จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดยเชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์ ว่าด้วยการรับมรดกของกะเทย บุคคลที่มีสองเพศ หรือ อัล-คุนซา อธิบายความหมายและลักษณะการแบ่งมรดกของกะเทย รวมถึงวิธีจำแนกเพศของบุคคลที่มีสองเพศในตัว
มุสลิมะฮฺกับการสร้างสรรค์สังคม - (ไทย)
เสวนาเรื่อง "มุสลิมะฮฺกับการสร้างสรรค์สังคม" โดยผู้ร่ีวมเสวนาสามท่าน (อ.อุสมาน ราษฏร์นิยม, อ.โรสดี สิดิ, อ.ซอฟี การอ) ซึ่งจัดโดยชมรมสตรีมุสลิมปัตตานี ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี รับฟังและดาวน์โหลดในรูปแบบไฟล์ Real Player ...
การอบรมลูกหลาน (4) - (ไทย)
ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ถูกเรียกร้องให้มีในทุกเรื่อง และเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องใช้มันในการปฏิบัติต่อลูกๆ และในการอบรมสั่งสอนพวกเขา จะได้ไม่บ่มเพาะความไม่พอใจ หรือความเกลียดชังกันในระหว่างพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงไม่ยอมเป็นสักขีพยานในการบริจาคของคนที่ไม่ให้ความเป็นธรรมในระหว่างลูกๆ และเรียกมันว่า ความไม่เป็นธรรม และท่านใช้ให้มีความยุติธรรมต่อลูกๆ และบรรดาสะลัฟเองพวกเขาก็ชอบให้ความเป็นธรรมในระหว่างลูกๆ ของพวกเขา แม้กระทั่งในเรื่องการหอมลูกก็ตาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
พินัยกรรมและหลักการของมัน - (ไทย)
คนเราบางทีอาจสิทธิ์ที่ต้องทำให้คนอื่น และเขาไม่รู้ว่าความตายจะมาจู่โจมเมื่อไหร่ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงใช้ให้เขียนบันทึกคำสั่งเสีย และได้กำหนดกฏเกณฑ์ที่มุสลิมควรเรียนรู้เอาไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ความประเสริฐของการบริจาค 1 - (ไทย)
การบริจาคเป็นความดีงามทั้งหมด มันยังความจำเริญแก่ทรัพย์สิน และเป็นเหตุให้ได้รับริสกีปัจจัยยังชีพ และสิ่งใดที่คนเราบริจาคไปนั้นคือทรัพย์สินที่แท้จริงของเขา เพราะเขาจะพบมันในวันกิยามะฮฺ เป็นสิ่งที่เขาต้องการมันมากที่สุดแล้ว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ผู้บรรยายคุฏบะฮฺได้กล่าวถึงวิถีทางของผู้ศรัทธาในเผชิญกับความสุขและความทุกข์ ซึ่งผู้ศรัทธาสามารถที่จะใช้ทั้งสองประการนี้ให้เกิดผลดีต่อตนเองได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงของปีใหม่ฮิจญ์เราะฮฺศักราชในตอนท้าย
การอบรมลูกหลาน (3) - (ไทย)
ประการหนึ่งในเรื่องที่พ่อแม่หลายๆคนปล่อยปละละเลยคือ การสอนสั่ง ชี้แนะ และให้คำตักเตือนลูกๆของพวกเขา ไม่ใช่ใช้แต่วิธีรุนแรง หรือตวาดกับความผิดพลาดของพวกเขา แต่ให้เริ่มด้วยกับการแสดงความมุ่งหวังและความเป็นห่วงกังวลต่อพวกเขา เพราะเป็นทางที่จะได้รับการยอมรับที่ดีที่สุด และไม่ควรปล่อยปละละเลยพวกเขาโดยอ้างว่าพวกเขาเด็กอยู่ยังไม่เข้าใจ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
หุก่มบางอย่างเกี่ยวกับการแต่งงาน - (ไทย)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้คนหนึ่งยกลูกสาวของเขาให้แต่งงานกับอีกฝ่ายโดยให้อีกฝ่ายยกลูกสาวของเขา หรือน้องสาวของเขาให้เขาโดยไม่มีสินสอดเฉพาะสำหรับนาง และเช่นกันห้ามผู้หญิงแต่งงานให้ตัวเองโดยไม่มีผู้ปกครอง(วะลียฺ) เพราะเป็นสิ่งที่นำแต่ความเสียหาย และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะสัลลัม สั่งเสียให้ผู้ที่จะแต่งงานให้เลือกผู้หญิงที่มีศาสนา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
การอบรมลูกหลาน (2) - (ไทย)
วิธีการสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่งคือ การอบรมสั่งสอนโดยการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยการให้พวกเขาได้เห็นลักษณะที่น่าชื่นชมที่เราต้องการสั่งสอนพวกเขา อยู่ในตัวพ่อแม่และคนรอบข้างพวกเขา และเมื่อเราต้องการเห็นเขาพูดความจริง เราก็อย่าไปโกหกเขา และเช่นกันอนุญาตให้เด็กเล็กได้เล่นสนุกสนานที่เป็นที่อนุมัติได้บ้าง เพราะจิตใจของพวกเขายังไม่ชินกับการเอาจริงเอาจัง จึงควรอนุญาตให้พวกเขาได้มีการสนุกสนาน โดยให้อยู่ในการดูแลและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415
การบริจาค และการใช้จ่ายทรัพย์สินในทางที่ดีคือการแสดงความเชื่อฟังปฏิบัติตามที่อัลลอฮฺ และเราะซูลส่งเสริมให้กระทำ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์อย่างมหาศาลแก่บ่าวของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงทำให้มันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความจำเริญในทรัพย์สินที่ถูกจ่ายออกไป โดยที่มันจะไม่ลดน้อยลงไป และอัลลอฮฺจะทรงรับการบริจาคจาก(ทรัพย์สิน)ที่หามาโดยสุจริต(เท่านั้น) และจะทรงเพิ่มพูนมันให้แก่เจ้าของมันในวันกิยามะฮฺเป็นการตอบแทนเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
หุก่มการร่วมวันวาเลนไทน์ - (ไทย)
คำถาม : วันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) มีหุก่มว่าอย่างไร? อธิบายหุก่มการร่วมเฉลิมฉลองวันแห่งความรัก จากฟัตวาของอุละมาอ์ พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ
การอบรมลูกหลาน (1) - (ไทย)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในการปฏิบัติต่อเด็กๆ นั้น ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ ของพวกเรา และเราต้องปฏิบัติต่อลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา เหมือนกันที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติกับลูกๆ ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และเราได้เห็น เช่น การหยอกล้อกับเด็กๆ การให้เกียรติพวกเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415