คุฏบะฮฺวันศุกร์ ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ว่าด้วยเรื่องสภาพของหนุ่มสาวมุสลิมกับวันวาเลนไทน์ เป็นข้อตักเตือนเพื่อให้สังคมเห็นถึงพิษภัยของปัญหาการละเมิดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ในเทศกาลของศาสนิกอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อ หมิ่นเหม่ต่อการสูญเสียสภาพความเป็นมุสลิม
หนุ่มสาวมุสลิมกับวันวาเลนไทน์ - (ไทย)
ห้ามการหลั่งเลือดเนื้อมุสลิม - (ไทย)
เลือดเนื้อและชีวิตของมุสลิม ณ ที่อัลลอฮฺ เป็นของต้องห้ามอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ สำหรับอัลลอฮฺแล้วการให้ดุนยาสลายไปยังเบากว่าการสังหารผู้ที่เป็นมุอ์มิน และผู้ใดได้สังหารเพียงชีวิตเดียวก็เสมือนว่าเขาได้สังหารมนุษยชาติทั้งมวล และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม นับว่าการสังหารชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้-นอกจากด้วยความชอบธรรม-ถือเป็นบาปใหญ่ที่ก่อความหายนะ เพื่อจะได้เตือนผู้คนทั้งหลายไม่ให้มักง่ายสะเพร่าในเรื่องนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ความประเสริฐของการทำหัจญ์ - (ไทย)
หัจญ์มับรูรนั้นคือหัจญ์ที่สมบูรณ์แบบ ปราศจากสิ่งที่ทำให้ผลบุญบกพร่อง มันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นที่รักของอัลลอฮฺมากที่สุด เพราะในนั้นมีการแสดงความเป็นบ่าวของมนุษย์ต่ออัลลอฮฺในหลากหลายรูปแบบ อัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะตอบแทนรางวัลอย่างใหญ่หลวง และจะทรงให้อภัยต่อบาปต่างๆ จนกระทั่ง มุสลิมผู้ทำหัจญ์กลับภูมิลำเนาไปในสภาพขาวสะอาดปราศจากบาปเหมือนกับตอนที่แม่เขาเพิ่งจะคลอดเขาออกมา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 12 - รักษามารยาทในการถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ
บัญญัติบางประการเกี่ยวกับหัจญ์ - (ไทย)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า หัจญ์ของทารกน้อยคนนั้นใช้ได้ และคนที่พาเขาไปทำหัจญ์ก็ได้รับผลบุญด้วย เช่นเดียวกันนั้น ท่านก็ได้ห้ามผู้หญิงไม่ให้เดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อมไปด้วย ถึงแม้ว่าออกไปเพื่อทำหัจญ์ก็ตาม และใช้ให้ผู้ชายพักสงครามและการญิฮาด และให้ออกไปกับภรรยาของเขาที่จะไปทำหัจญ์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
บทความซึ่งเรียบเรียงเป็นคุฏบะฮฺญุมอัต ว่าด้วยบทเรียนและคำสอนต่างๆ ที่ได้จากคุฏบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ในหัจญ์วะดาอฺหรือหัจญ์อำลาของท่าน ประกอบด้วยหลักคำสอนบางประการที่สำคัญยิ่งสำหรับมุสลิม เช่นหลักยึดมั่นในอะกีดะฮฺ หลักปฏิบัติ หลักแห่งความเสมอภาค ความยุติธรรม ภราดรภาพ สันติภาพ ฯลฯ เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีิวิตตามครรลองแห่งอิสลาม และเพื่อใช้ชีวิตอย่างสันติสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
บทที่กล่าวถึงบทกลอนบทกวี - (ไทย)
บทกลอนบทกวีนั้น ส่วนดีของมันก็คือสิ่งดี ส่วนเลวร้ายก็คือสิ่งเลวร้าย และหากเป็นการเผยแพร่สิ่งดี หรือสนับสนุนให้มีคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามก็ควรได้รับการชมเชยและส่งเสริม แต่หากเป็นการด่าทอมุสลิม ดูถูกดูแคลนพวกเขา หรือชวนให้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือให้ปฏิบัติตนไม่ดี ก็ควรได้รับการตำหนิ และเป็นสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺเตือนให้ระวัง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
สิบวันของซุลหิจญะฮฺนั้นประเสริฐกว่าวันอื่นตลอดทั้งปี ณ ที่ของอัลลอฮฺ และการทำความดีในช่วงดังกล่าวนั้นถือเป็นการงานที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะเชือดกุรบาน ไม่ให้ตัดสิ่งใดจากเส้นขนหรือเล็บออก จนกว่าเขาจะเชือดกุรบานของเขาเสียก่อน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
สิบวันแรกของซุลหิจญะฮฺนั้นประเสริฐกว่าวันอื่นในรอบปี ณ ที่ของอัลลอฮฺ และการทำความดีในช่วงดังกล่าวนั้นถือเป็นการงานที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะเชือดกุรบาน มิให้เอาสิ่งใดจากเส้นขน หรือเล็บออก(คือ ห้ามตัดห้ามถอน –ผู้แปล) จนกว่าเขาจะเชือดสัตว์เชือดของเขาเสียก่อน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
จุดยืนมุสลิมท่ามกลางปัญหาสังคม - (ไทย)
คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบันตามมุมมองของคำสอนอิสลาม รวมทั้งอธิบายจุดยืนที่มุสลิมจะต้องคำนึงถึงและเอาใจใส่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผชิญกับวิกฤตทางศีลธรรมที่เกิดขึ้นอย่างระบาดและแพร่หลายในยุคนี้ ซึ่งจะเป็นทางรอดให้กับตัวเอง ครอบครัว และสังคมได้รอดพ้นจากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้
เตือนให้ระวังฟิตนะฮฺจากผู้หญิง - (ไทย)
ฟิตนะฮฺของสตรีนั้นใหญ่หลวงนัก ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนให้ระมัดระวัง และกล่าวว่ามันเป็นฟิตนะฮฺอันดับหนึ่งของพวกบนีอิสรออีล การอยู่ลำพังกับนางเป็นก็ฟิตนะฮฺ –และมันเป็นสิ่งที่ชัยฏอนมารร้ายทั้งจากญินและคนนั้นพยายามยั่วยุให้เกิดขึ้นในทุกวันนี้ – และการที่นางออกจากบ้านของนางโดยไม่มีความจำเป็นก็เป็นฟิตนะฮฺได้ และการเชื่อฟังนางในทุกเรื่องที่นางต้องการนั้นก็เป็นฟิตนะฮฺได้ ฉะนั้น จึงต้องคอยระมัดระวังฟิตนะฮฺเหล่านี้ ซึ่งบางทีไม่สามารถดับมันได้หากปล่อยปละละเลยในตอนแรก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 10 - ประตูสวรรค์อัร-ร็อยยานสำหรับผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ