×
Image

ห้ามการโกรธ และสิ่งที่ควรทำเมื่อโกรธ - (ไทย)

การโกรธนั้นเป็นมารยาทที่น่าตำหนิ โดยมากแล้วจะดึงเจ้าของมันให้ทำในสิ่งที่เขาไม่อยากทำ มันมาจากชัยฏอน ด้วยเหตุนี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงสั่งเสียให้ห่างไกลจากมัน และชี้แนะให้ลดขอบเขตของมันยามเมื่อตกอยู่ในความโกรธ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

การคดโกงและการเตือนให้ระวัง - (ไทย)

การตักเตือนพี่น้องมุสลิมเป็นเรื่องวายิบ และเป็นเรื่องของศาสนา และการคดโกงในการค้า การขาย และอื่นๆ นั้น เป็นการฝ่าฝืน และถือเป็นบาปใหญ่ ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนไว้ และบอกกล่าวอีกว่าผู้ใดที่คดโกงมุสลิม เขาก็ไม่ใช่พวกของเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

7 จำพวกใต้ร่มเงาอัลลอฮฺ - (ไทย)

ในวันกิยามะฮฺ ผู้คนจะประสบกับความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำอย่างหนักหน่วง ดวงอาทิตย์เข้ามาใกล้พวกเขาเพียงไมล์เดียว แล้วความอึดอัดความคับอกคับใจมีมากถึงขั้นที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้นอกจากอัลลอฮฺ แต่ในสภาพการณ์แบบนี้ ยังมีผู้คนที่ได้อยู่ในร่มเงาของพระผู้ทรงเมตตาอย่างผ่อนคลายและปลอดภัย และในหมู่พวกเขานั้นมีคน 7 จำพวกดังที่ได้ถูกกล่าวในหะดีษนี้ พวกเขามีลักษณะที่เหมือนกันคือมีความกลัวต่ออัลลอฮฺ และบริสุทธิ์ใจในการประกอบคุณงามความดีเพื่ออัลลอฮฺทั้งๆ ที่มีสิ่งยั่วยุอย่างหนักให้ทำในสิ่งตรงข้าม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงพวกเขาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้พวกเราอยากทำการงานของพวกเขา และเพื่อส่งเสริมให้เราทำมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

สิทธิของมุสลิมต่อมุสลิม - (ไทย)

มุสลิมเป็นพี่น้องกัน ความผูกพันฉันพี่น้องร่วมศรัทธามัดรวมพวกเขาเอาไว้ และสำหรับพี่น้องมุสลิมของเขามีสิทธิ์ที่พี่น้องของเขาต้องทำให้ ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะไว้ และได้เตือนถึงสิ่งที่จะมาทำลาย หรือทำให้ความเป็นพี่น้องนี้เปราะบางลงเพื่อให้ระวังในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ห้ามการอิจฉา - (ไทย)

ความอิจฉา คือ ความไม่อยากเห็นสิ่งดีงามเกิดขึ้นกับผู้อื่น และหวังให้มันมลายสิ้นไป มันเป็นลักษณะที่น่ารังเกียจที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามเอาไว้เพราะมันเป็นบ่อเกิดความเสียหายในระหว่างมุสลิม และเกิดความไม่พอใจต่อกัน และยังเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายกันได้ และท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกอีกว่า การหวังอยากมีเหมือนคนอื่นเพื่อจะได้แข่งขันทำความดีในเรื่องศาสนานั้นไม่ถือเป็นการอิจฉาที่น่าตำหนิ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

เตือนให้ระวังฟิตนะฮฺจากผู้หญิง - (ไทย)

ฟิตนะฮฺของสตรีนั้นใหญ่หลวงนัก ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนให้ระมัดระวัง และกล่าวว่ามันเป็นฟิตนะฮฺอันดับหนึ่งของพวกบนีอิสรออีล การอยู่ลำพังกับนางเป็นก็ฟิตนะฮฺ –และมันเป็นสิ่งที่ชัยฏอนมารร้ายทั้งจากญินและคนนั้นพยายามยั่วยุให้เกิดขึ้นในทุกวันนี้ – และการที่นางออกจากบ้านของนางโดยไม่มีความจำเป็นก็เป็นฟิตนะฮฺได้ และการเชื่อฟังนางในทุกเรื่องที่นางต้องการนั้นก็เป็นฟิตนะฮฺได้ ฉะนั้น จึงต้องคอยระมัดระวังฟิตนะฮฺเหล่านี้ ซึ่งบางทีไม่สามารถดับมันได้หากปล่อยปละละเลยในตอนแรก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ข้อปฏิบัติในการฝังศพ - (ไทย)

ในการฝังคนตายมีข้อปฏิบัติและสุนนะฮฺที่มุสลิมควรยึดถือ และช่วยกันรักษาเพื่อจะได้ปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ข้อปฏิบัติบางอย่างเกี่ยวกับคนตาย - (ไทย)

กล่าวถึงข้อปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับการจัดการศพ อาทิ การหอมคนตาย การรีบจัดการศพ การห้ามด่าคนตาย การจ่ายหนี้ให้คนตาย ฯลฯ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับมันในการจัดการกับศพ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

สิ่งที่ใช้อ่านในการละหมาดญะนาซะฮฺ - (ไทย)

ผู้ละหมาดให้อ่านฟาติหะฮฺในละหมาดคนตายหลังจากตักบีรครั้งที่หนึ่ง และหลังตักบีรที่สองให้อ่านเศาะละวาตให้ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) เหมือนที่อ่านตอนนั่งตะชะฮ์ฮุด หลังจากนั้นให้ขอดุอาอ์ให้คนตายในตักบีรที่สาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

พินัยกรรมและหลักการของมัน - (ไทย)

คนเราบางทีอาจสิทธิ์ที่ต้องทำให้คนอื่น และเขาไม่รู้ว่าความตายจะมาจู่โจมเมื่อไหร่ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงใช้ให้เขียนบันทึกคำสั่งเสีย และได้กำหนดกฏเกณฑ์ที่มุสลิมควรเรียนรู้เอาไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ส่งเสริมให้อดทน และดุอาอ์เมื่อประสบทุกข์ภัย - (ไทย)

การอดทนต่อทุกข์ภัยและหวังในการตอบแทนที่ต้องพบกับความทุกข์นั้นเป็นตัวชี้วัดถึงความเข้มแข็งของการศรัทธา และมันเป็นเหตุให้ได้รับพระเมตตาของอัลลอฮฺ และให้มีบั้นปลายชีวิตที่ดี ด้วยเหตุนี้ท่านเราะสุลุลลอฮฺจึงหันหน้าสู่ความอดทนยามประสบทุกข์ภัย และสอนให้ประชาชาติของท่านให้กล่าวดุอาอ์ในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการละหมาดคนตาย - (ไทย)

การละหมาดคนตายมีหลักปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำเป็นแบบอย่างเอาไว้ และบางประการมีมากกว่า 1 แบบ ก็อนุญาตให้ทำได้ทั้งสองแบบ มีบัญญัติสำหรับผู้พลาดการละหมาดคนตายยังสามารถละหมาดให้ได้แม้ว่าเขาจะถูกฝังไปแล้วก็ตาม เช่นเดียวกันกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) มีบัญญัติให้ละหมาดคนตายให้แก่คนตายที่ตัวไม่อยู่ด้วยได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม