×
Image

ข้อปฏิบัติบางประการในเรื่องมรดก - (ไทย)

อัลลอฮฺทรงกำหนดส่วนแบ่งมรดกไว้ในคัมภีร์ของพระองค์แล้ว และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายอย่างกระจ่างแจ้ง ไม่ได้ปล่อยให้เป็นตามอารมณ์หรือความปรารถนาของแต่ละคน และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ห้ามละเมิดในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้แก่บ่าวของพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

นางสวรรค์ - (ไทย)

นางสวรรค์ หรือ หูรุลอีน กล่าวถึงนิอฺมัตประการหนึ่งของชาวสวรรค์ ที่อัลลอฮฺทรงเตรียมไว้เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่กระทำความดีและได้เข้าสวรรค์ อธิบายลักษณะความงดงามของนางสวรรค์ ความบริสุทธิ์ และความสุขอันสถาพรที่มุสลิมควรเอาจริงเอาจังในการทำความดีเพื่อให้ได้รับรางวัลดังกล่าวนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การจ่ายดิยะฮฺกรณีฆ่าคนตาย - (ไทย)

อธิบายข้อมูลว่าด้วยการจ่ายดิยะฮฺกรณีฆ่าคนตาย อาทิ หุก่มการจ่ายดิยะฮฺ ดิยะฮฺของอะฮฺลุลกิตาบ ดิยะฮฺของกาฟิร ดิยะฮฺของทารกในครรภ์ ผู้ที่ต้องจ่ายดิยะฮฺกรณีเกิดอุบัติเหตุ ใครที่ต้องรับผิดชอบจ่ายดิยะฮฺ ทรัพย์สินกลางต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินและดิยะฮฺในกรณีต่างๆ การฆ่าชาวซิมมีย์ หุก่มการจ่ายดิยะฮฺเมื่อฆาตกรเสียชีวิต จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

ฮิจญ์เราะฮฺกับการรังสรรค์สังคมสันติภาพ (บทเรียนจากการฮิจญ์เราะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด) - (ไทย)

นับเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์หากสังคมมุสลิมตื่นตัวเพียงแค่ศึกษาประวัติฮิจญ์เราะฮฺ ตลอดจนต้อนรับฮิจญ์เราะฮฺเป็นเทศกาลประจำปี แต่บางส่วนของแนวคิด จุดยืน พฤติกรรม การปฏิบัติ รวมถึงการแสดงออกของสังคมมุสลิมยังสวนทางกับบทบัญญัติอันแท้จริงของอัลลอฮฺ สุบนาฮู วะตะอาลา.

Image

แหล่งแจกจ่ายซะกาต - (ไทย)

บทความว่าด้วยชาวซะกาตหรือผู้ที่สามารถรับซะกาตได้ จำนวนประเภทชาวซะกาต หุก่มการทำให้ทรัพย์ซะกาตงอกเงย ผู้ที่อนุญาตให้มอบซะกาตให้แก่เขาได้ หุก่มการให้ซะกาตแก่ลูกหรือพ่อแม่หรือสามีภรรยา ผู้ที่ไม่อนุญาตให้มอบซะกาตให้ สิ่งที่ผู้รับซะกาตควรกล่าว หุก่มการบอกว่าเป็นซะกาต จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

บทซิกิรเฉพาะสำหรับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ - (ไทย)

กล่าวถึงบทซิกิรเฉพาะตามสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ ตามแบบฉบับซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สำหรับการปฏิบัติของมุสลิมในชีวิตประจำวัน

Image

ชีวิตกับการทดสอบ - (ไทย)

ชีวิตกับการทดสอบ กล่าวถึงกฎเกณฑ์ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดมาให้กับมนุษย์ในโลกนี้ กล่าวคือพวกเขาจะถูกทดสอบตามสภาพความศรัทธาของแต่ละคน และทางออกที่จะให้รอดพ้นจากการทดสอบอันหนักหน่วงนั้น คือการยึดมั่นกับอัลกุรอานและซุนนะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

รุก่นต่างๆ ของการละหมาด - (ไทย)

จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ อธิบายรุก่น หรือองค์ประกอบต่างๆ ของการละหมาด และอธิบายหุก่มผู้ที่ละเลยรุก่นหนึ่งรุก่นใดของการละหมาด และหุก่มการอ่านฟาติหะฮฺในละหมาด

Image

คุฏบะฮฺ สร้างประชาชาติที่ดีเริ่มต้นจากครอบครัว - (ไทย)

กล่าวถึงความสำคัญและบทบาทของครอบครัวมุสลิม อันเป็นฐานสำคัญในการสร้างประชาชาติตัวอย่างตามอุดมการณ์ของอิสลาม ที่อัลลอฮฺได้เรียกร้องในคัมภีร์อัลกุรอาน ด้วยการอบรมสั่งสอนลูกๆ ให้อยู่ในครรลองของศาสนาและเตรียมพร้อมสู่กับรับหน้าที่ทำงานเพื่ออิสลามในวันข้างหน้า

Image

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล - (ไทย)

อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล คือการอธิบายกฎเกณฑ์แห่งชัยชนะ ต้องมีทั้งด้าน ร็อบบานียะฮฺ(เงื่อนไขด้านการศรัทธาเชื่อมั่น) และด้าน มาดดียะฮฺ (เงื่อนไขทางด้านวัตถุปัจจัย) สูเราะฮฺอัล-อันฟาล เป็นสูเราะฮฺมะดะนียะฮฺ ซึ่งถูกประทานลงมาหลังจากเกิดสงครามบะดัรฺ โดยถือเป็นสงครามแรกในประวัติศาสตร์อิสลามอันรุ่งโรจน์ และถือเป็นชัยชนะแรกของกองทัพแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ชื่อว่า อัร-เราะหฺมาน กระทั่งเศาะหาบะฮฺบางท่านได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “สูเราะฮฺบะดัร” และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ในอัลกุรอานว่า “อัลฟุรกอน” เนื่องจากสูเราะฮฺนี้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้อย่างยืดยาว และยังมีการนำเสนอแบบแผนของการทำสงครามอย่างละเอียด พร้อมทั้งยังมีการชี้แจงถึงความจำเป็นที่มุสลิมต้องเป็นวีรบุรุษ และมีจุดยืนต่อความเท็จด้วยความกล้าหาญชาญชัยและยืนหยัดอย่างมั่นคง

Image

ซะกาตฟิฏรฺ - (ไทย)

กล่าวถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ หรือ ซะกาตฟิตเราะฮฺ ระบุหลักฐานจากหะดีษที่เป็นต้นบัญญัติของอะมัลดังกล่าว รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนของซะกาต สิ่งใดที่ใช้ออกซะกาต ผู้ที่สามารถรับซะกาตฟิฏรฺได้ เป็นต้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อัล-ลุเกาะเฏาะฮฺ และ อัล-ละกีฏ (ทรัพย์สินที่พบตกหล่น และ เด็กที่ถูกทิ้ง) - (ไทย)

อธิบายความหมายของ อัล-ลุเกาะเฏาะฮฺ และ อัล-ละกีฏ (ทรัพย์สินที่พบตกหล่น และ เด็กที่ถูกทิ้ง) หุก่มของสิ่งที่ตกหล่น ทรัพย์สินที่สูญหายแบ่งเป็น 3 ประเภท หุก่มของทรัพย์สินที่หล่นหายหลังจากการประกาศ สิ่งที่พึงกระทำต่อสิ่งของที่พบแล้วเก็บไว้ หุก่มสิ่งตกหล่นในแผ่นหะรอม(มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ) หุก่มการถามหาสัตว์ที่พลัดหลงในมัสยิด หุก่มการเก็บเด็กที่ถูกพบ การดูแลเลี้ยงดูเด็กที่ถูกพบ การคืนเด็กแก่ผู้ปกครอง มรดกของเด็กที่ถูกพบ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์