×
Image

ลัยละตุลก็อดรฺ จะมีขึ้นในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

ถาม : อัลลอฮฺ-สุบหานะฮู วะตะอะลา-ได้ให้ความประเสริฐในเดือนเราะมะฎอนอันศิริมงคลเหนือกว่าเดือนอื่นๆ ที่เหลือ และช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนประเสริฐกว่าค่ำคืนอื่นๆ ทั้งปี ค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ (ลัยละตุลก็อดรฺ) มีความประเสริฐยิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน จึงขอเรียนถามว่า ค่ำคืนอัล-ก็อดรฺจะเกิดขึ้นในวันที่จำกัด หรือมันจะเกิดขึ้นในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนเท่านั้น? ตอบโดยเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ

Image

การห่อศพ - (ไทย)

ข้อมูลว่าด้วยการห่อศพ อาทิ ลักษณะการห่อศพ ลักษณะการห่อศพของชะฮีด ลักษณะการห่อศพของผู้ที่ครองอิหฺรอม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

ความสำคัญของการขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) - (ไทย)

คุฎบะฮฺที่กล่าวถึงความสำคัญของการอิสติฆฟาร หรือการขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่บ่าวผู้ศรัทธาต้องระลึกถึงและปฏิบัติอยู่เป็นนิจ เพื่อปกป้องตัวเองให้พ้นจากการลงโทษของพระองค์ และเพื่อความสุขความสำเร็จที่ได้ทรงสัญญาไว้

Image

การเห็น ลัยละตุลก็อดรฺ - (ไทย)

คำถาม : ค่ำคืนอัล-ก็อดรฺสามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยสายตาของมนุษย์หรือไม่? เพราะมีบางคนกล่าวว่า มนุษย์สามารถเห็นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺโดยที่จะเห็นแสงปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าหรืออะไรในทำนองนี้ แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาอัครสาวกเศาะหาบะฮฺ ริฎวานุลลอฮฺ อะลัยฮิม รู้ลัยละตุลก็อดรฺได้ด้วยกับวิธีใด? บุคคลหนึ่งจะรู้ว่าได้อย่างไรว่าเขาพบกับค่ำคืนอัล-ก็อดรฺแล้ว? เขาจะได้รับภาคผลบุญจากค่ำคืนอัล-ก็อดรฺหรือไม่ หากแม้ว่าในค่ำคืนนั้นเขาไม่สามารถเห็นมัน? เราหวังว่าได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้ พร้อมกับหลักฐานประกอบ ตอบโดยเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ

Image

สิ่งที่เป็นมักรูฮฺ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ถือศีลอด - (ไทย)

บทความว่าด้วยสิ่งที่เป็นมักรูฮฺ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ถือศีลอด เช่น หุก่มการจูบและการเล้าโลมภรรยาสำหรับผู้ที่ถือศีลอด อัล-วิศอล(การถือศีลอดติดต่อกัน)ที่อนุญาตและต้องห้าม ลักษณะการถือและการละศีลอดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

ตัฟซีรสูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์ - (ไทย)

ชุดตัฟซีรอัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มะอาริจญ์ ที่ถ่ายทอดผ่านวิทยุคลื่นคนรักษ์อัลกุรอาน โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ สตูล ผู้บรรยายได้แบ่งการบรรยายเป็นตอนๆ โดยอาศัยหลักฐานและทัศนะของอุละมาอ์ที่เชื่อถือได้ในการอธิบาย พร้อมแทรกบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับไว้ด้วยในบางครั้ง

Image

เรื่องราวของท่านนบียูนุส อะลัยฮิสสลาม - (ไทย)

เรื่องราวต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงเล่าถึงท่านนบียูนุส อะลัยฮิสสลาม ในคัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อที่เราจะได้นำมาเป็นข้อคิดและบทเรียน และเพื่อให้หัวใจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หนักแน่นและสงบนิ่ง เป็นการเพิ่มพลังความศรัทธา เป็นข้อเตือนสติให้บรรดาผู้ศรัทธา และประโยชน์อื่น ๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ความรีบร้อน - (ไทย)

อธิบายคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ประการหนึ่ง นั่นคือความรีบร้อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺ การทำอิบาดะฮฺโดยขาดสมาธิ รวมถึงอธิบายผลเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากนิสัยไม่ดีข้อนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การฮิจญ์เราะฮฺของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกิดขึ้นในเดือนเราะบีอุลเอาวัล - (ไทย)

บทความที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวันเวลาในการฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนเราะบีอุลเอาวัล ไม่ใช่ในเดือนมุหัรร็อมตามที่อาจจะเกิดความเข้าใจผิดของหลายๆ คน พร้อมฟัตวาเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่อิสลาม

Image

หุก่มการจัดงานฉลองคืนอิสรออ์มิอฺรอจญ์ - (ไทย)

บทความที่กล่าวอธิบายเกี่ยวกับคืนอิสรออ์มิอฺรอจญ์ และเครื่องหมายต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในคืนนั้นเป็นหลักฐานยืนยันความสัจจริงของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และยังได้พูดถึงข้อชี้ขาดของการเฉลิมฉลองรวมถึงบิดอะฮฺหรืออุตริกรรมทางศาสนาที่มีการจัดขึ้นในคืนนี้

Image

ชีวประวัติของ ท่านฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ - (ไทย)

เรื่องราวส่วนหนึ่งของท่านฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ หนึ่งในสิบเศาะหาบะฮฺที่ได้รับการประกันว่าเป็นชาวสวรรค์ กล่าวถึงความเก่งกาจและความกล้าหาญของท่าน รวมถึงบทบาทสำคัญในการปกป้องอิสลาม และยังเป็นผู้ที่ได้รับการขนามนามว่า ฏ็อลหะฮฺ อัล-ค็อยรฺ และ ฏ็อลหะฮฺ อัล-ฟัยยาฎ เพราะความใจบุญของท่าน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ส่งเสริมให้ช่วยเหลือคนอ่อนแอ และคนถูกอธรรม - (ไทย)

อธิบายหะดีษบางบทว่าด้วย ส่งเสริมให้ช่วยเหลือคนอ่อนแอและคนถูกอธรรม ซึ่งอัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้ช่วยคนโดนอธรรมและให้อยู่ฝ่ายเดียวกับเขา ตรงข้ามกับคนอธรรม เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงการไม่ยอมรับความชั่ว(อิงการ มุงกัร) และเป็นการช่วยเหลือคนอ่อนแอ และเป็นการขจัดการอธรรมตามที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม