×
Image

สิ่งที่อนุญาตให้โกหก - (ไทย)

การโกหกเป็นสิ่งต้องห้าม และเป็นบาปที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง แต่หากทำไปแล้วเกิดประโยชน์ทางศาสนามีน้ำหนักเพียงพอ เช่นไกล่เกลี่ยเรื่องระหว่างสามีภรรยาหรือระหว่างผู้คนต่างๆที่ไม่เกิดการอธรรมใดๆขึ้น หรือโกหกกับข้าศึกในช่วงทำสงคราม ก็เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

คำมักง่ายที่เป็นการโกหก - (ไทย)

ในบรรดาเรื่องต่างๆที่ผู้คนมักจะมักง่ายกับมันทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งต้องห้าม และถึงขึ้นเป็นบาปใหญ่เลย คือ การโกหกเพื่อให้คนอื่นๆหัวเราะ และอีกประการหนึ่งที่พาให้โกหกเช่นกันคือ การที่คนๆหนึ่งพูดทุกอย่างที่เขาได้ยินมาโดยไม่ได้ตรวจสอบให้มั่นใจก่อน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินมามีทั้งเรื่องจริงทั้งเรื่องโกหก เมื่อเขาพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา เขาก็จะได้พูดในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นจริงไปด้วย ก็เท่ากับว่าเขาได้โกหกแล้ว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

ห้ามบังคับลูกสาวแต่งงานกับคนที่นางไม่ปรารถนา - (ไทย)

การยอมรับ(คนที่จะมาเป็น)สามี หรือปฏิเสธนั้นเป็นสิทธิ์ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้แก่ผู้หญิง และไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองของนางบังคับนางให้ทำในสิ่งที่อาจเป็นการทำร้ายนาง แต่ให้เขาปรึกษานาง และให้คำแนะนำนาง และการยินยอมของสาวบริสุทธิ์เพียงพอแค่ที่นางนิ่งเงียบเพราะอาย และไม่ยอมตอบปฏิเสธ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

ส่งเสริมให้แต่งงาน - (ไทย)

การแต่งงานเป็นเรื่องธรรมชาติที่อัลลอฮฺสร้างมา และเป็นแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้กระทำและใช้ให้ปฏิบัติ และส่งเสริมให้กระทำเพราะเป็นการปกป้องอวัยวะเพศ และทำให้สามารถควบคุมจิตใจ และทำให้มีลูกหลานมุสลิมอย่างมากมาย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

ใช้ให้รักษาและทำตามอะมานะฮฺ - (ไทย)

อะมานะฮฺเป็นเรื่องใหญ่ อัลลอฮฺทรงให้ใช้รักษา ทำตาม และดูแลอะมานะฮฺ และทรงชมเชยคนที่มีอะมานะฮฺ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า ไม่มีศาสนา สำหรับคนไม่มีอะมานะฮฺ และการปล่อยให้มันสูญหายไปเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณของกาลอวสาน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 03 - (ไทย)

มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้ และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการนั่งชุมนุมด้วยดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 02 - (ไทย)

มารยาทในการชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะให้รวมกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกแบ่งกลุ่มกัน และไม่ให้คนใดใช้ให้อีกคนลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เข้าไปนั่งแทน และให้ผู้ชุมนุมช่วยกันขยายวงให้กว้างขึ้น และเช่นกันผู้ใดที่ได้ลุกออกไปแล้วกลับเข้ามายังที่เดิมของเขา เขาก็ย่อมมีความชอบธรรมที่สุดที่จะนั่งตรงที่เดิมนั้น และผู้ที่มาใหม่นั้นตามสุนนะฮฺคือให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 01 - (ไทย)

ที่ชุมนุมและการนั่งชุมนุมกันในอิสลามนั้นมีมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆ ที่มุสลิมทั้งหลายควรพยายามรักษาเอาไว้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้คำชี้แนะถึงมัน เพื่อที่การชุมนุมของเรานั้นจะได้การเป็นชุมนุมที่ดีมีความจำเริญ และอัลลอฮฺทรงพอพระทัย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในการขออนุญาต - (ไทย)

การขออนุญาตนั้นเป็นมารยาทหนึ่งที่อิสลามส่งเสริมให้กระทำ เพราะเพื่อเป็นการปกปิดป้องกันเอาเราะฮฺและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น การขออนุญาตถูกกำหนดให้ทำสามครั้งโดยการเคาะที่ประตู หรือการขอเข้าไป หากได้รับอนุญาตก็ดี แต่หากไม่ก็จงกลับไป และไม่ให้ขอเกินสามครั้ง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

การตอบรับคำเชิญ - (ไทย)

การตอบรับคำเชิญนั้นเป็นสิทธิของมุสลิมที่พี่น้องของเขาจะต้องกระทำให้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับใช้มันเพราะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัวมุสลิมให้แข็งแกร่ง และการละทิ้งการตอบรับคำเชิญเพื่อร่วมรับประทานอาหารนั้นถือเป็นการฝ่าฝืนต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทและสุนนะฮฺต่าง ๆ ในเรื่องความฝัน - (ไทย)

ความฝันนั้นมีสิ่งที่เป็นมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีแบบอย่างไว้ สมควรที่มุสลิมจะต้องพยายามรักษาเพื่อให้เขารอดพ้นจากชัยฏอนและจากการกระซิบกระซาบของมันด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มันพยายามใช้มันทำร้ายผู้ศรัทธา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ความฝันและความประเสริฐของมันและสำทับไม่ให้โกหกเรื่องความฝัน - (ไทย)

ความฝันเรื่องราวของมันนั้นยิ่งใหญ่ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เคยถามถึงความฝันของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และตีความให้พวกเขา และท่านก็บอกกล่าวว่า การฝันดีนั้นมาจากอัลลอฮฺ และการฝันร้ายนั้นมาจากชัยฏอน และท่านก็ได้เตือนไม่ให้โกหกเรื่องของความฝัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม