×
Image

ความประเสริฐของเศาะหาบะฮฺ - (ไทย)

อธิบายหลักยึดมั่นศรัทธาประการหนึ่งของ ‘อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ’ คือ การรักบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมเหตุผลที่แสดงถึงความประเสริฐของบรรดาเศาะหาบะฮฺตามที่มีระบุในหลักฐาน และเตือนไม่ให้หลงผิดเหมือนบรรดาผู้คนที่เกลียดชังเคียดแค้นและด่าทอเศาะหาบะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อัล-อิคลาศ (ความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ) - (ไทย)

อธิบายความหมายของอิคลาศ หรือการบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ความสำคัญของมัน สิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับอิคลาศ รวมทั้งผลได้จากการที่มุสลิมคนหนึ่งมีความอิคลาศ เป็นบทความโดยสรุปประกอบด้วยหลักฐานสนับสนุนจากอัลกุรอาน หะดีษ และคำกล่าวของอุละมาอ์ไว้อย่างครบถ้วน

Image

การละหมาดและสถานะของมันในอิสลาม - (ไทย)

กล่าวถึงความสำคัญของการละหมาด ผลบุญอันใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่ดูแลรักษาการละหมาด รวมถึงบทลงโทษสำหรับผู้ละเลยและละทิ้งการละหมาด เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์.

Image

ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน - (ไทย)

บทความเกี่ยวกับความประเสริฐของอัลกุรอาน และการอ่านอัลกุรอาน อธิบายบทบาทและความสำัคัญของอัลกุรอานต่อมวลมนุษย์ พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จากพระัดำรัสของอัลลอฮฺและหะีดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

คุณลักษณะนิสัยที่ดี - (ไทย)

อธิบายความหมายของการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี ความสำคัญและความประเสริฐของมัน โดยยกหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ และตัวอย่างจากกัลยาณชนรุ่นแรก อาศัยการอธิบายที่เรียบง่าย กระชับ แต่แฝงด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การใช้สำหรับตักเตือนในโอกาสต่างๆ ได้

Image

การรีบเร่งทำความดี - (ไทย)

สมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธาที่จะต้องมีความตื่นตัวและรีบเร่งทำความดี เพราะชีวิตของคนเราช่างสั้นนัก และความตายนั้นก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลยว่าความตายจะมาเยือนเขาเมื่อใด บทความนี้ยกตัวอย่างเรื่องราวจากอดีต หลักฐานสนับสนุนจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมถึงระบุตัวอย่างผลดีต่างๆ ในการเร่งทำความดีก่อนจะหมดโอกาส

Image

เตือนไม่ให้เกียจคร้าน - (ไทย)

กล่าวถึงมุมมองและคำสอนของอิสลามว่าด้วยความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นนิสัยที่อิสลามห้าม โดยมีหลักฐานระบุในเรื่องดังกล่าวจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมทั้งคำพูดจากบรรดาอุละมาอ์ ในบทความยังกล่าวถึงประเภทของความเกียจคร้านและวิธีการขจัดนิสัยที่ไม่น่าพึงประสงค์นี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การลำพองตน - (ไทย)

ลักษณะที่น่ารังเกียจประการหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้ห้ามไว้ก็คือ การลำพองตนและหลงระเริงกับชีวิตในดุนยา บทความนี้อธิบายประเภทต่างๆ ของความลำพอง อาทิ การลำพองของผู้ปฏิเสธศรัทธา การลำพองของผู้ศรัทธาที่ฝ่าฝืน การลำพองของผู้ที่ทำชั่วมากกว่าความดี รวมทั้งอธิบายสรุปประเภทของคนเกี่ยวกับความลำพอง คือ คนที่ลำพองตนกับชีวิตในดุนยาจนกระทั่งเสียชีวิต และคนที่ลำพองตนกับการทำความดีของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความอิคลาศและบริสุทธิ์ใจ เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุรอรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อัล-อะมานะฮฺ ความซื่อสัตย์ - (ไทย)

อธิบายความสำคัญของอะมานะฮฺ เป็นคุณลักษณะที่อัลลอฮฺได้มอบให้กับบรรดานบี และยังเป็นคุณลักษณะของผู้ศรัทธาที่แท้จริง มีหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและหะดีษที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว รวมทั้งเรียกร้องเชิญชวนและสนับสนุนให้มนุษย์มีอะมานะฮฺในทุกๆ กิจการที่เขาเกี่ยวข้อง จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ผู้ใดละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทดแทนสิ่งที่ดีกว่าให้ - (ไทย)

อธิบายหนึ่งในคุณลักษณะอันยิ่งใหญ่ของเอกองค์อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า นั่นคือความเมตตาอันล้นพ้นของพระองค์ต่อปวงบ่าวผู้ศรัทธา โดยการที่พระองค์จะทรงทดแทนสิ่งต่างๆ ที่บ่าวละทิ้งในชีวิตเนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ ด้วยการตอบแทนที่ดีกว่าทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ความรีบร้อน - (ไทย)

อธิบายคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ประการหนึ่ง นั่นคือความรีบร้อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺ การทำอิบาดะฮฺโดยขาดสมาธิ รวมถึงอธิบายผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากนิสัยไม่ดีข้อนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อัล-บิชาเราะฮฺ (การแจ้งข่าวดี) - (ไทย)

กล่าวถึงคุณค่าของการแจ้งข่าวดี อ้างถึงโองการอัลกุรอานหลายโองการ และหะดีษบางชิ้น ที่ได้แจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะความดีงามที่พวกเขาได้ปฏิบัติ รวมทั้งอธิบายประโยชน์ในแง่ต่างๆ จากการแจ้งข่าวดีเหล่านั้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์