×
จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดย เชค มุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์ อธิบายลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษาคดีความของกอฎีย์

    ลักษณะของการตัดสินพิพากษา

    ﴿صفة الحكم﴾

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: يوسف أبو بكر

    مراجعة: عصران إبراهيم


    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ลักษณะของการตัดสินพิพากษา

    เมื่อคู่กรณีพิพาททั้งสองฝ่ายมายังผู้พิพากษา  ให้ผู้พิพากษาถามว่าใครเป็นโจทก์ (เป็นผู้กล่าวหา) หรือเขาอาจจะสงบนิ่งเพื่อที่จะให้คู่กรณีคนใดคนหนึ่งได้พูด  ผู้เป็นโจทก์ให้เริ่มเป็นผู้ให้การก่อน  และหากจำเลยยอมรับก็ให้ตัดสินไปตามนั้น

    ในกรณีที่จำเลยให้การปฏิเสธ  ผู้พิพากษาจะกล่าวแก่โจทก์ว่าจงนำหลักฐานมาแสดง  ดังนั้นเมื่อเขานำหลักฐานมาแสดงผู้พิพากษาก็จะรับฟังและตัดสินไปตามนั้น  และเขาจะไม่ตัดสินตามที่รู้มานอกจากในกรณีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

    หากโจทก์กล่าวว่าฉันไม่มีหลักฐาน  ผู้พิพากษาก็จะให้เขากล่าวสาบาน  และหากโจทย์ต้องการให้จำเลยสาบานด้วย (ในกรณีที่เขาไม่ยอมรับ – ผู้แปล)  ผู้พิพากษาก็ใช้ให้จำเลยสาบานแล้วก็ปล่อยเขาไป

    ในกรณีที่จำเลยไม่ยอมสาบาน  ผู้พิพากษาก็จะต้องตัดสินไปตามนั้น  เนื่องจากการนิ่งเฉยเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่าโจทย์มีความสัจจริงและผู้พิพากษาจะให้โจทย์สาบานซ้ำเมื่อจำเลยไม่ยอมมสาบานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำหนักอยู่ฝ่ายโจทย์  ดังนั้นเมื่อโจทย์ได้สาบานแล้วก็ให้ตัดสินไปตามนั้น

    และในกรณีที่จำเลยได้สาบานแล้วผู้พิพากษาได้ปล่อยเขาไปแล้ว  ต่อจากนั้นโจทก์ได้นำหลักฐานมาแสดงก็ให้ตัดสินไปตามหลักฐาน  เนื่องจากการสาบานของจำเลยก็เพื่อให้รอดพ้นจากความผิดมิได้ให้พ้นจากความเป็นจริง  และการตัดสินของผู้พิพากษาจะไม่ถูกรื้อฟื้นนอกจากจะมีความขัดแย้งกับอัลกุรอาน  หะดีษ  หรือการวินิฉัยปัญหา (อิจมาอฺ)