ละหมาดเดินทาง
หมวดหมู่
Full Description
ละหมาดเดินทาง
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
صلاة السفر
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ละหมาดเดินทาง
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَإِذَا ضَرَبۡتُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَلَيۡسَ عَلَيۡكُمۡ جُنَاحٌ أَن تَقۡصُرُواْ مِنَ ٱلصَّلَوٰةِ إِنۡ خِفۡتُمۡ أَن يَفۡتِنَكُمُ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْۚ ﴾ [النساء : ١٠١]
“และเมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในผืนแผ่นดินก็ไม่เป็นบาปใด ๆ แก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะลดลงจากการละหมาด หากพวกเจ้ากลัวว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะข่มเหงรังแกพวกเจ้า” อัน-นิสาอ์ :101
ท่านยะอฺลา บินอุมัยยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« قُلْتُ لِعُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ: ﴿ وَإِذَا ضَرَبۡتُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ فَلَيۡسَ عَلَيۡكُمۡ جُنَاحٌ أَن تَقۡصُرُواْ مِنَ ٱلصَّلَوٰةِ إِنۡ خِفۡتُمۡ أَن يَفۡتِنَكُمُ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْۚ ﴾ [النساء : ١٠١] فَقَدْ أَمِنَ النَّاسُ، فَقَالَ: عَجِبْتُ مِمَّا عَجِبْتَ مِنْهُ، فَسَأَلْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ ذَلِكَ، فَقَالَ «صَدَقَةٌ تَصَدَّقَ اللهُ بِهَا عَلَيْكُمْ، فَاقْبَلُوا صَدَقَتَهُ» » [أخرجه مسلم]
“ฉันได้กล่าวแก่อุมัร บินอัล-ค็อฏฏอบ ว่า “[และเมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในผืนแผ่นดินก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะลดลงจากการละหมาด หากพวกเจ้ากลัวว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะข่มเหงรังแกพวกเจ้า] ผู้คนก็ได้ปลอดภัยแล้วนี่” แล้วเขาก็กล่าวว่า “ฉันก็เคยแปลกใจเหมือนที่ท่านแปลกใจจากเรื่องนี้ แล้วฉันก็ได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ถึงเรื่องดังกล่าว แล้วท่านก็กล่าวว่า “คือเศาะดะเกาะฮฺ ที่อัลลอฮฺทรงบริจาคมันแก่พวกท่าน ดังนั้น พวกท่านก็จงรับเศาะดะเกาะฮฺของพระองค์เถิด”” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า
« فُرِضَتِ الصَّلَاةُ رَكْعَتَيْنِ رَكْعَتَيْنِ فِي الْحَضَرِ وَالسَّفَرِ، فَأُقِرَّتْ صَلَاةُ السَّفَرِ، وَزِيدَ فِي صَلَاةِ الْحَضَرِ » [متفق عليه]
“การละหมาดได้เคยถูกบังคับให้ทำ ทีละสองทีละสองร็อกอะฮฺ ทั้งในยามปกติและยามเดินทาง แล้วมันก็ถูกคงมันไว้(ตามเดิม)ในละหมาดเดินทาง และถูกเพิ่มขึ้นในละหมาดปกติ” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม
ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
« فَرَضَ اللهُ الصَّلَاةَ عَلَى لِسَانِ نَبِيِّكُمْ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي الْحَضَرِ أَرْبَعًا، وَفِي السَّفَرِ رَكْعَتَيْنِ، وَفِي الْخَوْفِ رَكْعَةً » [أخرجه مسلم]
“อัลลอฮฺทรงบังคับการละหมาดโดยทางคำพูดของนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ของพวกท่านในยามอยู่กับที่ 4 ร็อกอะฮฺ และในยามเดินทาง 2 ร็อกอะฮฺ และยามหวาดกลัว(ยามสงคราม) 1 ร็อกอะฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
« خَرَجْنَا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنَ المَدِينَةِ إِلَى مَكَّةَ فَكَانَ يُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ رَكْعَتَيْنِ حَتَّى رَجَعْنَا إِلَى المَدِينَةِ، قُلْتُ: أَقَمْتُمْ بِمَكَّةَ شَيْئًا؟ قَالَ: أَقَمْنَا بِهَا عَشْرًا » [متفق عليه]
“พวกเราได้ออกไปกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จากมะดีนะฮฺไปยังมักกะฮฺ ท่านได้ละหมาด ทีละสองร็อกอะฮฺ สองร็อกอะฮฺ จนกระทั้งพวกเราได้กลับมาถึงมะดีนะฮฺ ฉันกล่าวถามว่า แล้วพวกท่านได้อยู่ที่มักกะฮฺนานแค่ไหนเล่า? เขากล่าวตอบกว่า พวกเราอยู่ที่มักกะฮฺ 10 วัน” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม
และท่านได้เล่าอีกว่า
« أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَلَّى الظُّهْرَ بِالْمَدِينَةِ أَرْبَعًا، وَصَلَّى الْعَصْرَ بِذِي الْحُلَيْفَةِ رَكْعَتَيْنِ » [متفق عليه]
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดซุฮ์รฺที่มะดีนะห์ 4 ร็อกอะฮฺ และละหมาดอัศรฺ ที่ ซุลหุลัยฟะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม
คำอธิบาย
การผ่อนปรนของอัลลอฮฺที่มีต่อประชาชาตินี้ และยกเอาความลำบากออกไปจากพวกเขาประการหนึ่ง คือการที่พระองค์ทรงบัญญัติให้ย่อละหมาดที่มีสี่ร็อกอะฮฺในช่วงเดินทาง ให้เหลือละหมาดสองร็อกอะฮฺ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในช่วงเดินทางของท่าน ท่านจะย่อละหมาดที่มีสี่ร็อกอะฮฺ และไม่อ่านเพิ่มเกินจากสองร็อกอะฮฺ
ประโยชน์ที่ได้รับ
· ควรละหมาดย่อ เพื่อปฏิบัติตามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม
· การละหมาดย่อประเสริฐกว่าการละหมาดเต็ม เพราะเป็นสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ทำมันอย่างสม่ำเสมอ