×
Image

การปฏิบัติตัวของมุสลิมในสิบวันแรกซุลหิจญะฮฺ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความประเสริฐของอะมัลต่างๆ ในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺสำหรับมุสลิม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าความประเสริฐอันใหญ่หลวงในบทบัญญัติอิสลาม รวมทั้งชี้แจงสิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ประสงค์จะทำการกุรบ่านหรือการอุฎหิยะฮฺด้วย

Image

วาญิบต้องทำหัจญ์ - (ไทย)

หัจญ์เป็นหนึ่งในหลักการปฏิบัติทั้งห้าอันยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงบังคับผู้ที่มีความสามารถให้ทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต และทรงทำให้การทำหัจญ์นั้นเกิดประโยชน์อย่างมากมายแก่บรรดามุสลิมทั้งทางด้านศาสนาและทางโลก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415

Image

การตอบโต้พฤติกรรมดูหมิ่นอิสลาม - (ไทย)

บทความคัดจากหนังสือ “รวมอายะฮฺอัลกุรอานว่าด้วยพฤติกรรมการเยาะเย้ยอิสลามและนักดาอีย์” อธิบายวิธีการตอบโต้ผู้ดูหมิ่นอิสลามตามแนวทางของอัลกุรอาน ประกอบด้วย การประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ดูหมิ่นอิสลาม การตัดขาดจากวงชุมนุมของการดูหมิ่นล้อเลียน การโยนการเยาะเย้ยกลับไปยังผู้ดูหมิ่นเอง และการดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้ดูหมิ่น

Image

หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

เมื่อมุสลิมะฮฺขาดจริยธรรมสังคมจะเป็นเช่นไร? - (ไทย)

เมื่อมุสลิมะฮฺขาดจริยธรรมสังคมจะเป็นเช่นไร? เสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยประเด็นของสตรีมุสลิมกับจริยธรรม และบทบาทต่างๆ ที่มุสลิมะฮฺต้องเอาใจใส่และให้ความสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อร่วมรังสรรค์ความสันติสุขและความสมดุลในสังคม อันเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป

Image

คำบางคำที่ห้ามพูด - (ไทย)

บทบัญญัติ(อิสลาม)ได้ห้ามคำพูดบางคำ เพราะถือเป็นมารยาทที่ไม่ดีต่ออัลลอฮฺ หรือเป็นการเทียบเคียงสิ่งอื่นเสมือนพระองค์ หนึ่งในนั้นคือ การด่าว่ากาลเวลา หรือด่าว่าช่วงเวลาที่เกิดทุกข์ภัย เพราะกาลเวลาไม่ได้เป็นผู้กระทำ ผู้กระทำจริงๆคืออัลลอฮฺ และ(เช่นกันห้าม)การกล่าวว่า (สิ่งนี้คือ)สิ่งที่อัลลอฮฺ และคนนั้นคนนี้ประสงค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

หะดีษที่ 8 - ความเบิกบานใจของผู้ถือศีลอด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 8 - ความเบิกบานใจของผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

ห้ามการขอ(ทาน) แต่อนุญาตให้รับได้หากไม่ได้ขอ และเขาให้อย่างเต็มใจ - (ไทย)

ท่านรซูลได้ห้ามการขอผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เพราะมันเป็นเหตุให้จิตใจตกต่ำ ลุ่มหลงดุนยา และมัวแต่สะสมมัน และบอกว่าผู้ใดที่เคยชินกับการขอผู้อื่นจะมาในวันกิยามะฮฺที่ใบหน้าของเขาไม่มีชิ้นเนื้อใดๆ เป็นผลจากการไม่มีความอายเที่ยวแบมือขอคนในโลกดุนยานี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทดี คือเอกลักษณ์สำคัญของการเป็นมุสลิม - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงประเด็นการแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นมุสลิม ผ่านบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีคุณลักษณะนิสัยและมารยาทที่ดี ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในคำสอนที่สำคัญอย่างยิ่งในบทบัญญัติอิสลาม อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ท่านศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำไว้เป็นแบบอย่างในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนและงดงามยิ่ง

Image

ซาดุลมะอาดฉบับย่อ 01 - (ไทย)

เนื้อหาที่คัดแปลจากซาดุลมะอาดฉบับย่อ ตั้งแต่บทนำที่กล่าวถึงการที่อัลลอฮฺทรงเลือกแต่สิ่งที่ดีและความจำเป็นต้องศึกษาแบบฉบับของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาต่างๆ คือ (1) แบบฉบับของท่านในการอาบน้ำละหมาด (2) การตะยัมมุม (3) แบบฉบับของท่านนบีในการละหมาด (4) การอ่านในละหมาด (5) การรุกูอฺ (6) การสุญูด (7) การนั่งตะชะฮุด (8) การสุญูดสะฮฺวีย์ (9) การละหมาดสุนัต (10) กิยามุลลัยลฺ (11) ละหมาดดุฮา (12) สุญูดขอบคุณและสุญูดสัจญ์ดะฮฺ (13) วันศุกร์ (14) ข้อปฏิบัติในวันอีด (15) เมื่อเกิดอุปราคา (16) การขอฝน

Image

อายุขัยและโชคลาภ - (ไทย)

อธิบายข้อกำหนดของพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องอายุขัยและโชคลาภของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า อะญัล และ ริสกี ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้วางไว้เป็นกฎเกณฑ์มาก่อนที่มนุษย์จะลืมตาดูโลก และการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็เป็นไปตามนั้น พร้อมทั้งอธิบายวิธีการเพิ่มพูนโชคลาภและอายุขัยให้ยืนยาว ตามคำสอนของอิสลาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ - (ไทย)

อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเป็นสูเราะฮฺที่ยาวที่สุดในอัลกุรอาน เป็นสูเราะฮฺอันยิ่งใหญ่ที่กล่าวถึงภาระหน้าที่ของมนุษย์ นั่นคือการเป็นผู้ดูแลโลก ซึ่งประกอบด้วยแนวทางที่ชัดเจนในการทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งตัวอย่างของทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จและผู้ที่ล้มเหลวในการทำหน้าที่นี้ และยังได้ระบุถึงรายละเอียดปลึกย่อยต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์ของอิสลาม ศาสนาที่มีแนวทางอันครอบคลุมและทรงพลังในการปฏิรูปและพัฒนาสังคมโลกตามกรอบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดปราน