ประเภทของการฆ่า
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
ประเภทของการฆ่า
﴿أقسام القتل﴾
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: رشدي كاريسا
مراجعة: صافي عثمان
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : รุสดี การีสา
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ประเภทของการฆ่า
การฆ่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การฆ่าโดยเจตนา
2. การฆ่ากึ่งเจตนา
3. การฆ่าโดยไม่เจตนา
1. การฆ่าโดยเจตนา
คือ การที่ผู้กระทำการฆ่ามีความตั้งใจคร่าชีวิตคนที่เขารู้ดีว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยการกระทำที่เขามั่นใจว่าสามารถทำให้คนผู้นั้นเสียชีวิตได้
รูปแบบการเจตนาฆ่า มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
1. การทำให้เกิดบาดแผลบนร่างกายด้วยของมีคม อาทิ ด้วยมีด หอก ปืน เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ที่ถูกกระทำเสียชีวิตเพราะเหตุดังกล่าว
2. การตี หรือทุบด้วยของหนัก อาทิ ก้อนหินใหญ่ หรือด้ามไม้ที่แข็ง หรือด้วยการชนกับรถยนต์ หรือด้วยการพังกำแพงใส่เขา เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ถูกกระทำเสียชีวิตเพราะเหตุดังกล่าว
3. การผลักหรือโยนผู้เคราะห์ร้ายในที่ๆ ไม่สามารถเอาชีวิตให้รอดได้ อาทิ ผลักลงไปในน้ำเพื่อให้จม หรือในกองไฟเพื่อให้ถูกเผา หรือพาไปกักขังโดยมิได้รับอาหารและน้ำกระทั่งเสียชีวิตเพราะเหตุดังกล่าว
4. การรัดคอด้วยเชือกหรือสายเหล็กเป็นต้น หรือด้วยการปิดปากปิดจมูกกระทั่งเสียชีวิต
5. การนำไปขังในกรงสัตว์ที่ดุร้ายเช่นสิงโต หรือปล่อยให้งูกัด หรือปล่อยให้กับสุนัขทำร้ายจนกระทั่งเสียชีวิต
6. การให้เขาดื่มพิษโดยที่ผู้ดื่มมิได้รับรู้กระทั่งเสียชีวิต
7. การฆ่าด้วยการใช้ไสยศาสตร์ที่สามารถคร่าชีวิตได้
8. การเป็นพยานของชายสองคนต่อผู้ต้องหาที่บริสุทธิ์เพื่อให้ถูกฆ่า หลังจากนั้นพยานทั้งสองคนก็ได้กล่าวว่า “เราได้เจตนาฆ่าเขา(ด้วยการเป็นพยานเท็จ)" หรือ ด้วยการสร้างหลักฐานเท็จจนต้องดำเนินการไปตามนั้น ซึ่งนำไปสู่การสิ้นชีพของผู้ต้องหา เป็นต้น
· ผู้ที่มีเจตนาฆ่า และได้ลงมือกระทำการฆ่านั้น ต้องได้รับการลงโทษด้วยการกิศอศ(การประหารตาม) และเป็นสิทธิของบรรดาญาติผู้ตายที่จะตกลงให้มีการประหารหรือให้ทดแทนด้วยการจ่ายดิยะฮฺ(สินไหมชดเชย) หรือจะให้อภัยแก่ผู้ฆ่า ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นการดียิ่งกว่า
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
( ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ) [البقرة / 237 ].
ความว่า “และการที่พวกเจ้ายกให้นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้แก่ความยำเกรงมากกว่า" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 237)
2. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«.. وَمَنْ قُتِلَ لَـهُ قَتِيلٌ فَهُوَ بِخَيْرِ النَّظَرَيْنِ إمَّا أَنْ يُفْدَى، وَإمَّا أَنْ يُـقْتَلَ...». متفق عليه
ความว่า “และผู้ใดที่ญาติของเขาได้ถูกฆ่า แท้จริงเขาจะเป็นผู้เลือกระหว่างสองสิ่งที่ควรกระทำคือยอมให้จำเลยจ่ายฟิดยะฮฺ หรือตกลงให้ทำการประหารฆาตกรตาม" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6880 และมุสลิม หมายเลข 1355 สำนวนนี้เป็นของท่าน)
3. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَا نَقَصَتْ صَدَقَةٌ مِنْ مَالٍ، وَمَا زَادَ الله عَبْداً بِعَفْوٍ إلا عِزّاً، وَمَا تَوَاضَعَ أَحَدٌ ٬ إلَّا رَفَعَهُ الله». أخرجه مسلم
ความว่า “แท้จริงทรัพย์สมบัติมิได้ลดลงเลยจากการบริจาคทาน แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงเพิ่มให้แก่ผู้ให้การอภัยนอกจากความมีเกียรติ และไม่มีผู้ใดที่ถ่อมตนนอกเสียจากพระองค์จะทรงยกย่องเขา" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2588)
เงื่อนไขการกิศอศ
1. ผู้ถูกฆ่านั้นไร้ซึ่งความผิด
หากมุสลิมได้กระทำการฆ่ากาฟิรที่เป็นกาฟิรหัรบีหรือผู้เป็นมุรตัด(ออกจากศาสนา) หรือซินา(ผิดประเวณี)ผู้ซึ่งเคยผ่านการแต่งงานแล้ว การกิศอศให้ถือเป็นโมฆะ หากแต่จะต้องได้รับโทษด้วยการ ตะอฺซีร (การดำเนินโทษตามที่เห็นสมควรโดยผู้พิพากษา) เพื่อให้เกิดความหลาบจำแทน เนื่องจากเขาได้กระทำการมองข้ามหากิม (คือการตั้งตนเป็นศาลเตี้ยโดยไม่สนใจต่อระเบียบบ้านเมืองหรือกฎหมาย)
2. ฆาตกรต้องเป็นผู้ที่บรรลุวัยตามศาสนบัญญัติ มีสติปัญญา และเจตนาฆ่า
ดังนั้นการกิศอศถือเป็นโมฆะหากผู้กระทำการฆ่าเป็นเด็กหรือผู้ขาดสติหรือมิได้เจตนา แต่พวกเขาจำเป็นจะต้องจ่ายดิยะฮฺ
3. ผู้ฆ่าและผู้ถูกฆ่าต้องมีความเท่าเทียมกันขณะที่ถูกกระทำ กล่าวคือเท่าเทียมกันในเรื่องศาสนา ดังนั้นการกิศอศ จะไม่ถูกดำเนินการกิศอศต่อมุสลิมที่กระทำการฆ่ากาฟิร(แต่อาจจะได้รับโทษในรูปอื่น-บรรณาธิการ) ในตรงกันข้ามหากกาฟิรกระทำการฆ่ามุสลิมจะถูกกิศอศ และจะไม่มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิงคือ หากมุสลิมกระทำการฆ่ามุสลิมะฮฺจะถูกกิศอศ เช่นเดียวหากผู้กระทำเป็นผู้หญิงก็จะถูกลงโทษด้วยการกิศอศ
4. ผู้ถูกฆ่าจะต้องไม่ใช่บุตรของผู้กระทำการฆ่า
ดังนั้นการกิศอศจะถือเป็นโมฆะ หากผู้กระทำการฆ่าเป็นบิดาหรือมารดาของผู้ถูกฆ่า หรือมีฐานะเป็นปู่ย่าตายายหรือสูงกว่า และไม่ว่าผู้ถูกฆ่าจะเป็นบุตรชายหรือบุตรสาว หรือเป็นหลานหรือมีฐานะเป็นเชื้อสายที่ต่ำลงไปกว่านั้น แต่ถ้าหากผู้ฆ่านั้นเป็นบุตรของผู้ถูกฆ่า เขาจะต้องได้รับการลงโทษด้วยการกิศอศ เว้นแต่ว่าญาติที่มีสิทธิในตัวของผู้ถูกฆ่านั้นจะอภัยโทษให้
· การกิศอศจะถือเป็นโมฆะหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประการหนึ่งประการใดดังที่ได้กล่าวมา แต่จะถูกให้เปลี่ยนด้วยการจ่ายสินไหมที่หนัก (ดิยะฮฺ มุฆ็อลละเซาะฮฺ) แทน
เงื่อนไขการดำเนินการกิศอศ
1. ญาติของเหยื่อผู้ถูกฆ่าจะต้องเป็นผู้ที่บาลิฆ (บรรลุวัยตามศาสนบัญญัติ) มีสติปัญญา ดังนั้นหากญาติของผู้ถูกฆ่ายังไม่บรรลุวัย ขาดสติ หรือไม่อยู่ จะต้องนำจำเลยไปฝากขังจนกระทั่งบุคคลเหล่านี้ได้บรรลุวัย มีสติกลับคืน หรือได้กลับมาถึงแล้ว จากนั้นให้บรรดาญาติๆ ของเหยื่อเป็นผู้เลือกระหว่างการกิศอศ การจ่ายสินไหม หรือจะยกโทษให้แก่จำเลย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการดีที่สุด
2. บรรดาญาติๆ ของเหยื่อที่มีสิทธิในการตัดสินใจจะต้องเห็นด้วยทั้งหมดในการที่จะกระทำการประหารฆาตกร หากมีผู้ใดผู้หนึ่งในบรรดาญาติๆ ของผู้ตายให้การอภัย ให้ถือว่าการกิศอศ(การประหารให้ตายตาม)เป็นโมฆะทันที และต้องเปลี่ยนการลงโทษด้วยการจ่ายสินไหมที่หนัก(ดิยะฮฺ มุฆ็อลละเซาะฮฺ)แทน
3. ต้องแน่ใจว่าการกระทำการกิศอศผู้ฆ่านั้นจะไม่มีผลกระทบต่อผู้อื่นที่บริสุทธิ์ ดังนั้นหากผู้กระทำการฆ่านั้นเป็นหญิงที่กำลังมีครรภ์ ต้องรอจนกระทั่งเธอคลอดและพ้นจากสภาพการให้นมบุตรเสียก่อน หากสามารถหาผู้ให้นมแก่บุตรแทนได้ก็ให้ทำการกิศอศได้ ไม่เช่นนั้นก็ต้องรอจนกว่าบุตรจะพ้นจากวัยที่ต้องให้นมไปแล้ว
· ดังนั้นหากเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็อนุมัติให้กระทำการกิศอศได้ หาไม่แล้วการกิศอศให้ถือเป็นโมฆะ
ฆาตกรที่เป็นเด็กหรือคนบ้า
กรณีที่ผู้กระทำการฆ่าเป็นเด็กหรือเป็นผู้ขาดสติ ไม่เป็นการอนุมัติให้กระทำการกิศอศ แต่ให้เปลี่ยนเป็นการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺแทนซึ่งต้องนำเอาจากทรัพย์สินของพวกเขา และจะต้องจ่ายสินไหมโดยผู้ปกครองของพวกเขา ในกรณีที่มีผู้ว่าจ้างให้เด็กหรือผู้ขาดสติกระทำการฆ่า ให้ทำการกิศอศผู้ว่าจ้างแทนเพราะเด็กหรือผู้ขาดสตินั้นเป็นเพียงเครื่องมือในการกระทำการฆ่าเท่านั้น
การร่วมมือฆ่า
หากมีคนหนึ่งจับเหยื่อไว้แล้วมีคนอีกคนหนึ่งกระทำการฆ่าเหยื่อโดยเจตนา ให้ทำการประหารคนฆ่า ส่วนผู้ที่จับเหยื่อไว้นั้น ถ้าหากเขารู้แก่ใจว่าเหยื่อจะถูกฆ่าก็ต้องโดนโทษประหารด้วย แต่หากเขาไม่รู้ว่าเหยื่อจะถูกฆ่าโดยฆาตกร ก็ให้ลงโทษด้วยการขังไว้ตามที่ผู้พิพากษาวินิจฉัยเห็นควร
การบังคับให้ฆ่า
ผู้ใดก็ตามทำการบังคับให้ผู้อื่นกระทำการฆ่าผู้บริสุทธิ์ ให้ทำการลงโทษด้วยการกิศอศทั้งผู้บังคับและผู้ลงมือ
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛﯜ) [البقرة / 179 ].
ความว่า “และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น (การกิศอศ) คือการดำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 179)
การตัดสินแบบญาฮิลียะฮฺที่ไม่ใช่อิสลาม
ในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมส่วนใหญ่ได้กำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำการฆ่าด้วยการกักขังในเรือนจำ โดยอ้างว่าเป็นอารยธรรมที่ทันสมัยและเป็นการเมตตาต่อฆาตกร แต่พวกเขากลับมองข้ามความเมตตาและความเป็นธรรมแก่เหยื่อผู้ถูกฆ่า และไม่ได้เมตตาบรรดาภรรยาและลูกๆ ของเหยื่อที่ต้องขาดผู้ดูแลและเสาหลักของพวกเขา และไม่ได้เมตตาต่อสังคมที่ล้วนหวงแหนชีวิต เกียรติและทรัพย์สินของพวกเขา จากการก่อกรรมของอาชญากรเหล่านี้ ซึ่งทำให้ความชั่วขยายออกไปเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น มีการฆ่าฟันกันระบาดไปทั่ว และมีปัญหาอาชญากรรมขยายรูปแบบมากมายเป็นทวีคูณ
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ) [المائدة / 50 ]
ความว่า “ข้อตัดสินสมัยญาฮิลียะฮฺกระนั้นหรือที่พวกเขาปรารถนา และใครเล่าที่จะมีข้อตัดสินดียิ่งกว่าอัลลอฮฺสำหรับกลุ่มชนที่เชื่อมั่น" (อัล-มาอิดะฮฺ 50)
การกิศอศจะกระทำได้ต่อเมื่อ
1. การยอมรับของผู้กระทำการฆ่า
2. หรือ .. การมีพยานชายสองคนที่มีคุณธรรม ยืนยันในการฆาตกรรมของจำเลย หรือด้วยการกล่าวคำสาบานตน ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป
การดำเนินโทษด้วยการกิศอศ
การกิศอศ(การประหารฆาตกรให้ตายตาม)นั้นเมื่อมีการยืนยันครบตามเงื่อนไข ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการโดยผู้ปกครองรัฐหรือผู้แทนเขา เมื่อญาติของเหยื่อผู้ถูกฆ่าได้ร้องให้ผู้ปกครองดำเนินโทษกิศอศต่อฆาตกร และการกิศอศจะต้องไม่ลงมือเว้นแต่ว่าผู้ปกครองหรือผู้แทนจะต้องร่วมอยู่ในพิธีการนั้นด้วย และจะต้องไม่ทำการกิศอศยกเว้นด้วยเครื่องมือที่มีความคม อาทิ ดาบ ด้วยการฟันลงไปที่ลำคอของฆาตกร หรือให้ประหารด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกันกับที่ฆาตกรใช้ฆ่าเหยื่อ เช่น ถ้าเหยื่อถูกฆ่าด้วยการทุบหัวด้วยหิน ก็ให้ใช้หินทุบหัวฆาตกรจนเสียชีวิต เป็นต้น
1. จาก ชัดด๊าด บิน เอาส์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า สองประการที่ฉันจำมาจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือที่ท่านได้กล่าวว่า
«إِنَّ اللهَ كَتَبَ الْإِحْسَانَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ، فَإِذَا قَتَلْتُمْ فَأَحْسِنُوا الْقِتْلَةَ، وَإِذَا ذَبَحْتُمْ فَأَحْسِنُوا الذَّبْحَ، وَلْيُحِدَّ أَحَدُكُمْ شَفْرَتَهُ فَلْيُرِحْ ذَبِيحَتَهُ». أخرجه مسلم
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺกำหนดให้ทำดีในทุกๆ สิ่ง ดังนั้น เมื่อพวกเจ้าจะฆ่า(สัตว์)ก็จงฆ่าอย่างดี และเมื่อพวกเจ้าจะเชือดก็จงเชือดอย่างดี และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจงลับมีดของเขาให้คมเพื่อให้สัตว์เชือดของเขาไม่ต้องทรมาน" (บันทึกโดยมุสลิม 1955)
2. จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
أَنَّ يَهُودِيًّا رَضَّ رَأْسَ جَارِيَةٍ بَيْنَ حَجَرَيْنِ، قِيلَ: مَنْ فَعَلَ هَذَا بِكِ؟ أَفُلَانٌ أَفُلَانٌ! حَتَّى سُمِّيَ الْيَهُودِيُّ، فَأَوْمَأَتْ بِرَأْسِهَا، فَأُخِذَ الْيَهُودِيُّ فَاعْتَرَفَ، فَأَمَرَ بِهِ النَّبِيُّ ﷺ فَرُضَّ رَأْسُهُ بَيْنَ حَجَرَيْنِ. متفق عليه
ความว่า ยิวผู้หนึ่งได้ตีศรีษะของหญิงคนหนึ่งด้วยการประกบหินสองก้อน ได้มีการสอบถามนางว่าใครเป็นคนทำเธอ คนนี้หรือคนนั้น ? จนกระทั่งเมื่อชื่อของยิวคนนั้นถูกเอ่ยนางก็ผงกศรีษะยอมรับ แล้วชาวยิวคนนั้นก็ถูกนำมาไต่สวนและเขาก็รับผิด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงสั่งให้ตีศรีษะของเขาด้วยการประกบหินสองก้อนเป็นการลงโทษ" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2413 สำนวนนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม หมายเลข 1672)
วะลีย์ อัด-ดัม
วะลีย์ อัด-ดัม หรือ ญาติของผู้ตายที่มีสิทธิในการฟ้องร้องในดำเนินโทษกิศอศหรือยกโทษให้ ก็คือญาติทั้งหมดที่มีสิทธิในมรดกของเขาไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคนแก่ ถ้าหากพวกเขาทุกคนเรียกร้องให้มีการกิศอศก็จำเป็นต้องดำเนินการตามที่เรียกร้องนั้น และถ้าหากทุกคนยกโทษให้ การกิศอศก็ตกไป และถ้าหากว่ามีบางคนเท่านั้นที่ยกโทษให้ การกิศอศก็ตกไปเช่นกัน ถึงแม้ว่าคนอื่นๆ จะไม่ยอมยกโทษให้ก็ตาม และถ้าหากว่ามีการพยายามหาช่องทางเพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการกิศอศและกลัวว่าจะเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยหากมีการยกโทษให้ฆาตกรแล้วละก็ ให้จำกัดสิทธิในการยกโทษเฉพาะแก่ญาติผู้ชายเท่านั้น โดยไม่รวมญาติที่เป็นผู้หญิง
ดิยะฮฺ หรือสินไหมของการฆ่าโดยเจตนา
กรณีที่ญาติของเหยื่อผู้ถูกฆ่ายกโทษให้โดยเปลี่ยนจากการกิศอศเป็นการจ่ายดิยะฮฺหรือสินไหมชดเชย ก็จำเป็นที่จะต้องจ่ายดิยะฮฺจากทรัพย์สินของผู้ฆ่า นั่นคือจ่ายอูฐหนึ่งร้อยตัว ดังปรากฏหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ قَتَلَ مُؤْمِناً مُتَعَمِّداً دُفِعَ إلَى أَوْلِيَاءِ المَقْتُولِ، فَإنْ شَاءُوا قَتَلُوا، وَإنْ شَاءُوا أَخَذُوا الدِّيَةَ وَهِيَ ثَلاثُونَ حِقَّةً، وَثَلاثُونَ جَذَعَةً، وَأَرْبَـعُونَ خَلِفَةً، وَمَا صَالَـحُوا عَلَيْـهِ فَهُوَ لَـهُـمْ، وَذَلِكَ لِتَشْدِيدِ العَقْلِ». أخرجه الترمذي وابن ماجه
ความว่า “ผู้ใดกระทำการฆ่ามุอ์มินโดยเจตนา ดังนั้นเขาจะถูกมอบให้กับญาติของผู้ตายเป็นฝ่ายตัดสิน หากพวกเขาประสงค์ที่จะทำการประหารก็ให้กระทำได้ และหากพวกเขาประสงค์จะรับดิยะฮฺก็ทำได้ คืออูฐหิกเกาะฮฺ(อูฐตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่สี่) 30 ตัว และอูฐญะซะอะฮฺ(อูฐตัวเมียที่ย่างเข้าปีที่ห้า) 30 ตัว และอูฐเคาะลิฟะฮฺ(อูฐที่กำลังท้อง)อีก 40 ตัว และทุกสิ่งที่พวกเขาตกลงประนีประนอมกันก็ย่อมเป็นของพวกเขา ดังกล่าวนี้เพื่อกำหนดให้เป็นโทษหนักในการจ่ายสินไหมชดใช้" (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 1387 สำนวนนี้เป็นของท่าน และอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 2626)
· ทรัพย์สินที่บรรดาญาติๆ ของผู้ถูกฆ่าได้รับจากการจ่ายดิยะฮฺเนื่องจากการฆ่าโดยเจตนานั้น ไม่ใช่สินไหมเนื่องเพราะการฆ่า หากแต่เป็นการจ่ายค่าทดแทนจากการประหารกิศอศ ซึ่งเป็นสิทธิของญาติๆ ของเหยื่อผู้ถูกฆ่าที่จะตกลงประนีประนอมรับค่าสินไหมดังกล่าว หรือจะเรียกให้มากกว่านั้น หรือน้อยกว่านั้น หรือจะยกโทษให้ ซึ่งแน่นอนว่าการยกโทษให้นั้นเป็นการดีที่สุด
· ในประเทศซาอุดิอาระเบียได้กำหนดค่าการจ่ายดิยะฮฺสำหรับเหยื่อผู้ถูกฆ่าที่เป็นชายมุสลิมอยู่ที่หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นริยาล ในกรณีที่ฆ่าโดยเจตนาจงใจ และครึ่งหนึ่งสำหรับฆาตกรที่เป็นหญิงมุสลิมะฮฺ หากแต่ยังถือว่าเป็นสิทธิของบรรดาญาติๆ ของเหยื่อผู้ถูกฆ่าที่จะเรียกน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กำหนด หรือจะให้การอภัย
· กำหนดให้ทำการกิศอศทั้งกลุ่มในกรณีที่ร่วมกันกระทำการฆ่าบุคคลผู้หนึ่ง และในกรณีที่บรรดาญาติของเหยื่อยอมให้ลดโทษด้วยการจ่ายดิยะฮฺแทน ให้ร่วมกันจ่ายแค่หนึ่งดิยะฮฺเท่านั้น ในกรณีที่มีผู้สั่งการให้บุคคลที่ยังไม่บาลิฆ(บรรลุวัยตามศาสนบัญญัติ)ฆ่าคนอื่น หรือบาลิฆแล้วแต่มิได้รู้ถึงหุก่มของการฆ่าว่าเป็นสิ่งต้องห้าม แล้วผู้ถูกสั่งการนั้นก็ลงมือฆ่าตามคำสั่งนั้น ให้กำหนดการกิศอศหรือดิยะฮฺเฉพาะผู้สั่งการเท่านั้น และหากผู้ลงมือฆ่าบรรลุวัยบาลิฆและยังรู้ถึงหุก่มของการห้ามฆ่า ก็ให้รับประกันการดำเนินโทษต่อผู้ลงมือมิใช่ผู้สั่งการ
· ในกรณีที่ร่วมมือกันฆ่าระหว่างฆาตกรสองคน ซึ่งคนใดคนหนึ่งอยู่ในจำพวกที่จะไม่ต้องถูกลงโทษกิศอศถ้าหากว่าเขากระทำเพียงผู้เดียว เช่น การร่วมมือกันระหว่างผู้เป็นบิดากับผู้อื่นในการฆ่าบุตร หรือระหว่างมุสลิมกับกาฟิรในการฆ่ากาฟิร ให้ตัดสินโทษการกิศอศต่อผู้ร่วมมือกับบิดาเท่านั้น หรือลงโทษกิศอศกาฟิรที่ร่วมมือกับมุสลิมเท่านั้น ส่วนบิดาหรือมุสลิมนั้นให้ลงโทษด้วยการตะอฺซีร(การวินิจฉัยโดยความเห็นของผู้พิพากษา) และหากมีการลดโทษจากการกิศอศสู่การจ่ายดิยะฮฺ ให้ผู้ร่วมลงมือนั้นจ่ายครึ่งหนึ่งของดิยะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ร่วมลงมือฆ่ากับผู้เป็นบิดา หรือกาฟิรที่ร่วมลงมือกับมุสลิมก็ให้จ่ายดิยะฮฺเพียงครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน
· ในกรณีที่ผู้ฆ่าได้ฆ่าญาติซึ่งเขามีสิทธิในมรดกของเหยื่อผู้ถูกฆ่า สิทธิในมรดกนั้นก็จะถูกห้ามสำหรับเขา
เกาะสามะฮฺ การสาบานในการฟ้องจำเลย
เกาะสามะฮฺ คือ การสาบานตนหลายๆ ครั้งในการฟ้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่าเป็นผู้กระทำการฆ่าผู้บริสุทธิ์
· การเกาะสามะฮฺถูกให้มีขึ้นในกรณีที่มีคดีการฆ่าซึ่งไม่สามารถรับรู้ถึงผู้กระทำและเกิดมีการฟ้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งไม่มีพยานที่ครบถ้วนชี้ชัดว่าเป็นผู้กระทำ แต่อาศัยหลักฐานจากรูปคดีที่บ่งชี้ถึงความสัตย์จริงของผู้ฟ้อง
เงื่อนไขของการเกาะสามะฮฺ
มีบาดหมางเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายโจทก์กับจำเลยอยู่แล้ว หรือผู้ถูกฟ้องเป็นที่รู้กันว่าเป็นผู้ฆ่า หรือมีเหตุบ่งชี้ที่ชัดเจน อาทิ การหนีจากเหตุการณ์ฆ่า หรือ การพูดถึงเหยื่อที่ถูกฆ่า และการที่ญาติทั้งหมดของเหยื่อเห็นตรงกันในการฟ้องจำเลย
รูปแบบการเกาะสามะฮฺ
หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ให้เริ่มต้นการเกาะสามะฮฺจากกลุ่มที่เป็นโจทก์ฟ้องด้วยการกล่าวคำสาบานของชาย 50 คน ด้วยการสาบาน 50 ครั้ง(คนละครั้ง) โดยให้แต่ละคนกล่าวคำสาบานว่า “แท้จริงบุคคลผู้นี้ได้กระทำการฆ่าผู้ตาย" ด้วยการนี้แล้วการกิศอศก็จะถูกดำเนินการ ในกรณีที่พวกเขาปฏิเสธที่จะกล่าวคำสาบานหรือทำการสาบานไม่ครบ 50 คน ให้ฝ่ายจำเลยกล่าวสาบานกลับ 50 ครั้งเพื่อลบล้างมลทินของฝ่ายจำเลยถ้าฝ่ายโจทก์ยินยอมให้สาบาน และถ้าฝ่ายจำเลยได้สาบานแล้วจำเลยก็จะพ้นจากข้อกล่าวหา
ในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นญาติๆ ของผู้ถูกฆ่าไม่ทำการสาบาน และไม่ยอมรับการสาบานของฝ่ายจำเลย ให้ผู้ปกครองรัฐจ่ายสินไหมทดแทนจากคลังของรัฐ เพื่อมิให้เป็นการสูญเสียเลือดที่บริสุทธิ์ขึ้นโดยไร้ค่า
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา
เป็นการต้องห้าม(บาป)สำหรับบุคคลผู้หนึ่งที่จะกระทำการฆ่าตัวตายไม่ว่ากรณีใดๆ หรือจะด้วยวิธีการใดก็ตาม และผู้ใดก็ตามที่กระทำการฆ่าตัวตายเขาจะได้รับการลงโทษด้วยการตกขุมนรกชั่วกาลนาน
«مَنْ تَرَدَّى مِنْ جَبَلٍ فَقَتَلَ نَفْسَهُ، فَهُوَ فِي نَارِ جَهَنَّمَ يَتَرَدَّى فِيهِ خَالِداً مُـخَلَّداً فِيهَا أَبَداً، وَمَنْ تَـحَسَّى سُمّاً فَقَتَلَ نَفْسَهُ، فَسُمُّهُ فِي يَدِهِ يَتَـحَسَّاهُ فِي نَارِ جَهَنَّمَ خَالِداً مُـخَلَّداً فِيهَا أَبَداً، وَمَنْ قَتَلَ نَفْسَهُ بِحَدِيدَةٍ، فَحَدِيدَتُـهُ فِي يَدِهِ يَـجَأُ بِـهَا فِي بَطْنِـهِ فِي نَارِ جَهَنَّمَ خَالِداً مُـخَلَّداً فِيهَا أَبَداً». متفق عليه.
ความว่า “ผู้ใดกระทำการฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงจากภูเขา ดังนั้นเขาจะคงอยู่ในนรกด้วยสภาพกระโดดลงไปในขุมนรก(จะคงอยู่อย่างนั้น)ชั่วกาลนาน และผู้ใดที่ทำการฆ่าตัวตายด้วยการดื่มยาพิษ ดังนั้นยาพิษจะคงอยู่ในมือของเขาโดยที่เขาจะยังคงลิ้มรสพิษนั้นในขุมนรกชั่วกาลนาน และผู้ใดกระทำการฆ่าตัวตายด้วยการเสียบเหล็กเข้าไปในตัว ดังนั้นเหล็กดังกล่าวจะคงอยู่ในมือของเขาโดยที่เขาจะทำการแทงท้องของตัวเอง(จะคงอยู่อย่างนั้น)ชั่วกาลนาน" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5778 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 109)
การเตาบะฮฺของผู้จงใจกระทำการฆ่า
ผู้ที่จงใจกระทำการฆ่าหากทำการเตาบะฮฺแท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับการเตาบะฮฺของเขา หากแต่การเตาบะฮฺของเขานั้นมิได้มีผลต่อการกิศอศ เพราะการกิศอศนั้นเป็นสิทธิของมนุษย์ การกระทำการฆ่าที่จงใจนั้นมีความเกี่ยวพันกับสามสิทธิด้วยกันคือ สิทธิของอัลลอฮฺ สิทธิของผู้ถูกฆ่า และสิทธิของญาติๆ ของเหยื่อผู้ถูกฆ่า
ดังนั้นเมื่อผู้กระทำการฆ่าได้ทำการมอบตัวให้กับญาติของผู้ตาย สำนึกในความผิดที่ได้กระทำและเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ แล้วทำการเตาบะฮฺอย่างแท้จริง สิทธิของอัลลอฮฺก็จะตกไปกับการเตาบะฮฺนั้น ส่วนสิทธิของบรรดาญาติๆ ของผู้ตายก็จะตกไปด้วยการยอมรับโทษด้วยการกิศอศ หรือการจ่ายดิยะฮฺ หรือการให้อภัยของญาติๆ ของเหยื่อ เหลือแต่สิทธิของผู้ถูกฆ่าซึ่งในเงื่อนไขของการเตาบะฮฺนั้นจะต้องขอขมาต่อผู้ถูกกระทำ ซึ่งในที่นี้ไม่สามารถที่จะกระทำได้เหลือแต่ต้องปล่อยให้เป็นไปตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนว่าอัลลอฮฺนั้นทรงเมตตาเหนือทุกๆ สิ่ง
2. การฆ่ากึ่งเจตนา
การฆ่ากึ่งเจตนา คือ การที่ผู้กระทำมีความตั้งใจที่จะกระทำอาชญากรรม ซึ่งโดยปกตินั้นการกระทำดังกล่าวจะไม่ถึงกับคร่าชีวิตของเหยื่อผู้ถูกกระทำ หรือทำให้เหยื่อแค่ได้รับบาดแผลที่ฉกรรจ์ แต่แล้วเหยื่อก็ได้เกิดเสียชีวิตขึ้นมาด้วยเหตุดังกล่าว ดังเช่น การทำร้ายตรงจุดที่ไม่ถึงกับเอาชีวิตด้วยสายแซ่ หรือไม้เล็กๆ หรือด้วยการต่อย เป็นต้น
หุก่มหรือข้อตัดสินที่เกี่ยวกับการฆ่าที่เสมือนกับการเจตนา : ถือว่าเป็นบาป เพราะเป็นการรุกรานละเมิดต่อผู้บริสุทธิ์
การฆ่ากึ่งเจตนาจะต้องได้รับโทษด้วยการจ่ายดิยะฮฺ พร้อมกับกัฟฟาเราะฮฺ(การไถ่โทษ) ในขณะที่การฆ่าที่เจตนานั้นจะไม่มีกัฟฟาเราะฮฺหรือการไถ่โทษ เพราะบาปของผู้ที่ฆ่าคนโดยเจตนานั้นใหญ่หลวงและรุนแรงกว่าที่จะให้ไถ่โทษด้วยการกัฟฟาเราะฮฺได้
เป็นการวาญิบ (บังคับ) สำหรับผู้กระทำการฆ่ากึ่งการเจตนาที่จะต้องจ่ายดิยะฮฺ มุฆ็อลละเซาะฮฺ(สินไหมหนัก) และ กัฟฟาเราะฮฺ ซึ่งมีกำหนดดังนี้:
1. ดิยะฮฺ มุฆ็อลละเซาะฮฺ หรือสินไหมที่หนัก คือ การจ่ายด้วยอูฐ 100 ตัวโดยมีเงื่อนไขว่าใน 40 ตัวจะต้องมีครรภ์ ดังหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
«.. أَلا إنَّ دِيَةَ الخَطَأِ شِبْـهِ العَمْدِ، مَا كَانَ بِالسَّوْطِ وَالعَصَا مِائَةً مِنَ الإبلِ: مِنْـهَا أَرْبَـعُونَ فِي بُطُونِـهَا أَوْلادُهَا». أخرجه أبو داود وابن ماجه.
ความว่า “...ดังนั้นการจ่ายสินไหมสำหรับผู้ที่กระทำการฆ่ากึ่งเจตนา อันเป็นการทำร้ายด้วย แส้หรือไม้นั้น คือการจ่ายด้วยอูฐทั้งหมด 100 ตัว ซึ่งใน 100 ตัวของบรรดาอูฐทั้งหมดนั้น ต้องมี 40 ตัวที่กำลังตั้งครรภ์" (บันทึกโดย อบู ดาวูด หมายเลข 4547 สำนวนนี้เป็นของท่าน และอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 2628)
· ญาติของจำเลยต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายสินไหมหนักนี้ หรือจ่ายตามค่าของมัน ซึ่งอนุญาตให้ยืดเวลาการจ่ายเป็นระยะเวลาสามปี
2. กัฟฟาเราะฮฺ หรือการไถ่โทษ คือ การปลดปล่อยทาสผู้ศรัทธาหนึ่งคน หากไม่มีความสามารถ ให้ทำการถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน
เคล็ดลับที่กำหนดให้มีการลงโทษหลายรูปแบบ
ไม่เป็นการวาญิบในการทำกิศอศสำหรับผู้กระทำการฆ่ากึ่งเจตนา เนื่องจากผู้กระทำการมิได้มีความตั้งใจที่จะฆ่า หากแต่วาญิบที่จะต้องจ่ายสินไหมเพื่อเป็นการจ่ายทดแทนชีวิตของเหยื่อผู้ถูกฆ่า และได้กำหนดให้เป็นสินไหมที่หนัก(ดิยะฮฺ มุฆ็อลละเซาะฮฺ) เนื่องจากผู้กระทำมีความตั้งใจที่จะทำร้าย และได้กำหนดให้บรรดาญาติเป็นผู้จ่ายนั้นเนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่มีเมตตาและคอยช่วยเหลือ และที่เป็นการวาญิบสำหรับผู้กระทำต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วยการปลดปล่อยทาสหรือถือศีลอดนั้นเพื่อเป็นการลบล้างบาปที่ได้กระทำไว้
· เป็นการดีสำหรับบรรดาวะลีย์ของเหยื่อผู้ถูกฆ่าที่จะยกเลิกการจ่ายดิยะฮฺโดยไม่เรียกร้องจากจำเลย และถ้าหากพวกเขายกเลิกแล้ว ดิยะฮฺก็ถือว่าตกไป ส่วนกัฟฟาเราะฮฺนั้นยังคงวาญิบที่จะต้องปฏิบัติสำหรับฆาตกร
หุก่มการผ่าศพเพื่อตรวจ
อนุญาตให้ทำการผ่าศพในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อทำการพิสูจน์หลักฐานและสาเหตุการฆาตกรรม เพื่อการปกป้องในสิทธิของเหยื่อและสิทธิของสังคมจากการรุกราน และอนุญาติให้ทำการผ่าศพคนที่เป็นกาฟิรกรณีที่จำเป็นเพื่อการศึกษาวิจัยโรคและเพื่อเป็นการเรียนการสอนในทางการแพทย์
การวางแผนฆ่า
การฆ่าแบบ อัล-ฆีละฮฺ คือการฆ่าที่มีเจตนาและแค้นเคืองด้วยวิธีการวางอุบายและหลอกลวง หรือด้วยวิธีการที่จำเลยไม่คิดว่าตนจะถูกฆ่าโดยฆาตกร ดังเช่น ผู้ที่หลอกคนอื่นเพื่อให้ไปในที่ซึ่งไม่มีผู้คนแล้วทำการฆ่า หรือด้วยการชิงทรัพย์หลังจากนั้นก็ฆ่าเพื่อมิให้ผู้เคราะห์ร้ายทวงหรือเปิดโปงในภายหลังได้ เป็นต้น ดังนั้น การกระทำการฆ่าแบบวางอุบายดังที่กล่าวนี้ ผู้กระทำจะได้รับการลงโทษด้วยการประหารชีวิตไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือกาฟิร เป็นการลงโทษในรูปแบบ “หัดด์" (การลงโทษทางอาญาโดยปกติ) ซึ่งไม่ใช่อยู่ในข่ายการกิศอศ และจะไม่ได้รับสิทธิการยกโทษจากผู้ใดทั้งสิ้น ทั้งบรรดาวะลีย์และเครือญาติของเหยื่อผู้ถูกฆ่าก็ไม่มีสิทธิในการที่จะเลือกอนุโลมยกโทษให้กับฆาตกรได้
· ผู้ใดก็ตามที่ทำการป้องกันตัวเองจากการถูกทำร้ายซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของฆาตกร หรือการพิการส่วนใดส่วนหนึ่งของฆาตกรเพราะเหตุดังกล่าวแล้ว แท้จริงเขาจะไม่ต้องชดใช้ใดๆ ทั้งสิ้น
3. การฆ่าโดยไม่เจตนา
การฆ่าโดยไม่เจตนาคือ การที่ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำการใดๆ ที่อนุญาตให้ทำได้ เช่น การที่ผู้หนึ่งได้ทำการขว้างใส่อุปกรณ์ในการล่าสัตว์เพื่อการล่าสัตว์ หากแต่มันกลับไปโดนคนบริสุทธิ์แล้วทำให้เกิดการเสียชีวิตของคนผู้นั้น และถูกจัดไว้ในประเภทเดียวกันนี้ ไม่ว่าจะการฆ่าของเด็ก คนขาดสติ(บ้า) หรือการฆ่าเนื่องด้วยมูลเหตุทางอ้อม (เช่น การจอดรถกลางถนนแล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตเพราะการกระทำดังกล่าว เป็นต้น - บรรณาธิการ)
การฆ่าที่ไม่เจตนาแบ่งออกเป็นสองประเภท ดังนี้
ประเภทที่หนึ่ง ผู้กระทำจะต้องชดใช้ด้วยการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ และวะลีย์ที่เป็นญาติของผู้กระทำจะต้องจ่ายดิยะฮฺ นั่นคือในกรณีการฆ่ามุอ์มินผู้ศรัทธาโดยไม่เจตนาในสถานที่ซึ่งมิใช่สนามรบ หรือเหยื่อผู้ถูกฆ่านั้นเป็นบุคคลในกลุ่มคนหรือชนเผ่าที่มีสัญญาต่อกัน
ดังนั้นเป็นการวาญิบที่ญาติของจำเลยต้องจ่ายดิยะฮฺ มุค็อฟฟะฟะฮฺ (สินไหมที่เบา) ส่วนจำเลยก็ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ ซึ่งปรากฏหลักฐานดังนี้
1. สินไหมที่เบา คือการจ่ายอูฐ 100 ตัว ดังรายงานจากท่าน อัมร์ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قَضَى أَنَّ مَنْ قَتَلَ خَطَأً فَدِيَتُـهُ مِائَةٌ مِنَ الإبلِ ثَلاثُونَ بِنْتَ مَـخَاضٍ، وَثَلاثُونَ بِنْتَ لَبُونٍ، وَثَلاثُونَ حِقَّةً، وَعَشْرَةٌ بَنِي لَبُونٍ ذَكرٍ. أخرجه أبو داود وابن ماجه.
ความว่า “แท้จริง ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำหนดโทษสำหรับผู้ฆ่าที่ไม่เจตนานั้น ด้วยการจ่ายสินไหมเป็นอูฐ 100 ตัว โดยแบ่งเป็นบินตุ มะคอฎ(อูฐตัวเมียอายุครบหนึ่งปีย่างเข้าปีที่สอง) 30 ตัว และบินตุ ละบูน(อูฐตัวเมียอายุครบสองปีเข้าปีที่สาม) 30 ตัว หิกเกาะฮฺ(อูฐตัวเมียมีอายุครบสามปีย่างเข้าปีที่สี่) 30 ตัว และบะนีละบูน(อูฐตัวผู้อายุครบสองปีย่างเข้าปีที่สาม) 10 ตัว" (บันทึกโดย อบู ดาวูด หมายเลข 4541 สำนวนนี้เป็นของท่าน และ อิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 2630)
· ญาติๆ ที่เป็นอากิละฮฺของจำเลย (หมายถึงญาติผู้ชายทั้งหมดที่สามารถรับมรดกจากจำเลยได้ด้วยการอาเศาะบะฮฺ) ต้องร่วมกันรับผิดชอบรับภาระการจ่ายนี้ตามแต่ยุคสมัยจะกำหนด ซึ่งปัจจุบันในประเทศซาอุดิอาระเบียได้กำหนดการจ่ายนี้อยู่ที่(หนึ่งแสนริยาล) สำหรับการฆ่าโดยไม่เจตนา และให้จ่ายครึ่งหนึ่งสำหรับผู้ตายที่เป็นผู้หญิง โดยที่การจ่ายจะผ่อนปรนให้ในระยะเวลาสามปี
2. กัฟฟาเราะฮฺ คือการปลดปล่อยทาสที่ศรัทธาหนึ่งคน และหากไม่สามารถกระทำได้ ให้ทำการถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน และเป็นการวาญิบในการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺนั้นจากทรัพสินของผู้กระทำเท่านั้น เพื่อเป็นการไถ่บาปที่เขาได้ก่อขึ้น
· เป็นการดีและส่งเสริมให้วะลีย์ของเหยื่อผู้ถูกฆ่ายกเลิกดิยะฮฺ(ไม่รับจากจำเลย) และแน่นอนว่าพวกเขาจะได้รับผลบุญจากอัลลอฮฺ ส่วนกัฟฟาเราะฮฺนั้นเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายซึ่งเป็นภาระของจำเลยที่จะต้องจ่ายโดยมิอาจหลีกเลี่ยง
ประเภทที่สอง การชดใช้ด้วยการจ่ายเฉพาะกัฟฟาเราะฮฺเท่านั้น คือการที่มุสลิมฆ่ามุสลิมที่ปะปนอยู่ในพวกกาฟิรในประเทศของพวกเขา ซึ่งเกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นกาฟิรด้วย ดังนั้นจะไม่มีการจ่ายสินไหม(ดิยะฮฺ)สำหรับเขา หากแต่จะต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเท่านั้น ด้วยการปลดปล่อยทาสที่มีความศรัทธาและหากไม่มีความสามารถให้ทำการถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันแทน อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ) [النساء / 92 ].
ความว่า “และมิใช่วิสัยของผู้ศรัทธาที่จะฆ่าผู้ศรัทธาคนหนึ่งคนใด นอกจากด้วยความผิดพลาดเท่านั้น และผู้ใดที่ฆ่าผู้ศรัทธาด้วยความผิดพลาดแล้ว ก็ให้มีการปล่อยทาสที่ศรัทธาคนหนึ่งให้เป็นไท และให้มีค่าทำขวัญ ซึ่งถูกมอบให้แก่ครอบครัวของเขา นอกจากว่าครอบครัวของพวกเขาจะทำทานให้โดยไม่รับค่าทำขวัญนั้น แต่ถ้าหากเขาอยู่ให้หมู่ชนที่เป็นศัตรูของพวกเจ้าโดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ก็ให้มีการปล่อยทาสที่ศรัทธาคนหนึ่งให้เป็นไท และหากเขาอยู่ในหมู่ชนที่มีพันธะสัญญาระหว่างพวกเจ้ากับพวกเขาแล้ว ก็ให้มีการทำขวัญซึ่งถูกมอบให้แก่ครอบครัวของเขา และให้มีการปล่อยทาสที่ศรัทธาคนหนึ่ง ผู้ใดที่ไม่มีทาสให้ปล่อย ก็ให้ถือศีลอดสองเดือนต่อเนื่องกัน เป็นการอภัยโทษจากอัลลอฮฺและว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาน" ( อัน-นิสาอ์ 92)
หุก่มการถือศีลอดแทนผู้ที่เสียชีวิต
ผู้ใดที่ได้เสียชีวิตลงโดยที่เขายังติดค้างในเรื่องของการถือศีลอดที่เป็นวาญิบ อาทิ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หรือ การถือศีลอดเนื่องจากการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นระยะเวลาสองเดือนติดต่อกัน หรือการถือศีลอดเนื่องจากการบนบานนะซัร ทั้งหมดนี้จะมีอยู่สองกรณี คือ
1. กรณีที่ผู้ตายมีความสามารถในการถือศีลอดแต่มิได้กระทำ ดังนั้นบรรดาผู้ปกครอง(วะลีย์)ของเขาจะต้องร่วมกันถือศีลอดแทนเขา ด้วยการแบ่งวันให้เท่าๆ กันโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องถือศีลอดติดต่อกันตั้งแต่คนแรกจนกระทั่งคนสุดท้ายครบวัน
2. กรณีที่ผู้ตายไม่มีความสามารถอันเนื่องมาจากการป่วย เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการถือศีลอดแทน หรือแม้กระทั่งการให้อาหารต่อผู้ยากจน
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ مَاتَ وَعَلَيْـهِ صِيامٌ صَامَ عَنْـهُ وَلِيُّـهُ». متفق عليه
ความว่า: “ผู้ใดที่เสียชีวิตโดยที่ยังมียังภาระการถือศีลอดอยู่ ให้เหล่าผู้ปกครองของเขาถือศีลอดแทน" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1952 และมุสลิม หมายเลข 1147)
บรรดาเครือญาติที่ถือว่าเป็น อากิละฮฺ ของจำเลย
ในการกระทำการฆ่ากึ่งเจตนาและโดยไม่เจตนานั้น จะต้องมีการจ่ายสินไหม(ดิยะฮฺ)ซึ่งในที่นี้เหล่าเครือญาติของผู้กระทำจะรับผิดชอบร่วมกัน และต้องมีการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺซึ่งผู้กระทำจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น บรรดาเครือญาติที่ได้ชื่อว่าเป็น อากิละฮฺ (ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ)ในที่นี้ คือ เครือญาติที่เป็นเพศชายทุกคนที่มีสิทธิในการรับมรดกจากจำเลยด้วยวิธีการอะเศาะบะฮฺ ทั้งที่เป็นญาติใกล้และไกล ที่ยังอยู่และไม่ได้อยู่ด้วย โดยจะเริ่มจากผู้ที่ใกล้ที่สุดตามลำดับ และจะนับรวมไปถึงเครือญาติชายที่นับขึ้นไปยังต้นตระกูล(อุศูล เช่น พ่อ ปู่ ทวด เป็นต้น) แต่ไม่นับรวมเครือญาติที่เป็นทายาทลงไปตามเชื้อสายของตระกูล(ฟุรูอ์ เช่น ลูก หลาน เหลน เป็นต้น) โดยที่พวกเขาจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่เกินกว่าหนึ่งส่วนสามของดิยะฮฺ
และพวกเขา(เครือญาติที่เป็นอากิละฮฺ)ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบดิยะฮฺในกรณีการเจตนาฆ่า เช่นเดียวกับในกรณีที่ผู้กระทำการฆ่าหรือผู้ถูกฆ่านั้นเป็นทาส และไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่น้อยกว่าหนึ่งส่วนสามของดิยะฮฺ เช่น ดิยะฮฺจากการทำฟันหัก เป็นต้น รวมถึงดิยะฮฺด้วยวิธีการประนีประนอมยอมความ และกรณีที่มีการยอมรับว่าเป็นผู้กระทำ
ส่วนบุคคลที่ไม่ถือว่าเป็นอากิละฮฺ คือ เครือญาติฝ่ายชายที่ยังไม่บรรลุวัยตามศาสนบัญญัต(ไม่บาลิฆ) เครือญาติที่เป็นผู้หญิง ผู้ที่ยากจนขัดสน และเครือญาติที่นับถือต่างศาสนากับจำเลย