×
Image

มารยาทในการขอดุอาอ์และดุอาอ์ที่ถูกตอบรับ - (ไทย)

กล่าวถึงดุอาอ์ที่สำคัญๆ ที่ควรรู้และมารยาทในการขอดุอาอ์.

Image

เศาะดะเกาะฮฺ (การทำทานหรือบริจาค) ที่เป็นสุนัต - (ไทย)

อธิบายเคล็ดลับในการบัญญัติการเศาะดะเกาะฮฺ หุก่มของเศาะดะเกาะฮฺ ผลดีของเศาะดะเกาะฮฺ ผู้ที่สมควรได้รับเศาะดะเกาะฮฺมากที่สุด หุก่มเศาะดะเกาะฮฺของภรรยาที่เอาสมบัติของสามีของนางมาบริจาค เวลาในการทำเศาะดะเกาะฮฺที่ดีที่สุด หุก่มการให้เศาะดะเกาะฮฺแก่คนต่างศาสนิก โทษของผู้ที่ขอทานโดยไม่มีความจำเป็น ใครที่สามารถขอเศาะดะเกาะฮฺได้ เมื่อบุคคลหนึ่งเข้ารับอิสลามเขาจะยังคงได้รับผลบุญของการบริจาคเศาะดะเกาะฮฺของเขาก่อนการเข้ารับอิสลาม มารยาทให้การให้เศาะดะเกาะฮฺ

Image

คุฏบะฮฺ ใช้ความนุ่มนวลในการเปลี่ยนแปลงความชั่ว - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ว่าด้วยวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการใช้ความนุ่มนวลอ่อนโยน โดยยกตัวอย่างบางชิ้นจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ทั้งจากโองการอัลกุรอานและหะดีษที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นบทเรียนและคำแนะนำแก่ผู้ที่อยู่ในกระบวนการดูแลและรับผิดชอบสังคมภายใต้แนวคิด “ค็อยเราะอุมมะฮฺ – ประชาชาติที่ดีที่สุด”

Image

ตารางอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

เราะมะฎอน คือเดือนแห่งอัลกุรอาน ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเริ่มแรกในเดือนนี้ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาด้วยการกล่าวถึงการถือศีลอดและผลดีของมัน และอัลลอฮฺยังได้กำหนดให้อ่านอัลกุรอานในเดือนนี้ให้ได้มากที่สุด และนี่คือตารางอ่านอัลกุรอานเพื่อให้เคาะตัมจบเล่ม หนึ่งรอบ สองรอบ และสามรอบ (ในหนึ่งเดือน) พร้อมกับระบุจำนวนหน้าที่ให้อ่านในแต่ละวันและคืน และช่วงเวลาที่แนะนำให้อ่าน.

Image

การอาบน้ำและการใช้น้ำหอมในวันศุกร์ - (ไทย)

วันศุกร์ คือวันชุมนุมพบปะของพี่น้องมุสลิม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงส่งเสริมคนมาละหมาดให้ทำความสะอาด และให้ใช้เครื่องหอม เพื่อให้เขามีกลิ่นหอม จะได้ไม่สร้างความรำคาญกับผู้คนรอบข้างเขา และได้มีหะดีษหลายบทที่ชี้ให้เห็นถึงการเน้นย้ำใช้ให้อาบน้ำยกหะดัษ จนกระทั้งปราชญ์ผู้รู้บางคนถึงกับกล่าวว่าการอาบน้ำยกหะดัษเป็นวาญิบสำหรับการละหมาดวันศุกร์เลยทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ความรู้สึกปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ - (ไทย)

กล่าวถึงภาวะแห่งความรู้สึกปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ซึ่งนำไปสู่การหลงลืมและกระทำสิ่งที่ผิดโดยไม่แยแส รวมทั้งอธิบายภาวะความสิ้นหวังจากเมตตาของอัลลอฮฺ โดยอธิบายผ่านหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอาน หะดีษ และคำพูดของบรรดาอุละมาอ์ ซึ่งสองภาวะนี้ถือว่าอันตรายทั้งสิ้น บ่าวจึงจำเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างความกลัวและความหวังที่มีต่ออัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

คุฏบะฮฺอีดิลอัฎฮา : รัฐธรรมนูญแห่งเมืองมะดีนะฮฺ สรรสาระสันติภาพที่ยั่งยืน - (ไทย)

คุฏบะฮฺอีดิลอัฎฮา ฮ.ศ.1433 กล่าวถึงเนื้อหาแห่งสันติภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอิสลามฉบับแรก ที่ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกาศใช้ในเมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพ เป็นปฐมบทสารแห่งสันติภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของอิสลามอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนสันติภาพระหว่างมวลมนุษย์ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด

Image

การเชือดสัตว์ฮัดย์ของผู้ทำหัจญ์ - (ไทย)

ว่าด้วยบทบัญญัติการเชือดสัตว์ฮัดย์ของผู้ทำหัจญ์.

Image

มาถือศีลอดอาชูรออ์กันเถอะ - (ไทย)

ถึงแม้ การถือศีลอดในวันอาชูรออ์เป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ ตามทัศนะของอุละมาอ์ส่วนใหญ่ แต่ก็มีรายงานจากอิบนุ อับบาสกล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิ วะสัลลัม ให้ความสำคัญกับการถือศีลอดมากกว่าวันนี้ หมายถึงวันอาชูรออ์ และการถือศีลอดในเดือนนี้ หมายถึงเดือนเราะมะฎอน”.

Image

การวะกัฟ (การบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์) - (ไทย)

อธิบายความหมายของวะกัฟ วิทยปัญญาในการบัญญัติการวะกัฟ หุก่มของการวะกัฟ เงื่อนไขที่จะทำให้การวะกัฟถูกต้องเป็นผล วิธีการเขียนการวะกัฟ(จะวะกัฟอย่างไร ?) หุก่มเมื่อสิ่งที่วะกัฟมิอาจใช้ประโยชน์ได้ หุก่มการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของสิ่งที่วะกัฟ ผู้จัดการและบริหารการวะกัฟ สิ่งที่ประเสริฐที่สุดในการวะกัฟ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

การสาบาน - (ไทย)

จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ ความหมายของการสาบาน การสาบานที่สมบรูณ์ บทบัญญัติว่าด้วยการสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ประเภทของการสาบาน การจ่ายค่าชดใช้ (กัฟฟาเราะฮฺ) กรณีการสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ บทบัญญัติว่าด้วยการสาบาน บทบัญญัติว่าด้วยการผิดคำสาบาน เงื่อนไขจำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ลักษณะการจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) บทบัญญัติว่าด้วยการจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮฺ) ก่อนที่จะผิดคำสาบาน แก่นแท้ของการสาบาน บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่ห้ามตัวเองจากสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) ยกเว้นกรณีการหย่าภรรยา บทบัญญัติว่าด้วยผู้ที่สาบานในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน

Image

ประวัติมนุษยชาติตั้งแต่การกำเนิดอาดัม - (ไทย)

บรรยายเรื่องประวัติศาสตร์มนุษยชาติและที่มาของศาสนาอิสลามโดยสังเขป เริ่มตั้งแต่การกำเนิดนบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม เรื่องราวของชาวคัมภีร์ ยิว และคริสต์ ข้อสังเกตต่างๆ เกี่ยวกับหลักความเชื่อของมนุษย์ และบทเรียนที่ได้รับจากเรื่องราวของอาดัม