×
Image

การครองชีวิตคู่ - (ไทย)

สิ่งหนึ่งที่ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือครอบครัว ทั้งยามที่อยู่ในบ้านและอยู่นอกบ้าน พื้นฐานของครอบครัวนั้นประกอบจากสามีและภรรยา ซึ่งศาสนาอิสลามได้กำหนดบทบัญญัติและขอบเขตต่าง ๆ ที่คู่สามีภรรยาจะต้องดำรงไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งจะนำไปสู่ความสงบสุขในสังคมนั่นเอง ดังนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงสิ่งสำคัญบางประการที่จะนำคู่สามีภรรยาไปสู่การครองชีวิตคู่ให้เติบโตอยู่อย่างมั่นคง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

บทบัญญัติว่าด้วยซะกาตฟิฏเราะฮฺ - (ไทย)

ข้อมูลโดยละเอียดของบทบัญญัติว่าด้วยซะกาตฟิฏเราะฮฺ เช่น ความหมายของซะกาตฟิฏเราะฮฺ หุก่ม ผู้วาญิบต้องจ่าย ต้องจ่ายให้แก่ผู้ใด จ่ายด้วยเงินได้หรือไม่ ? เป็นต้น โดยวิเคราะห์ความเห็นของอุละมาอ์ในมัซฮับต่างๆ พร้อมข้อสรุปในแต่ละประเด็น

Image

ชีวิตอภิรมย์ : จากถ้อยคำที่ดีงามสู่นิวาสถานอันบรมสุขสถาพร - (ไทย)

การมีชีวิตอย่างบรมสุขคือเป้าหมายของมนุษย์เรืองปัญญา ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันและอนาคต มนุษย์พยายามคิดค้นทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งความสุข ตลอดจนไขว่คว้าทุกอย่างเพื่อให้บรรลุถึงความสุขที่คาดหวังไว้ ... บทความนี้อธิบายแนวทางของอิสลามในการค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต จากคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า

Image

ซะกาตฟิฏรฺ (ซะกาตฟิฏเราะฮฺ) - (ไทย)

รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องซะกาตฟิฏรฺ เช่น เหตุผลหรือวิทยปัญญาในการบัญญัติซะกาตฟิฏรฺ ข้อตัดสินหรือ หุก่มของซะกาตฟิฏรฺ ปริมาณของซะกาตฟิฏรฺ เวลาของซะกาตฟิฏรฺ แหล่งจ่ายซะกาตฟิฏรฺ หะดีษที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ ฟัตวาการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺด้วยเงินได้หรือไม่ ?

Image

ลักษณะของ นรก - (ไทย)

อธิบายลักษณะต่างๆ ของนรก เช่น ชื่อต่างๆของนรก ที่ตั้งนรก ประตูนรก ยามเฝ้านรก ผู้ที่ต้องโทษหนักและเบาที่สุด โซ่ตรวนในนรก อาหารของชาวนรก ที่นอนของชาวนรก อาภรณ์ของชาวนรก เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

สังคมของเศาะหาบะฮฺ คือ สังคมแห่งการรุกูอฺและสุญูด - (ไทย)

นะศีหะฮฺเตือนใจที่ฉายภาพตัวอย่างในอดีตจากยุคของบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มีความมุ่งมั่นอยู่กับการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺตลอดเวลา ด้วยการหมั่นละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ทำให้พวกเขาได้รับการสมญานามจากอัลลอฮฺเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะ รุกกะอัน สุจญะดัน หมายถึงรุกูอฺและสุญูดอย่างมากมาย บทความชิ้นนี้จะชักชวนให้เราทบทวนตัวเองและมองย้อนไปยังอดีตอันรุ่งโรจน์เพื่อเอาเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมปัจจุบัน

Image

150 ประตูแห่งความดี แด่...ผู้มีชีวีถึงเราะมะฎอน - (ไทย)

บทความที่รวบรวมบรรดาหะดีษและอาษารฺซึ่งเป็นประตูหลายบานที่จะนำไปสู่ความดีงามพร้อมทั้งเป็นการมาช่วยขัดเกลาในภารกิจอันสำคัญของเดือนเราะมะฎอนอันประเสริฐนี้ พร้อมกันนี้ได้เตือนระวังถึงความจำเป็นต่อการรักษาการทำอิบาดะฮฺทั้งที่เป็นฟัรฏูและซุนนะฮฺ

Image

เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ - (ไทย)

อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ คือการย้ำให้มนุษย์เข้มแข็งในจุดยืนและไม่เป็นคนที่เหลาะแหละหรือเป็นคนในแง่ลบ สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ เป็นหนึ่งในสูเราะฮฺมักกียะฮฺที่มีเนื้อหายืดยาวที่สุด และถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่นำเสนอเรื่องราวของบรรดานบีอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม จนถึงช่วงสุดท้ายของการสร้าง ตามด้วยเรื่องราวของท่านนบีนูหฺ ท่านนบีฮูด ท่านนบีศอลิหฺ ท่านนบีลูฏ ท่านนบีชุอัยบฺ ท่านนบีมูซา และท่านนบีมุหัมมัดของเรา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

Image

คัมภีร์อัลกุรอานคืออะไร? - (ไทย)

คัมภีร์อัลกุรอานคืออะไร?

Image

ปิดท้ายอิบาดะฮฺด้วยการอิสติฆฟารฺ - (ไทย)

มีปรากฏหลักฐานในอัลกุรอานจำนวนมากที่กำชับใช้ให้มีการขออภัยโทษ ส่งเสริม กระตุ้น และอธิบายถึงผลที่ได้รับ รวมถึงร่องรอยของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เสร็จสิ้นจากการเคารพภักดี และหลังจากที่ได้ประกอบอิบาดะฮฺอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นที่ประจักษ์ว่าส่วนหนึ่งจากจริยวัตรของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจะปิดท้ายการประกอบคุณงามความดีด้วยการขออภัยโทษ (อิสติฆฟารฺ)

Image

คำแนะนำก่อนทำหัจญ์ - (ไทย)

บทความแนะนำแก่ผู้ที่ประสงค์จะไปทำหัจญ์ ด้วยคำแนะนำเก้าข้อ ก่อนที่จะเดินทางเพื่อบำเพ็ญหัจญ์ เช่น การศึกษาสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับหัจญ์ การเตาบัตตัวก่อนไปหัจญ์ การขออภัยจากพี่น้องเพื่อนฝูง การเตรียมค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว การร่วมเดินทางกับคนดี การใช้ทรัพย์สินที่หะลาล การเขียนวะศียะฮฺ การบริสุทธิ์ใจ เป็นต้น

Image

ประวัติท่านคอลิด บิน อัล-วะลีด - (ไทย)

เรื่องราวโดยย่อจากประวัติของท่านคอลิด บิน อัล-วะลีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แม่ทัพอิสลามผู้โด่งดังที่ได้รับฉายาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าเป็นดาบของอัลลอฮฺ กล่าวถึงบทบาทในการนำทัพ ความกล้าหาญและความเฉลียวฉลาดในการสู้รบของท่านที่มิอาจจะหาใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์อิสลาม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์.