×
Image

การบริโภคแต่พอดี - (ไทย)

บทความหะดีษเกี่ยวกับการบริโภคแต่พอดี และวิเคราะห์บทเรียนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์จากหะดีษดังกล่าว ซึ่งเป็นบทเรียนที่สื่อให้เห็นถึงความครอบคลุมของศาสนาอิสลาม การให้ความสำคัญของอิสลามต่อระบบศีลธรรมและมารยาทในทุกๆ เรื่อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การมองเห็นอัลลอฮฺ - (ไทย)

รวมหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและหะดีษที่กล่าวถึงการได้มองเห็นอัลลอฮฺในสวนสวรรค์ ซึ่งเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาทุกคนที่ได้เข้าสวรรค์ และอธิบายสาเหตุต่างๆ ที่จะทำให้สาเหตุของการได้มองเห็นอัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อธิบายความหมายพระนาม อัล-ฟัตตาหฺ - (ไทย)

กล่าวถึงความหมายที่แฝงเร้นอยู่ในพระนาม อัล-ฟัตตาห์ ซึ่งเป็นพระนามหนึ่งของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ที่มีความหมายสองด้าน และกล่าวถึงสิ่งที่สามารถถอดเป็นบทเรียนในเชิงปฏิบัติจากพระนามอันวิจิตรนี้ อาทิ ความจำเป็นที่บ่าวจะต้องพึ่งพิงอัลลอฮฺ เนื่องจากพระองค์ทรงคุมกุญแจแห่งความดีงามทั้งหลายทั้งปวง การขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺ เป็นต้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ข้อคิดจากสูเราะฮฺฟุศศิลัต อายะฮฺที่ 30-32 (การอิสติกอมะฮฺ) - (ไทย)

บทความเตือนใจเกี่ยวกับความสำคัญของการศรัทธาและการยืนหยัดอยู่บนความดีจนกระทั่งหมดลมหายใจ ซึ่งจะเป็นสาเหตุแห่งการได้รับสวรรค์ และได้รับการแจ้งข่าวดีจากอัลลอฮฺโดยบรรดามะลาอิกะฮฺ ซึ่งทั้งปวงนั้นเป็นความเมตตาอันยิ่งใหญ่ล้นพ้นของอัลลอฮฺสำหรับผู้ที่ภักดีต่อพระองค์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ข้อคิดจากสูเราะฮฺอัล-หิจญ์รฺ อายะฮฺที่ 45 (ความสุขในสวรรค์) - (ไทย)

บทความสะกิดใจเกี่ยวกับความสุขสบายและความสำราญในสวนสวรรค์ ซึ่งอัลลอฮฺทรงเตรียมไว้ให้กับบรรดาผู้ศรัทธาที่ยำเกรงต่อพระองค์ สวรรค์คือจุดปลายทางที่มนุษย์ต่างใฝ่หา เต็มไปด้วยความสุขและไม่มีความเหนื่อยยากใดๆ อีกต่อไป จึงควรมุ่งมั่นแสวงหาหนทางสู่สวรรค์อย่างจริงจัง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น - (ไทย)

กล่าวคุณลักษณะนิสัยประการหนึ่งของผู้ศรัทธา ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ในศรัทธาของเขา คือการมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เช่นที่ปรารถนาดีต่อตัวเอง ด้วยการยกหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากหะดีษ ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ - (ไทย)

อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ กล่าวถึงความหมายของพระนามทั้งสองนี้ของอัลลอฮฺ โดยอ้างอิงถึงอายะฮฺอัลกุรอานต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงพระนามอันงดงามนี้ สรุปบทเรียนและประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่ได้รับจากการศรัทธาต่อพระนามทั้งสอง ทั้งในด้านความเชื่อและการปฏิบัติ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก - (ไทย)

อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก กล่าวถึงคุณค่าและความประเสริฐของสูเราะฮฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนสามสูเราะฮฺที่ใช้ปัดเป่าเพื่อป้องกันตัวจากการมุ่งร้ายของผู้ไม่หวังดี ควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะใช้เป็นบทอ่านในชีวิตประจำวัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ห้ามการทำอุตริกรรมในศาสนา - (ไทย)

อธิบายความหมายของบิดอะฮฺ หรืออุตริกรรมในศาสนา รวมถึงผลร้ายต่างๆ และพูดถึงกฎเกณฑ์ที่จะใช้วัดว่าการงานหนึ่งการงานใดจะถูกตอบรับหรือไม่ อย่างไร เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ - (ไทย)

อธิบายเนื้อหาความหมายจากสูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ กล่าวถึงคุณลักษณะสี่ประการที่จะทำให้มนุษย์รอดพ้นจากความขาดทุน รวมถึงบทเรียนอันทรงคุณค่าอื่นๆ จากสูเราะฮฺสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาอันมากมายเหลือคณา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

สามสิ่งที่ตามคนตายไปสุสาน - (ไทย)

อธิบายข้อเท็จจริงแห่งความตายที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่พ้น นั่นคือ การที่เขาจะต้องอยู่ในหลุมฝังศพตัวเปล่า ลูกหลาน ครอบครัว และญาติมิตร รวมถึงทรัพย์สมบัติต่างๆ มากมายเท่าไรก็ไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ นอกจากความดีที่เขาประกอบไว้ตอนมีชีวิตอยู่เท่านั้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

รากฐานของศาสนาอิสลาม - (ไทย)

อธิบายหลักความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีต่อพระเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานหลักของศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานที่เกี่ยวข้องกับหลักการนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์