×
Image

คุฏบะฮฺ หนึ่งความลับแห่งเราะมะฎอน - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความลับของเดือนเราะมะฎอนในการสร้างบุคลิกลักษณะที่ดีของมุสลิม ทั้งในด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา ร่างกาย และการเข้าสังคม ภารกิจต่างๆ ในเดือนเราะมะฎอนล้วนแล้วส่งผลต่อการพัฒนาตนเองสู่ความสมบูรณ์ครอบคลุมในชีวิตทุกๆ ด้าน และมีส่วนช่วยออกแบบสไตล์การดำเนินชีวิตที่สวยงามภายใต้ร่มเงาคำสอนอิสลามที่เรียบง่ายทรงพลัง

Image

คุฏบะฮฺ เดือนเราะมะฎอนสอนอะไรเราบ้าง ? - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ มาร่วมทำความเข้าใจบทเรียนจากเดือนเราะมะฎอนในด้านต่างๆ อาทิ บทเรียนด้านจิตวิญญาณ บทเรียนด้านการอบรมขัดเกลา บทเรียนด้านจรรยามารยาท บทเรียนด้านสังคม เพื่อสานต่อบรรยากาศแห่งความดีที่ยั่งยืนตลอดทั้งปี

Image

อันตรายของลิ้น - (ไทย)

กล่าวถึงความสำคัญของลิ้นและอันตรายจากการใช้ลิ้นพูดจาในสิ่งที่นำภัยมาแก่ตนเอง ซึ่งมีหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษที่ได้กล่าวเตือนให้มุสลิมระวังจากการใช้ลิ้นพร่ำเพรื่อ เพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คนคนหนึ่งต้องตกนรกเลยทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

คุฏบะฮฺ ถือศีลอดเราะมะฎอนด้วยอีมานและอิห์ติสาบ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ อะไรคือ "อีมาน" และ "อิห์ติสาบ" ในการถือศีลอด, การกิยาม และลัยละตุลก็อดร์ ? ทำไมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงต้องทวนสองเงื่อนไขนี้ถึงสามวาระในเดือนเราะมะฎอน ? ตามที่ปรากฏในหะดีษของท่าน อธิบายความหมายโดยสรุปถึงสองเงื่อนไขหลักนี้ ที่จะทำให้การถือศีลอดของเราเกิดผลอย่างเต็มประสิทธิภาพ

Image

หัจญ์ คือ โรงเรียนอันยิ่งใหญ่ - (ไทย)

แท้จริง หัจญ์เป็นโรงเรียนขัดเกลาความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ บรรดามุสลิมจะได้รับบทเรียนจากหัจญ์ ประโยชน์ และประสบการณ์ ในด้านต่างๆมากมายครอบคลุมทุกมิติของศาสนา ไม่ว่าจะเป็นด้านหลักศรัทธา การประกอบศาสนากิจ และความประพฤติ ฯลฯ แต่ละคนจะได้รับประโยชน์จากหัจญ์ที่แตกต่างกันไป ตามพลังความพยายามและการแสวงหาที่ดีของแต่ละคน ส่วนทางนำนั้นอยู่พระหัตถ์ของอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว เป็นบทความจากหนังสือบทเรียนด้านอะกีดะฮฺจากหัจญ์ ของเชคอับดุรร็อซซาก อัล-บัดรฺ

Image

วะลีมะฮฺ (งานเลี้ยง) ของคู่บ่าวสาว - (ไทย)

อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดวะลีมะฮฺ หรืองานเลี้ยงเนื่องในโอกาสการสมรส ประกอบด้วย หุก่มการจัดวะลีมะฮฺ หุก่มตอบรับคำเชิญงานวะลีมะฮฺของคู่บ่าวสาว สิ่งที่ควรกล่าวสำหรับคนที่ร่วมงานวะลีมะฮฺ หุก่มการรับประทานอาหารในวะลีมะฮฺ การร่วมงานที่มีอบายมุข เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ (อัพเดทแก้ไขปรับปรุงล่าสุด 6-6-2009)

Image

คุฏบะฮฺ เราะมะฎอนมาแล้ว อัลกุรอานของเราอยู่ที่ไหน ? - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ สะกิดเตือนและปลุกจิตสำนึกชาวมุสลิมให้ตื่นตัวกับการมาถึงของเดือนเราะมะฎอน และให้เห็นความสำคัญของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นประการหลักที่โดดเด่นที่สุดในเดือนนี้ จึงควรตั้งใจและจัดการตัวเองให้สามารถเชื่อมโยงกับอัลกุรอานให้มากที่สุดในช่วงเวลาอันมีค่าของเดือนเราะมะฎอน โดยหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนและแรงผลักดันให้ชีวิตได้ผูกพันกับอัลกุรอานตลอดไป

Image

หะดีษริยาฎุศศอลิฮีน : บทว่าด้วยความอิคลาศ - (ไทย)

รวมหะดีษต่างๆ ของนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าด้วยอิคลาศ-ความบริสุทธิ์ใจและตั้งเจตนาที่บริสุทธิ์ในทุกๆ การกระทำ คำพูด และทุกๆ อิริยาบถทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น จากหนังสือริยาฎุศศอลิฮีน ของอิมาม อัน-นะวะวีย์

Image

คุฏบะฮฺ จงวางแผนสำหรับเราะมะฎอน ! - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ การเตรียมตัวและวางแผนสำหรับเดือนเราะมะฎอน เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องให้พร้อมสำหรับการรับประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อเราะมะฎอนมาถึง ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอด การละหมาดกลางคืน การอ่านอัลกุรอาน การดูแลสังคมและจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่จะตักตวงความดีงามในระดับปัจเจกและสังคมอย่างดีเยี่ยม

Image

เราะมะฎอน ระหว่างศิยามและอัลกุรอาน - (ไทย)

บทบรรยายที่วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการศิยาม (การถือศีลอด) และการประทานอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน ซึ่งแท้จริงแล้ว หากสังเกตโดยไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก็จะเห็นว่า ฟัรฎูการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนมีความเกี่ยวข้องแนบแน่น กับการที่อัลลอฮฺประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนอันยิ่งใหญ่นี้

Image

ผู้ใดละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทดแทนสิ่งที่ดีกว่าให้ - (ไทย)

อธิบายหนึ่งในคุณลักษณะอันยิ่งใหญ่ของเอกองค์อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า นั่นคือความเมตตาอันล้นพ้นของพระองค์ต่อปวงบ่าวผู้ศรัทธา โดยการที่พระองค์จะทรงทดแทนสิ่งต่างๆ ที่บ่าวละทิ้งในชีวิตเนื่องจากแสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ ด้วยการตอบแทนที่ดีกว่าทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การลำพองตน - (ไทย)

ลักษณะที่น่ารังเกียจประการหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้ห้ามไว้ก็คือ การลำพองตนและหลงระเริงกับชีวิตในดุนยา บทความนี้อธิบายประเภทต่างๆ ของความลำพอง อาทิ การลำพองของผู้ปฏิเสธศรัทธา การลำพองของผู้ศรัทธาที่ฝ่าฝืน การลำพองของผู้ที่ทำชั่วมากกว่าความดี รวมทั้งอธิบายสรุปประเภทของคนเกี่ยวกับความลำพอง คือ คนที่ลำพองตนกับชีวิตในดุนยาจนกระทั่งเสียชีวิต และคนที่ลำพองตนกับการทำความดีของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความอิคลาศและบริสุทธิ์ใจ เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุรอรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์