×
Image

วาญิบต้องทำหัจญ์ - (ไทย)

หัจญ์เป็นหนึ่งในหลักการปฏิบัติทั้งห้าอันยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงบังคับผู้ที่มีความสามารถให้ทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต และทรงทำให้การทำหัจญ์นั้นเกิดประโยชน์อย่างมากมายแก่บรรดามุสลิมทั้งทางด้านศาสนาและทางโลก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415

Image

การตอบโต้พฤติกรรมดูหมิ่นอิสลาม - (ไทย)

บทความคัดจากหนังสือ “รวมอายะฮฺอัลกุรอานว่าด้วยพฤติกรรมการเยาะเย้ยอิสลามและนักดาอีย์” อธิบายวิธีการตอบโต้ผู้ดูหมิ่นอิสลามตามแนวทางของอัลกุรอาน ประกอบด้วย การประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ดูหมิ่นอิสลาม การตัดขาดจากวงชุมนุมของการดูหมิ่นล้อเลียน การโยนการเยาะเย้ยกลับไปยังผู้ดูหมิ่นเอง และการดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้ดูหมิ่น

Image

หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 9 - กลิ่นปากของผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

คำบางคำที่ห้ามพูด - (ไทย)

บทบัญญัติ(อิสลาม)ได้ห้ามคำพูดบางคำ เพราะถือเป็นมารยาทที่ไม่ดีต่ออัลลอฮฺ หรือเป็นการเทียบเคียงสิ่งอื่นเสมือนพระองค์ หนึ่งในนั้นคือ การด่าว่ากาลเวลา หรือด่าว่าช่วงเวลาที่เกิดทุกข์ภัย เพราะกาลเวลาไม่ได้เป็นผู้กระทำ ผู้กระทำจริงๆคืออัลลอฮฺ และ(เช่นกันห้าม)การกล่าวว่า (สิ่งนี้คือ)สิ่งที่อัลลอฮฺ และคนนั้นคนนี้ประสงค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

หะดีษที่ 8 - ความเบิกบานใจของผู้ถือศีลอด - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 8 - ความเบิกบานใจของผู้ถือศีลอด พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

ห้ามการขอ(ทาน) แต่อนุญาตให้รับได้หากไม่ได้ขอ และเขาให้อย่างเต็มใจ - (ไทย)

ท่านรซูลได้ห้ามการขอผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เพราะมันเป็นเหตุให้จิตใจตกต่ำ ลุ่มหลงดุนยา และมัวแต่สะสมมัน และบอกว่าผู้ใดที่เคยชินกับการขอผู้อื่นจะมาในวันกิยามะฮฺที่ใบหน้าของเขาไม่มีชิ้นเนื้อใดๆ เป็นผลจากการไม่มีความอายเที่ยวแบมือขอคนในโลกดุนยานี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

อายุขัยและโชคลาภ - (ไทย)

อธิบายข้อกำหนดของพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องอายุขัยและโชคลาภของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า อะญัล และ ริสกี ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้วางไว้เป็นกฎเกณฑ์มาก่อนที่มนุษย์จะลืมตาดูโลก และการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็เป็นไปตามนั้น พร้อมทั้งอธิบายวิธีการเพิ่มพูนโชคลาภและอายุขัยให้ยืนยาว ตามคำสอนของอิสลาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ - (ไทย)

อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเป็นสูเราะฮฺที่ยาวที่สุดในอัลกุรอาน เป็นสูเราะฮฺอันยิ่งใหญ่ที่กล่าวถึงภาระหน้าที่ของมนุษย์ นั่นคือการเป็นผู้ดูแลโลก ซึ่งประกอบด้วยแนวทางที่ชัดเจนในการทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งตัวอย่างของทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จและผู้ที่ล้มเหลวในการทำหน้าที่นี้ และยังได้ระบุถึงรายละเอียดปลึกย่อยต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์ของอิสลาม ศาสนาที่มีแนวทางอันครอบคลุมและทรงพลังในการปฏิรูปและพัฒนาสังคมโลกตามกรอบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดปราน

Image

ข้อผิดพลาดบางประการของผู้ทำหัจญ์ - (ไทย)

กล่าวถึงข้อผิดพลาดบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบพิธีหัจญ์ อาทิ การละหมาดนอกเวลา การขอดุอาอ์หันหน้าไปทางกุโบร์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การถ่ายรูปที่ระลึกจนเกินเลย การอิห์รอมเลยมีกอต การขอดุอาอ์เฉพาะบทอย่างเจาะจงในเฏาะวาฟ การอยู่นอกเขตอะเราะฟะฮฺ การมอบหมายให้คนอื่นขว้างหินแทน การตัดผมไม่ทั่ว การโกนเคราเมื่อตะหัลลุล จากหนังสือ “อัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ” โดยเชค ดร.อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การอบรมเลี้ยงดูบุตร - (ไทย)

กล่าวถึงคำแนะนำจากอัลกุรอานและแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดี ตามเจตนารมณ์ที่อิสลามต้องการ เป็นข้อคิดบางประการที่ผู้ปกครองและพ่อแม่จะต้องเรียนรู้และนำไปใช้ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่จะช่วยให้ลูกรอดพ้นจากการเป็นชาวนรก โดยเฉพาะในสภาวะของโลกปัจจุบัน

Image

การชดใช้หนี้สิน - (ไทย)

อธิบายหะดีษต่างๆ ว่าด้วยการเตือนให้ชดใช้หนี้สิน และภัยจากการไม่ยอมใช้หนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องรับโทษในสุสานและถูกกักกันไม่ให้เข้าสวรรค์ในวันกิยามะฮฺ รวมทั้งแนะนำข้อปฏิบัติต่างๆ สำหรับเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนตาย - (ไทย)

กล่าวถึงผลบุญแห่งความดีบางประการที่ผู้ตายยังคงได้รับหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว อาทิ ดุอาอ์ที่มุสลิมขอให้แก่เขา ผู้ปกครองหรือญาติถือศีลอดชดใช้แทนผู้ตาย การชดใช้หนี้สินแทนผู้เสียชีวิต คุณงามความดีที่ลูกได้กระทำ ร่องรอยความดีงามและกุศลทานที่ส่งผลต่อเนื่อง เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์