่มการสุญูดชุกูรฺ(การสุญูดเพื่อขอบคุณ)
1- สุนัตให้สุญูดชุกูรฺขอบคุณอัลลอฮฺเมื่อได้รับนิอฺมัตใหม่ๆ เช่น ผู้ที่ได้รับข่าวเกี่ยวกับการได้รับทางนำหรือรับศาสนาอิสลามของบุคคลคนหนึ่งที่เขาพยายามดะอฺวะฮฺ หรือเกี่ยวกับชัยชนะของชาวมุสลิม หรือได้บุตรคนใหม่ เป็นต้น
2- สุนัตให้สุญูดชุกูรฺเมื่อได้รับความปลอดภัยจากภัยพิบัติ เช่น ผู้ที่รอดตายจากการจมน้ำ ไฟไหม้ ถูกตามฆ่า หรือขโมยของ เป็นต้น
ลักษณะการสุญูดชุกูรฺ
การสุญูดชุกูรฺคือการสุญูดครั้งเดียวโดยไม่ต้องตักบีรฺ และไม่ต้องให้สลาม และให้สุญูดนอกละหมาด จะสุญูดในสภาพไหนก็ได้ไม่ว่าจะยืนหรือนั่ง มีหะดัษ หรือสะอาดไม่มีหะดัษ แต่สุญูดในสภาพที่สะอาดนั้นประเสริฐกว่า
มีรายงานจากท่านอบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أن النبي كان إذا أتاه أمر يَسُرُّه، أو يُسَرُّ به خَرَّ ساجداً شكراً ٬ تبارك وتعالى
ความว่า “ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อมีเรื่องที่ทำให้ท่านพอใจ หรือถูกทำให้ท่านพอใจ ท่านจะก้มลงสุญูดเป็นการชุกูรฺขอบคุณต่ออัลลอฮฺ” (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 2774 และอิบนุ มาญะฮฺ 1394 สำนวนนี้เป็นของอิบนุ มาญะฮฺ)
สิ่งที่กล่าวในสุญูดชุกูรฺ
ให้กล่าวในสุญูดชุกูรฺเหมือนที่กล่าวในสุญูดละหมาดปรกติเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นซิกิรฺหรือดุอาอ์
ช่วงเวลาที่ห้ามจากการละหมาด
ช่วงเวลาที่ห้ามจากการละหมาดมีห้าช่วง คือ
1- มีรายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لا صَلاةَ بَـعْدَ صَلاةِ العَصْرِ حَتَّى تَغْرُبَ الشَّمْسُ، وَلا صَلاةَ بَـعْدَ صَلاةِ الفَجْرِ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ»
ความว่า “ไม่มีการละหมาดหลังจากละหมาดอัศรฺจนกว่าตะวันจะตกดินและไม่มีการละหมาดหลังจากละหมาดฟัจญ์รฺจนกว่าตะวันจะขึ้น” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 586 และมุสลิม เลขที่: 827 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
2- มีรายงานจากท่านอุกฺบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
ثَلاثُ سَاعَاتٍ كَانَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يَنْـهَانَا أَنْ نُصَلِّيَ فِيهِنَّ، أَوْ أَنْ نَقْبُرَ فِيهِنَّ مَوتَانَا: حِينَ تَطْلُعُ الشَّمْسُ بَازِغَةً حَتَّى تَرْتَفِعَ، وَحِينَ يَـقُومُ قَائِمُ الظَّهِيرَةِ حَتَّى تَـمِيلَ الشَّمْسُ، وَحِينَ تَضيَّفُ الشَّمْسُ لِلْغُرُوبِ حَتَّى تَغْرُبَ
ความว่า “มีอยู่สามเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้พวกเราละหมาดหรือฝังคนตายลงกุบูรฺ คือ เมื่อตะวันกำลังจะขึ้นจนกระทั่งตะวันขึ้นเรียบร้อยแล้ว เมื่อตะวันอยู่ตรงศีรษะจนกระทั่งตะวันคล้อยเรียบร้อยแล้ว และเมื่อตะวันกำลังจะตกดินจนกระทั่งตะวันตกดินเรียบร้อยแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 831)
อนุญาตให้ละหมาดสุนัตหลังจากละหมาดอัศฺริตราบใดที่ดวงตะวันยังสว่างจ้าและเด่นตระหง่านอยู่
มีรายงานจากท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم نَـهَى عَن الصَّلاةِ بَـعْدَ العَصْرِ إلا وَالشَّمْسُ مُرْتَفِعَةٌ
ความว่า “แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามไม่ให้ละหมาดสุนัตหลังจากละหมาดอัศรฺนอกจากในขณะที่ดวงตะวันยังเด่นตระหง่านอยู่”(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด สำนวนนี้เป็นของอบู ดาวูดหมายเลข 1274 และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 573)
หุก่มการละหมาดในเวลาที่ต้องห้าม
1- อนุญาตให้ละหมาดชดละหมาดวาญิบในเวลาต้องห้ามทั้งห้าที่ได้กล่าวมา และอนุญาตให้ละหมาดสองร็อกอะฮฺเฏาะวาฟ และละหมาดสุนัตที่มีสาเหตุ เช่นตะหิยะตุลมัสญิด สองร็อกอะฮฺวุฎูอ์(หลังอาบน้ำละหมาด) ละหมาดกุสูฟ เป็นต้น
2- มีบัญญัติสำหรับผู้ที่ไม่ได้ละหมาดสุนัตก่อนละหมาดศุบหฺเพราะมีเหตุจำเป็น ให้เขาละหมาดชดสุนัตดังกล่าวหลังละหมาดศุบหฺได้ และละหมาดสุนัตซุฮรฺให้ชดหลังละหมาดอัศรฺได้
3- อนุญาตให้ละหมาดสุนัตในมัสญิดอัลหะรอมได้ทุกเวลา
มีรายงานจากท่านญุบัยฺร อิบนุ มุฏฺอิม เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَا بَنِي عَبْدِ مَنَافٍ لا تَـمْنَعُوا أَحَداً طَافَ بِـهَذَا البَيْتِ وَصَلَّى أَيّة سَاعَةٍ شَاءَ مِنْ لَيْلٍ أَوْ نَـهَارٍ»
ความว่า “โอ้ ลูกหลานของอับดุมะนาฟ พวกท่านอย่าได้ห้ามผู้ใดทำการเฏาะวาฟบัยตุลลอฮฺ และอย่าได้ห้ามขัดขวางเขาจากการละหมาด ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม หากเขาต้องการจะปฏิบัติไม่ว่าในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 868 และอิบนุ มาญะฮฺหมายเลข 1254)