×
ในอิสลามเพื่อนบ้านนั้นมีสิทธิที่ต้องได้รับ อัลลอฮฺทรงกำชับใช้ในเรื่องเพื่อนบ้าน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็สั่งเสียในเรื่องเพื่อนบ้านเช่นกันและท่านได้กำหนดให้การทำดีต่อเพื่อนบ้านนั้นคือส่วนหนึ่งของการมีอีมานที่สมบูรณ์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    สิทธิของเพื่อนบ้าน

    حق الجار

    < تايلاندية >

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    —™

    ผู้แปล: สะอัด วารีย์

    ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    สิทธิของเพื่อนบ้าน

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ ۞وَٱعۡبُدُواْ ٱللَّهَ وَلَا تُشۡرِكُواْ بِهِۦ شَيۡٔٗاۖ وَبِٱلۡوَٰلِدَيۡنِ إِحۡسَٰنٗا وَبِذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱلۡجَارِ ذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡجَارِ ٱلۡجُنُبِ وَٱلصَّاحِبِ بِٱلۡجَنۢبِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتۡ أَيۡمَٰنُكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يُحِبُّ مَن كَانَ مُخۡتَالٗا فَخُورًا ٣٦ ﴾ [النساء: ٣٦]

    "และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด" {อัน-นิซาอฺ: 36}

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « وَاللَّهِ لاَ يُؤْمِنُ، وَاللَّهِ لاَ يُؤْمِنُ، وَاللَّهِ لاَ يُؤْمِنُ» قِيلَ: وَمَنْ يَا رَسُولَ اللَّهِ؟ قَالَ: «الَّذِي لاَ يَأْمَنُ جَارُهُ بَوَايِقَهُ » [متفق عليه]

    “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าเขายังไม่มีอีมาน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าเขายังไม่มีอีมาน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าเขายังไม่มีอีมาน มีคนถามว่า “และเป็นผู้ใดกัน ท่านเราะสูลุลลอฮฺ? ท่านตอบว่า “ผู้ที่เพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากความเลวร้ายของเขา”” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    และในบันทึกของมุสลิมระบุว่า

    « لَا يَدْخُلُ الْجَنَّةَ مَنْ لَا يَأْمَنُ جَارُهُ بَوَائِقَهُ »

    “จะไม่ได้เข้าสวรรค์ ผู้ที่เพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากความเลวร้ายของเขา”

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلاَ يُؤْذِ جَارَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ » [متفق عليه]

    “ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงอย่าทำร้ายเพื่อนบ้านของเขา และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เขาก็จงให้เกียรติเพื่อนบ้านของเขา และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺเขาก็จงพูดดีหรือไม่ก็ให้นิ่งเสีย” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านอิบนุอุมัร และท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَا زَالَ جِبْرِيلُ يُوصِينِي بِالْجَارِ، حَتَّى ظَنَنْتُ أَنَّهُ سَيُوَرِّثُهُ » [متفق عليه]

    “ญิบรีลยังคงสั่งเสียฉันในเรื่องของเพื่อนบ้านอยู่ตลอด จนกระทั้งฉันคิดว่าเขาจะให้เพื่อนบ้านรับมรดกกันได้” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า

    « قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنَّ لِي جَارَيْنِ، فَإِلَى أَيِّهِمَا أُهْدِي؟ قَالَ: «إِلَى أَقْرَبِهِمَا مِنْكِ بَابًا» » [أخرجه البخاري]

    “ฉันได้ถามว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันมีเพื่อนบ้านสองคน จะให้ฉันมอบของฮะดียะฮฺแก่คนไหนดี” ท่านก็ตอบว่า “ให้แก่ผู้ที่ประตูบ้านอยู่ใกล้กับเธอมากกว่า” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ

    คำอธิบาย

    ในอิสลามเพื่อนบ้านนั้นมีสิทธิที่ต้องได้รับ อัลลอฮฺได้ทรงกำชับใช้ในเรื่องเพื่อนบ้าน และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็สั่งเสียในเรื่องเพื่อนบ้านเช่นกันและท่านได้กำหนดให้การทำดีต่อเพื่อนบ้านนั้นคือส่วนหนึ่งของการมีอีมานที่สมบูรณ์

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ยืนยันสิทธิของเพื่อนบ้าน และการต้องทำดีกับพวกเขา โดยที่อัลลอฮฺทรงใช้มัน และกล่าวไว้ควบคู่กับการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์

    · ห้ามทำร้ายเพื่อนบ้าน และเป็นการปรามอย่างเด็ดขาด และถือเป็นหนึ่งในบาปใหญ่

    · การให้เกียรติเพื่อนบ้านเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์

    · ควรหมั่นให้ของฮะดียะฮฺและของอื่นๆแก่เพื่อนบ้าน

    · เพื่อนบ้านที่ควรใกล้ชิดที่สุดและสมควรที่สุดที่จะได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างดี คือผู้ที่มีประตูบ้านใกล้ที่สุด

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.