×
Image

หลักความเชื่อมุสลิมตามแนวการอธิบายของอะฮฺลุส สุนนะฮฺ วัล ญะมาอะฮฺ - (ไทย)

หนังสือที่อธิบายถึงหลักความเชื่อของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ ที่ครอบคลุมหลักศรัทธาทั้งหกประการ คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อมะลาอิกะฮฺ ต่อคัมภีร์ ต่อศาสนทูต ต่อวันกิยามะฮฺ และต่อกฎสภาวการณ์ของอัลลอฮฺ เพียบพร้อมด้วยหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ โดยอาศัยการเรียบเรียงอย่างกระชับรัดกุมและง่ายต่อการทำความเข้าใจ

Image

การทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต เปิดมุมมองดะอฺวะฮฺในโลกไซเบอร์ - (ไทย)

เวทีเสวนา การทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต เปิดมุมมองดะอฺวะฮฺในโลกไซเบอร์(ไฟล์วิดีโอ) เวทีเสวนา การทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต เปิดมุมมองดะอฺวะฮฺในโลกไซเบอร์ จัดขึ้นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างนักทำงานอิสลามบน อินเตอร์เน็ต และร่วมหาทางเืพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่วมสร้างสรรค์โดย กองดะอฺวะฮฺอิเล็กทรอนิคส์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อิกเราะอ์ออนไลน์ และชมรมนักศึกษาไทยกรุงริยาด เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2008 โดยมีวิทยากรจากเว็บไซต์ พินออนไลน์ อิสลามอินไซด์ อัซซุนนะฮฺ และฟิตยะฮฺ ร่วมให้ข้อมูล

Image

ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน - (ไทย)

ความรู้ตามทัศนะอัลกุรอาน เป็นบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอิสลาม โดยอาศััยปฐมโองการที่ถูกประทานลงมาจากอัลกุรอานเป็นหลักในการวิเคราะห์ นั่นคือ อายะฮฺ "อิกเรา่ะอ์" จากสูเราะฮฺ อัล-อะลัก โองการที่ 1-5

Image

เราคือประชาชาติเดียวกัน - (ไทย)

เราคือประชาชาติเดียวกัน หรือ ประชาชาติเดียวกัน คือ หลักการหนึ่งของ อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ บทวิเคราะห์แนวคิดการแตกเป็นกลุ่มต่างๆ ของประชาชาติมุสลิม และอธิบายจุดยืนของกลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) ต่อกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้กรอบของความเป็นประชาชาติเดียวกัน (อุมมะตัน วาหิดะฮฺ) อันจะนำไปสู่เอกภาพและสันติสุขของมนุษย์โลกทั้งผอง

Image

บทบัญญัติเกี่ยวกับสตรีในอิสลาม - (ไทย)

หนังสือที่เรียบเรียงโดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสตรีในอิสลาม อาทิ - สตรีในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ - สตรีในสังคม - การแต่งงานและความสัมพันธ์ทางเพศ - การมีภรรยาหลายคนกับปรากฏการณ์ของความเข้าใจผิด - การหย่าในกฎหมายอิสลาม - ความผิดซินา (ความผิดประเวณี) - การวางแผนครอบครัวและการทำแท้ง - ความเท่าเทียมของสตรีในอิสลาม - สตรีและการศึกษา - สิทธิทางเศรษฐกิจของสตรีในชะรีอะฮฺ - การให้ความเสมอภาคทางสังคมและการเมืองแก่สตรีในประเทศมุสลิม โดย ผศ.ดร.มุฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ จากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

Image

สังคมของเศาะหาบะฮฺ คือ สังคมแห่งการรุกูอฺและสุญูด - (ไทย)

นะศีหะฮฺเตือนใจที่ฉายภาพตัวอย่างในอดีตจากยุคของบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มีความมุ่งมั่นอยู่กับการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตลอดเวลา ด้วยการหมั่นละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ทำให้พวกเขาได้รับการสมญานามจากอัลลอฮฺเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะ รุกกะอัน สุจญะดัน หมายถึงรุกูอฺและสุญูดอย่างมากมาย บทความชิ้นนี้จะชักชวนให้เราทบทวนตัวเองและมองย้อนไปยังอดีตอันรุ่งโรจน์เพื่อเอาเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมปัจจุบัน

Image

เราะมะฎอนกับการพัฒนาบุคลิกภาพ - (ไทย)

บทความในรูปคุฏบะฮฺ เชิญชวนให้สำรวจตนเองในเดือนเราะมะฎอน เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีขึ้นจากเดิม โดยการละทิ้งนิสัยบางประการที่ไม่เหมาะไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เดือนเราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นการเลิกบุหรี่

Image

10 โอวาทว่าด้วยเนื้อแท้ของความรู้ในอิสลาม และวิธีตักตวง - (ไทย)

เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าพเจ้าขอมอบโอวาท 10 ประการเกี่ยวกับเนื้อแท้ของความรู้แก่พี่น้องทั้งชายและหญิง ดังต่อไปนี้

Image

เสวนา การทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต เปิดมุมมองดะอฺวะฮฺในโลกไซเบอร์ - (ไทย)

เวทีเสวนา การทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต เปิดมุมมองดะอฺวะฮฺในโลกไซเบอร์ จัดขึ้นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างนักทำงานอิสลามบนอินเตอร์เน็ต และร่วมหาทางเืพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่วมสร้างสรรค์โดย กองดะอฺวะฮฺอิเล็กทรอนิคส์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อิกเราะอ์ออนไลน์ และชมรมนักศึกษาไทยกรุงริยาด เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2008 โดยมีวิทยากรจากเว็บไซต์ พินออนไลน์ อิสลามอินไซด์ อัซซุนนะฮฺ และฟิตยะฮฺ ร่วมให้ข้อมูล

Image

อิทธิพลของจารีตประเพณีที่มีต่อกฎหมายอิสลาม - (ไทย)

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของจารีตประเพณีและอิทธิพลของจารีตประเพณีที่มีต่อกฎหมายอิสลาม โดยมุ่งเน้นนำเสนอถึงอิทธิพลของจารีตประเพณีมีต่อมนุษย์และกฎหมายทั่วไป โดยเฉพาะกฎหมายอิสลาม ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลมาก ทั้งนี้อาจเป็นในฐานะแหล่งที่มาหรือเป็นหลักการหนึ่งของการวินิจฉัยที่จำเป็นต้องพิจารณาในการใช้กฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่นักกฎหมายอิสลามจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจารีตประเพณี ทั้งนี้เพื่อใช้ในการตีความ เพื่อเข้าใจในตัวบทกฎหมาย เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าตำรากฎหมายเพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาในการเข้าใจสถานการณ์ และสุดท้ายเพื่อใช้เป็นแนวในการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้การวิเคราะห์เอกสาร พบว่าจารีตที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายนั้นจะต้องมีเงื่อนไขดังนี้คือ ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดกับตัวบท ต้องถูกยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปหรือจากผู้คนส่วนใหญ่ ต้องเป็นที่ยังนิยมใช้กันอยู่ และต้องไม่มีคำยืนยันจากผู้ใช้ว่ามีเจตนาเป็นอย่างอื่นที่ผิดไปจากจารีตประเพณีดังกล่าว

Image

อิสลามศาสนาแห่งสันติภาพ - (ไทย)

หนังสือ "อิสลามศาสนาแห่งสันติภาพ" ซึ่งเรียบเรียงโดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยฟาฏอนี) เป็นหนังสือที่อธิบายมุมมองหลักของอิสลามว่าด้วยสันติภาพ ทั้งในแง่ของความเชื่อ หลักปฏิบัติ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ และประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับผู้ไม่ใช่มุสลิม

Image

อุมมะตัน วะสอฏอ วิถีแห่งประชาชาติที่ดีเลิศ - (ไทย)

งานเขียนที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ว่าด้วยความหมายของคำว่า อุมมะตัน วะสะฏอ หรือประชาชาติสายกลาง ตามที่อัลลอฮฺได้ประกาศในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ในหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และความเห็นของบรรดาอุละมาอ์ รวมทั้งตอบข้อสงสัยต่างๆ ที่เป็นความคลุมเครือเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของอุมมะตัน วะสะฏอ