ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน เป็นบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอิสลาม โดยอาศััยปฐมโองการที่ถูกประทานลงมาจากอัลกุรอานเป็นหลักในการวิเคราะห์ นั่นคือ อายะฮฺ "อิกเรา่ะอ์" จากสูเราะฮฺ อัล-อะลัก โองการที่ 1-5
ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน - (ไทย)
เราคือประชาชาติเดียวกัน - (ไทย)
เราคือประชาชาติเดียวกัน หรือ ประชาชาติเดียวกัน คือ หลักการหนึ่งของ อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ บทวิเคราะห์แนวคิดการแตกเป็นกลุ่มต่างๆ ของประชาชาติมุสลิม และอธิบายจุดยืนของกลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) ต่อกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้กรอบของความเป็นประชาชาติเดียวกัน (อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) อันจะนำไปสู่เอกภาพและสันติสุขของมนุษย์โลกทั้งผอง
บทบัญญัติเกี่ยวกับสตรีในอิสลาม - (ไทย)
หนังสือที่เรียบเรียงโดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสตรีในอิสลาม อาทิ - สตรีในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ - สตรีในสังคม - การแต่งงานและความสัมพันธ์ทางเพศ - การมีภรรยาหลายคนกับปรากฏการณ์ของความเข้าใจผิด - การหย่าในกฎหมายอิสลาม - ความผิดซินา (ความผิดประเวณี) - การวางแผนครอบครัวและการทำแท้ง - ความเท่าเทียมของสตรีในอิสลาม - สตรีและการศึกษา - สิทธิทางเศรษฐกิจของสตรีในชะรีอะฮฺ - การให้ความเสมอภาคทางสังคมและการเมืองแก่สตรีในประเทศมุสลิม โดย ผศ.ดร.มุฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ จากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
นะศีหะฮฺเตือนใจที่ฉายภาพตัวอย่างในอดีตจากยุคของบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มีความมุ่งมั่นอยู่กับการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตลอดเวลา ด้วยการหมั่นละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ทำให้พวกเขาได้รับการสมญานามจากอัลลอฮฺเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะ รุกกะอัน สุจญะดัน หมายถึงรุกูอฺและสุญูดอย่างมากมาย บทความชิ้นนี้จะชักชวนให้เราทบทวนตัวเองและมองย้อนไปยังอดีตอันรุ่งโรจน์เพื่อเอาเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมปัจจุบัน
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของจารีตประเพณีและอิทธิพลของจารีตประเพณีที่มีต่อกฎหมายอิสลาม โดยมุ่งเน้นนำเสนอถึงอิทธิพลของจารีตประเพณีมีต่อมนุษย์และกฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะกฎหมายอิสลาม ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลมาก ทั้งนี้อาจเป็นในฐานะแหล่งที่มาหรือเป็นหลักการหนึ่งของการวินิจฉัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในการใช้กฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายอิสลามจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อใช้ในการตีความ เพื่อเข้าใจในตัวบทกฎหมาย เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าตำรากฎหมายเพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาในการเข้าใจสถานการณ์ และสุดท้ายเพื่อใช้เป็นแนวในการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้การวิเคราะห์เอกสาร พบว่าจารีตที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายนั้นจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้คือ ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดกับตัวบท ต้องถูกยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปหรือจากผู้คนส่วนใหญ่ ต้องเป็นที่ยังนิยมใช้กันอยู่ และต้องไม่มีคำยืนยันจากผู้ใช้ว่ามีเจตนาเป็นอย่างอื่นที่ผิดไปจากจารีตประเพณีดังกล่าว
งานเขียนที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ว่าด้วยความหมายของคำว่า อุมมะตัน วะสะฏอ หรือประชาชาติสายกลาง ตามที่อัลลอฮฺได้ประกาศในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และความเห็นของบรรดาอุละมาอ์ รวมทั้งตอบข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นความคลุมเครือเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอุมมะตัน วะสะฏอ
สู่การเป็นประชาชาติที่ดีเลิศ - (ไทย)
สู่การเป็น ค็อยเราะอุมมะฮฺ หรือ ประชาชาติที่ดีเลิศ ด้านจริยธรรม วินัย และจิตบริการ อธิบายแนวทางจากอัลกุรอานสู่การสร้างปัจเจกบุคคล และกลุ่มชนที่ทำงานทำนุบำรุงความดีงามให้แก่สังคมและโลก วิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เดิมเป็นสาส์นจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามเนื่องในโอกาสค่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยปี 2011.
โรคคร้านอิบาดะฮฺ - (ไทย)
โรคคร้านอิบาดะฮฺ อธิบายอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดความขี้เกียจและไม่กระตือรือร้นในการทำความดีต่างๆ รวมถึงระบุผลเสียที่เิกิดจากโรคดังกล่าว พร้อมทั้งแนะนำวิธีการแก้ไขเพื่อไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามและทำลายบุคลิกภาพการเป็นมุสลิมที่ดี
นะศีหะฮฺกล่าวเตือนสะกิดใจให้เห็นถึงพิษภัยบางประการของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยคำนึงถึง ซึ่งมักจะใช้มันในทางที่ผิดและก่อผลเสียให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว แม้กระทั่งตัวเองได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม
คุฏบะฮฺอีดิลฟิฏรฺ ฮ.ศ.1433 โดยอาจารย์มัสลัน มาหะมะ เผยแพร่โดยเครือข่ายวิทยุชุมชน สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ในหัวข้อ “นาวาแห่งความรอดพ้น” กล่าวถึงความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องยึดมั่นกับอิสลาม อันเป็นสัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า ผ่านโองการอัลกุรอานที่นำมาเผยแพร่โดยศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อความรอดพ้นท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งโลกดุนยาที่ถาโถมอย่างหนักหน่วง ทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์ปลอดภัยก็คือการขึ้นไปอยู่บนเรือของอิสลาม ที่สามารถล่องฝ่ากระแสต่างๆ ไปสู่ฝั่งแห่งความสำเร็จในอาคิเราะฮฺได้
แต่งงานง่าย ซินายาก - (ไทย)
หนังสือที่เตือนสติให้สังคมมุสลิมคำนึงถึงปัญหาการผิดประเวณีและภัยต่างๆ ที่มาพร้อมกับปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายถึงคำสอนอิสลามที่ได้เตรียมการป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้วยการแต่งงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
คุฏบะฮฺอีดิลอัฎฮา ฮ.ศ.1433 กล่าวถึงเนื้อหาแห่งสันติภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอิสลามฉบับแรก ที่ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกาศใช้ในเมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพ เป็นปฐมบทสารแห่งสันติภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของอิสลามอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนสันติภาพระหว่างมวลมนุษย์ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด