×
คำถาม : ค่ำคืนอัล-ก็อดรฺสามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยสายตาของมนุษย์หรือไม่? เพราะมีบางคนกล่าวว่า มนุษย์สามารถเห็นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺโดยที่จะเห็นแสงปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าหรืออะไรในทำนองนี้ แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาอัครสาวกเศาะหาบะฮฺ ริฎวานุลลอฮฺ อะลัยฮิม รู้ลัยละตุลก็อดรฺได้ด้วยกับวิธีใด? บุคคลหนึ่งจะรู้ว่าได้อย่างไรว่าเขาพบกับค่ำคืนอัล-ก็อดรฺแล้ว? เขาจะได้รับภาคผลบุญจากค่ำคืนอัล-ก็อดรฺหรือไม่ หากแม้ว่าในค่ำคืนนั้นเขาไม่สามารถเห็นมัน? เราหวังว่าได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้ พร้อมกับหลักฐานประกอบ ตอบโดยเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ

    ว่าด้วยเรื่องการเห็นค่ำคืน อัล-ก็อดรฺ (ลัยละตุลก็อดรฺ)

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อับดุลอะซีซ บิน อับดุลลอฮฺ บิน บาซ

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : www.binbaz.org.sa

    2011 – 1432


    ﴿ حول رؤية ليلة القدر

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ عبد العزيز بن عبد الله بن باز رحمه الله

    ترجمة: يوسف أبوبكر

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: الموقع الرسمي لفضيلة الشيخ www.binbaz.org.sa

    2011 – 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ว่าด้วยเรื่องการเห็นค่ำคืน อัล-ก็อดรฺ (ลัยละตุลก็อดรฺ)

    คำถาม : ค่ำคืนอัล-ก็อดรฺสามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยสายตาของมนุษย์หรือไม่? เพราะมีบางคนกล่าวว่า มนุษย์สามารถเห็นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺโดยที่จะเห็นแสงปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าหรืออะไรในทำนองนี้ แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาอัครสาวกเศาะหาบะฮฺ ริฎวานุลลอฮฺ อะลัยฮิม รู้ลัยละตุลก็อดรฺได้ด้วยกับวิธีใด? บุคคลหนึ่งจะรู้ว่าได้อย่างไรว่าเขาพบกับค่ำคืนอัล-ก็อดรฺแล้ว? เขาจะได้รับภาคผลบุญจากค่ำคืนอัล-ก็อดรฺหรือไม่ หากแม้ว่าในค่ำคืนนั้นเขาไม่สามารถเห็นมัน? เราหวังว่าได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้ พร้อมกับหลักฐานประกอบ

    คำตอบ : ในบางครั้งสามารถพบเห็นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺได้ สำหรับผู้ที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานเตาฟีก(การอนุมัติของพระองค์)ให้แก่เขา โดยการรู้ได้จากเครื่องหมายต่างๆ ของมัน ซึ่งบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ต่างได้ใช้เครื่องหมายต่างๆ เป็นหลักฐานประกอบว่าเห็นคืนที่ว่านี้ แต่ทว่าการที่ไม่ได้พบเห็นเครื่องหมายของค่ำคืนนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ละหมาดด้วยความศรัทธาและหวังภาคผลบุญจะไม่ได้รับความประเสริฐในค่ำคืนนี้ ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะต้องมีความมุ่งมั่นในการแสวงหาความดีงามในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน เสมือนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่งเสริมให้แสวงหาภาคผลบุญ และหากว่าการละหมาดด้วยความศรัทธาและหวังผลบุญตรงกับคืนนั้นเขาก็จะได้รับภาคผลบุญอย่างแน่นอนถึงแม้ว่าเขาไม่รู้ว่าคืนนั้นเป็นคืนอัล-ก็อดรฺหรือไม่ก็ตามที ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม

    «مَنْ قَامَ لَيْلَةَ القَدْرِ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» (البخاري برقم 1901، ومسلم برقم 7060)

    ความหมาย “ผู้ใดที่ละหมาดกิยามในค่ำคืนอัล-ก็อดรฺด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดที่ผ่านมา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 1901 และมุสลิมหมายเลขหะดีษ 7060)

    ในอีกสายรายงานมีว่า

    «مَنْ قَامَهَا ابْتِغَاءَهَا ثُمَّ وَقَعَتْ لَهُ، غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ» (البخاري 4/221، ومسلم برقم 760)

    ความหมาย “ผู้ใดที่ละหมาดกิยามในค่ำคืนอัล-ก็อดรฺด้วยความปรารถนาที่จะพบมัน ต่อจากนั้นมันก็ได้ประสบกับเขาจริง เขาก็จะได้รับการอภัยจากความผิดที่ผ่านมาและที่จะเกิดขึ้น" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 4/221 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 760)

    มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม บอกถึงเครื่องหมายที่ชี้ถึงว่าคืนไหนเป็นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺ คือ ดวงอาทิตย์จะขึ้นในตอนเช้าไม่ส่องแสงร้อนจ้า(มีแสงนวล) และอุบัยย์ บิน กะอับ ได้สาบานว่ามันจะอยู่ในคืนที่ 27 อันเนื่องจากเขาได้เห็นเครื่องหมายนี้ และตามทัศนะที่มีน้ำหนักมันจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกคืนในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน โดยเฉพาะในคืนคี่จงพยายามแสวงหาให้มากยิ่งกว่า ส่วนที่ว่ามันอยู่ในคืนที่ 27 นั้นก็เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าเป็นคืนคี่ ดังนั้นผู้ใดที่ได้แสวงหามันในค่ำคืนทั้งหมด ด้วยการละหมาด อ่านอัลกุรอาน วิงวอนขอดุอาอ์ และประกอบคุณงามความดีประเภทอื่นๆ เขาจะได้พบกับคืนอัล-ก็อดรฺอย่างแน่นอน และจะได้รับชัยชนะตามที่อัลลอฮฺทรงสัญญาเอาไว้แก่ผู้ที่แสวงหามันเมื่อเขาได้กระทำด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ

    อัลลอฮฺคือผู้ทรงประทานความสำเร็จ การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงบรรดาวงศาคณาญาติ และบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมดด้วยเทอญ

    ที่มา: มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา วะ มะกอลาต มุตะเนาวิอะฮฺ เล่มที่ 6 โดยชัยค์อับดุลอะซีซ บินบาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ http://www.binbaz.org.sa/mat/374