×
ท่านรซูลได้ห้ามการขอผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เพราะมันเป็นเหตุให้จิตใจตกต่ำ ลุ่มหลงดุนยา และมัวแต่สะสมมัน และบอกว่าผู้ใดที่เคยชินกับการขอผู้อื่นจะมาในวันกิยามะฮฺที่ใบหน้าของเขาไม่มีชิ้นเนื้อใดๆ เป็นผลจากการไม่มีความอายเที่ยวแบมือขอคนในโลกดุนยานี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    ห้ามการขอ(ทาน) แต่อนุญาตให้รับได้หากไม่ได้ขอ และเขาให้อย่างเต็มใจ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2013 - 1435

    النهي عن السؤال وجواز اللأخذ بغير سؤال وبسخاوة نفس

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2013 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ห้ามการขอ(ทาน) แต่อนุญาตให้รับได้หากไม่ได้ขอ และเขาให้อย่างเต็มใจ

    ท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัรฺ(เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) กล่าวว่า

    «مَا يَزال الرَجُل يَسْأل النَّاسَ حتى يَأتيَ يَومَ القِيامةِ لَيسَ فِي وجهِهِ مزعة لحم» [أخرجه البخاري]

    “ชายคนนั้น(คือ คนที่แบมือขอทาน)จะยังคง(แบมือ)ขอคนอื่นอยู่เรื่อยกระทั้งเขามาในวันกิยามะฮฺที่หน้าของเขาไม่มีชิ้นเนื้อใดๆ” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    ท่านฮิซาม บิน ฮะกีม เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า

    «سَأَلْتُ رَسول الله ﷺ‬ فأعطاني، ثم سألتَه فَأعطاني، ثم سألتَه فأعْطاني، ثم قال: يا حَكِيم، إِنَّ هَذا المال خَضِرة حُلوة فَمَن أَخَذَهُ بِسَخَاوَة نَفْس بُوْرِك لَه فيه، ومن أخذه بإشْراف نَفْس لَم يباركْ لَه فيه، كالذي يأكلُ وَلا يَشْبع، اليَدْ العُلْيا خَيرٌ مِن اليد السُفلى» [أخرجه البخاري]

    ฉันได้ไปขอ(บริจาคจาก)ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านก็ให้ฉัน หลังจากนั้นฉันก็ได้ไปขอท่านอีก ท่านก็ให้ฉัน หลังจากนั้นฉันก็ได้ไปขอท่านอีก ท่านก็ให้ฉัน หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่า “ฮะกีมเอ๋ย แท้จริงเงินทองนี้มันเขียวขจีหอมหวาน ดังนั้น ผู้ใดรับเอามันด้วยการให้อย่างเต็มใจ เขาจะได้รับความจำเริญในมัน แต่ผู้ใดรับเอามันด้วยการให้อย่างอึดอัดใจ เขาจะไม่ได้รับความจำเริญในมัน เหมือนกับคนที่กินแต่ไม่อิ่ม มือบน(ผู้ให้)ดีกว่ามือล่าง(ผู้รับ) บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    ท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า

    «كَان رَسُول الله ﷺ‬ يُعْطِيني العَطاء فأقول: أَعْطِهِ مَن هُوَ أَفْقَر إِلَيْه مِنّي، فَقَال: خُذْه، إِذا جَاءَكَ مِن هذا المال شَيْء وَأَنْت غَيْر مُشرف وَلَا سَائلٍ، فَخُذْه، وَمَا لاَ تتبعه نَفْسُك» [أخرجه البخاري]

    “ท่านเราะสูลุลลอฮฺเคยให้ของฉัน แล้วฉันก็กล่าวว่า “โปรดให้มันแก่ผู้ที่ต้องการมันมากกว่าฉันเถิด” ท่านกล่าวว่า “จงรับไว้เถิด หามีสิ่งใดจากเงินนี้มายังท่าน ขณะที่ท่านไม่ได้ไปคะยั้นคะยอและไม่ได้ไปขอ ก็จงรับไว้เถิด แต่ถ้าไม่ใช่ก็จงอย่าให้จิตใจติดตาม(คอยคิดถึง)มัน”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    อธิบาย

    ท่านรซูลได้ห้ามการขอผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เพราะมันเป็นเหตุให้จิตใจตกต่ำ ลุ่มหลงดุนยา และมัวแต่สะสมมัน และบอกว่าผู้ใดที่เคยชินกับการขอผู้อื่นจะมาในวันกิยามะฮฺที่ใบหน้าของเขาไม่มีชิ้นเนื้อใดๆ เป็นผลจากการไม่มีความอายเที่ยวแบมือขอคนในโลกดุนยานี้

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    • ห้ามไปขอทรัพย์สินจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
    • อนุญาตให้รับเงินได้ สำหรับผู้ที่มีคนนำมาให้โดยไม่ได้เป็นฝ่ายขอเอง