×
Image

ละหมาดสุนัต - (ไทย)

การละหมาดเป็นเรื่องที่ดีที่สุด และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่บ่าวจะใช้มันเพื่อใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาลของเขา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวว่า การทำละหมาดมากๆ นั้นเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์ และท่านได้ใช้ให้ผู้ชายละหมาดสุนัตหรือละหมาดที่ไม่ใช่ฟัรฎูในบ้านของเขา เพราะเป็นการทำความดีแบบลับๆ และเป็นการสอนครอบครัว และทำให้พวกเขาเคยชินกับการละหมาด เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ข้อปฏิบัติบางประการเมื่อใกล้เสียชีวิต - (ไทย)

เตาฮีดเป็นเรื่องใหญ่ และด้วยเหตุนี้รางวัลสำหรับผู้ที่ชีวิตของเขาจบลงด้วยการยอมรับในเตาฮีด โดยการกล่าวคำปฏิญาณ(ชะฮาดะฮฺ)ทั้งสอง คือเขาจะได้เข้าสวรรค์ เช่นเดียวกับที่ท่านรซูล(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)ได้ใช้ให้ผู้ที่ใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิตให้คิดในทางที่ดีต่ออัลลอฮฺ และให้หวังความเมตตาของพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

การรำลึกถึงความตายและห้ามมิให้ปรารถนาที่จะตาย - (ไทย)

การพูดถึงความตาย และสิ่งที่อยู่หลังความตายมีผลต่อการปรับปรุงจิตใจตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการสะสมเสบียงเพื่อกาลข้างหน้า และลดการหมกมุ่นในโลกดุนยานี้ ด้วยเหตุนี้เองท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)จึงส่งเสริมให้พูดถึงความตายให้มากๆ และท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม)เองก็ได้ห้ามการที่มุสลิมจะอยากตายเพียงเพราะมีทุกข์ภัยมาประสบ เพราะคนเราไม่รู้หรอกว่า การมีชีวิตอยู่ต่อหรือการตายจะดีกว่า แต่ให้ขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงกำหนดสิ่งที่ดีกว่าแก่ตัวเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

หะดีษที่ 37 - ให้นำสตรีออกไปร่วมละหมาดอีด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 37 - ให้นำสตรีออกไปร่วมละหมาดอีด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

มัซฮับต่างๆ ทางฟิกฮฺในอิสลามเกิดขึ้นได้อย่างไร? - (ไทย)

อธิบายสาเหตุคร่าวๆ ของจุดเริ่มต้นการเกิดแนวคิดทางนิติศาสตร์ (ฟิกฮฺ) ของกลุ่มและมัซฮับต่างๆ ในอิสลาม รวมทั้งอธิบายมารยาทที่ควรคำนึงในเรื่องการขัดแย้งทางด้านความเห็น

Image

บทเรียนจากอายะฮฺสูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺ 28 - (ไทย)

วิเคราะห์บทเรียนจากอัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺ อายะฮฺที่ 28 กล่าวถึงความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการเป็นเพื่อนกับคนดี หลีกเลี่ยงการคบหากับคนชั่ว เนื่องจากเป็นสิ่งที่ส่งอิทธิพลในชีวิตของคนคนหนึ่งอย่างมากทีเดียว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษา - (ไทย)

จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดย เชค มุหัมมัด อัตตุวัยญิรีย์ อธิบายลักษณะวิธีการตัดสินพิพากษาคดีความของกอฎีย์

Image

หะดีษที่ 36 - ให้ทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดอีด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 36 - ให้ทานอาหารเล็กน้อยก่อนออกไปละหมาดอีด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

มารยาทในการหยอกล้อ - (ไทย)

อธิบายมารยาทอิสลามเกี่ยวกับการพูดหยอกล้อ ตามบทบัญญัติของอัลกุรอานและซุนนะฮฺ ประกอบด้วย ไม่หยอกล้อในเชิงดูถูกดูแคลนหรือเย้ยหยันในคำสอนของศาสนา ไม่หยอกล้อนอกจากเรื่องสัจจริง ไม่หยอกล้อโดยทำให้เกิดความหวาดกลัวหรือตกใจ ไม่หยอกล้อในเชิงดูถูกคนอื่น หยอกล้อแต่พอดีพองาม คำนึงถึงคู่สนทนา ไม่หยอกล้อโดยการนินทา

Image

ห้ามด่าว่าลมพายุ และดุอาอ์ที่ใช้ขอขณะมีพายุพัด - (ไทย)

ลมและพายุเป็นหนึ่งในสิ่งถูกสร้าง(มัคลู๊ก)ของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงบงการมันตามพระประสงค์ทั้งที่ให้เป็นความเมตตาและเป็นการลงโทษ ท่านรซูลได้ห้ามมิให้ด่าลมพายุ เพราะมันถูกบงการมาอีกที และใช้ให้เราขอต่ออัลลอฮฺให้ได้รับสิ่งดีงามของมัน และขอความคุ้มครองให้พ้นจากสิ่งเลวร้ายของมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

อัศ-เศาะดาก (สินสอด) - (ไทย)

อธิบายเกร็ดความรู้ความเข้าว่าด้วย อัศ-เศาะดาก หุก่มการมอบสินสอดให้แก่ฝ่ายหญิง จำนวนสินสอดของผู้หญิง ประเภทของสินสอด เวลามอบสินสอด หุก่มผู้ที่สามีตายโดยไม่ทันมอบสินสอดแก่ภรรยา หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

ข้อปฏิบัติบางประการในสุนัตฟัจญ์รฺ - (ไทย)

สุนนะฮฺประการหนึ่งของท่านเราะสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม คือให้ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเบาๆ ไม่ยาว และท่านก็อ่านสูเราะฮฺสั้น ๆ บางบทเป็นการเฉพาะ หรือเพียงไม่กี่อายะฮฺสั้น ๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม