×
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในการปฏิบัติต่อเด็กๆ นั้น ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ ของพวกเรา และเราต้องปฏิบัติต่อลูกๆ หลานๆ ของพวกเรา เหมือนกันที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติกับลูกๆ ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และเราได้เห็น เช่น การหยอกล้อกับเด็กๆ การให้เกียรติพวกเขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415

    การอบรมลูกหลาน (1)

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    تربية الأولاد (1)

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    การอบรมลูกหลาน (1)

    อ่อนโยน หยอกล้อ และความเมตตาพวกเขา

    ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَحْسَنَ النَّاسِ خُلُقًا، وَكَانَ لِي أَخٌ يُقَالُ لَهُ أَبُو عُمَيْرٍ - قَالَ: أَحْسِبُهُ - فَطِيمًا، وَكَانَ إِذَا جَاءَ قَالَ: «يَا أَبَا عُمَيْرٍ، مَا فَعَلَ النُّغَيْرُ» [متفق عليه]

    “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เป็นคนที่มีมารยาทดีงามที่สุด และฉันมีน้องชายคนหนึ่ง ถูกเรียกว่า อบู อุมัยรฺ – เขากล่าวว่า ฉันคิดว่าเขานั้น – หย่านมแล้ว และเมื่อใดที่ท่านมา ท่านจะกล่าวว่า “อบู อุมัยรฺ เอ๋ย นกน้อยทำอันใดหรือ?” ” บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَقْبَلَ الْحَسَنُ، وَالْحُسَيْنُ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا، عَلَيْهِمَا قَمِيصَانِ أَحْمَرَانِ يَعْثُرَانِ وَيَقُومَانِ، فَنَزَلَ فَأَخَذَهُمَا، فَصَعِدَ بِهِمَا الْمِنْبَرَ، ثُمَّ قَالَ: ' صَدَقَ اللَّهُ: ﴿إِنَّمَا أَمْوَالُكُمْ وَأَوْلَادُكُمْ فِتْنَةٌ﴾ [التغابن: 15] ، رَأَيْتُ هَذَيْنِ فَلَمْ أَصْبِرْ '، ثُمَّ أَخَذَ فِي الْخُطْبَةِ » [أخرجه أبو داود]

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้คุฏบะฮฺให้เราฟัง แล้วท่านอัล-หะสัน และอัล-หุสัยนฺ ก็ได้(เข้า)มา ทั้งสองสวมเสื้อสีแดง ปีนป่ายเข้ามา และก็มายืน(อยู่ข้างหน้า) ท่านก็ลงมาและอุ้มทั้งสอง พาขึ้นไปบนมิมบัร แล้วกล่าวว่า อัลลอฮฺ ตรัสสมจริงแล้ว

    ﴿إِنَّمَا أَمْوَالُكُمْ وَأَوْلَادُكُمْ فِتْنَةٌ﴾ [التغابن: 15]

    “อันที่จริงทรัพย์สิน และลูกหลานของสูเจ้านั้นเป็นเครื่องทดสอบ” (จากสูเราะฮฺ อัต-ตะฆอบุน : 15) ฉันเห็นสองคนนี้แล้วฉันก็อดใจไม่ได้ หลังจากนั้นท่านก็ปราศรัยคุฏบะฮฺต่อ” บันทึกโดย อบู ดาวูด

    ให้เกียรติพวกเขา ให้พวกเขาได้รับสิทธิ์ของพวกเขา ถึงแม้จะยังอายุน้อยก็ตาม

    ท่านสะฮ์ลฺ บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أُتِيَ بِشَرَابٍ فَشَرِبَ مِنْهُ، وَعَنْ يَمِينِهِ غُلاَمٌ، وَعَنْ يَسَارِهِ الأَشْيَاخُ، فَقَالَ لِلْغُلاَمِ: «أَتَأْذَنُ لِي أَنْ أُعْطِيَ هَؤُلاَءِ؟» فَقَالَ الغُلاَمُ: وَاللَّهِ يَا رَسُولَ اللَّهِ، لاَ أُوثِرُ بِنَصِيبِي مِنْكَ أَحَدًا، قَالَ: فَتَلَّهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي يَدِهِ. [متفق عليه]

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีคนเอาเครื่องดื่มมาให้ แล้วท่านก็ดื่มมัน และทางขวาของท่านก็มีเด็กคนหนึ่ง และทางซ้ายของท่านก็มีผู้อาวุโสหลายคน ท่านจึงได้กล่าวกับเด็กน้อยคนนั้นว่า เธอจะอนุญาตไหมที่ฉันจะให้คนเหล่านี้ดื่มก่อน? เด็กน้อยคนนั้นก็กล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันจะยอมไม่เสียสละส่วนของฉันที่ได้จากท่านให้กับผู้ใดเด็ดขาด” เขากล่าวว่า แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมก็ยื่น(มัน)ให้เขาด้วยมือของท่านเอง บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ และ มุสลิม

    คำอธิบาย

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ในการปฏิบัติต่อเด็กๆ นั้น ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ ของพวกเรา และเราต้องปฏิบัติต่อลูกๆหลานๆของพวกเรา เหมือนกันที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติกับลูกๆ ของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และเราได้เห็น ดังในหะดีษเหล่านี้ ว่าท่านมีเมตตาอย่างมากกับพวกเขา และท่านหยุดการสนทนากับเศาะหาบะฮฺกลางคันเพื่อมาอุ้มท่านอัล-หะสัน และอัล-หุสัยนฺ เป็นความเอ็นดู และความรักของท่านที่มีต่อทั้งสอง และเช่นกันท่านหยอกล้อกับเด็กๆ และไม่ถือเป็นเรื่องน่าตำหนิใดๆ ในเรื่องดังกล่าวนี้ เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการแสดงความรัก ความเอ็นดูอันจะส่งผลดีต่อจิตใจของพวกเขา และเช่นกันท่านก็ให้เกียรติพวกเขา ท่านไม่ได้กีดกันสิทธิ์ของพวกเขาโดยอ้างกว่าพวกเขายังอายุน้อย เหมือนที่พ่อแม่หลายๆคนทำกัน

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · การหยอกล้อกับเด็กๆ จากทางผู้ใหญ่ด้วยสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข

    · แสดงความเอ็นดู และความรักแก่พวกเขา ถึงแม้จะต่อหน้าคนอื่นๆ ก็ตาม

    · ให้เกียรติพวกเขา และให้เขาได้รับตามสิทธิ์ของพวกเขา และไม่แสร้งทำเป็นไม่รู้โดยอ้างว่าพวกเขายังเล็กอยู่