×
อัลลอฮฺทรงบัญญัติหลักปฏิบัติหลายประการสำหรับการละหมาดสุนัต แตกต่างจากละหมาดฟัรฎูเพื่อทำให้เกิดความสะดวกและเป็นการผ่อนปรนให้บ่าวของพระองค์ อาทิ อนุญาตให้ละหมาดบนพาหนะได้ ถึงแม้มันไม่ได้หันไปทางกิบละฮฺก็ตาม ซึ่งในละหมาดฟัรฎูจะทำอย่างนั้นไม่ได้ และอนุญาตให้นั่งละหมาดสุนัตได้แม้ไม่มีสาเหตุสุดวิสัยก็ตามเป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    หุก่มบางประการของการละหมาดสุนัต

    من أحكام صلاة النافلة

    < تايلاندية >

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    —™

    ผู้แปล: สะอัด วารีย์

    ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: صافي عثمان

    หุก่มบางประการของการละหมาดสุนัต

    การละหมาดบนรถ

    ท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    «وَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُسَبِّحُ عَلَى الرَّاحِلَةِ قِبَلَ أَيِّ وَجْهٍ تَوَجَّهَ، وَيُوتِرُ عَلَيْهَا، غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يُصَلِّي عَلَيْهَا المَكْتُوبَةَ» [أخرجه البخاري]

    ความว่า และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดสุนนะฮฺบนพาหนะ หันหน้าไปตามแต่ที่มันหันพาไป และท่านจะละหมาดวิตรฺบนพาหนะด้วย เพียงแต่ท่านจะไม่ละหมาดฟัรฎู(ในรูปแบบที่ละหมาดสุนัต)บนพาหนะบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    ท่านอามิร บิน เราะบีอฺะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ عَلَى الرَّاحِلَةِ يُسَبِّحُ، يُومِئُ بِرَأْسِهِ قِبَلَ أَيِّ وَجْهٍ تَوَجَّهَ، وَلَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصْنَعُ ذَلِكَ فِي الصَّلاَةِ المَكْتُوبَةِ. [متفق عليه]

    ฉันเห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ละหมาดสุนัติขณะที่ท่านอยู่บนพาหนะ โดยใช้(การโค้ง)ศีรษะท่านทำเป็นสัญญาณ หันหน้าไปตามแต่ที่มันหันพาไป แต่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ทำแบบนั้นกับการละหมาดฟัรฎูบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

    อนุญาตให้นั่งละหมาดในละหมาดสุนนะฮฺได้

    ท่านอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า

    «كَانَ يُصَلِّي فِي بَيْتِي قَبْلَ الظُّهْرِ أَرْبَعًا، ثُمَّ يَخْرُجُ فَيُصَلِّي بِالنَّاسِ، ثُمَّ يَدْخُلُ فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ، وَكَانَ يُصَلِّي بِالنَّاسِ الْمَغْرِبَ، ثُمَّ يَدْخُلُ فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ، وَيُصَلِّي بِالنَّاسِ الْعِشَاءَ، وَيَدْخُلُ بَيْتِي فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ، وَكَانَ يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ تِسْعَ رَكَعَاتٍ فِيهِنَّ الْوِتْرُ، وَكَانَ يُصَلِّي لَيْلًا طَوِيلًا قَائِمًا، وَلَيْلًا طَوِيلًا قَاعِدًا، وَكَانَ إِذَا قَرَأَ وَهُوَ قَائِمٌ رَكَعَ وَسَجَدَ وَهُوَ قَائِمٌ، وَإِذَا قَرَأَ قَاعِدًا رَكَعَ وَسَجَدَ وَهُوَ قَاعِدٌ، وَكَانَ إِذَا طَلَعَ الْفَجْرُ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ » [أخرجه مسلم]

    ท่านละหมาดในบ้านฉัน ก่อนซุฮรฺ สี่ ร็อกอะฮฺ หลังจากนั้นท่านก็ออกไปนำผู้คนละหมาด หลังจากนั้นท่านก็กลับเข้ามาแล้วละหมาดอีก สี่ ร็อกอะฮฺ และท่านนำผู้คนละหมาดมัฆริบ หลังจากนั้นท่านก็เข้ามาแล้วละหมาด สอง ร็อกอะฮฺ และท่านนำผู้คนละหมาดอิชาอ์หลังจากนั้นก็เข้ามาที่บ้านของฉันแล้วท่านก็ละหมาด สอง ร็อกอะฮฺ และท่านเคยละหมาดยามค่ำคืนเก้า ร็อกอะฮฺ ในนั้นรวมวิติรฺแล้วด้วย และท่านก็เคยละหมาดในค่ำคืนหนึ่งอย่างยาวนานในสภาพยืนละหมาด และในค่ำคืนหนึ่งอย่างยาวนานในสภาพนั่งละหมาด และเมื่อท่านอ่านละหมาดในสภาพที่ท่านยืนอ่าน ท่านจะรุกูอฺและสุญูดในท่าของคนยืนละหมาดปกติ และเมื่อท่านอ่านละหมาดในสภาพนั่งอ่าน ท่านจะนั่งรุกูอฺและนั่งสุญูด และเมื่อแสงอรุณขึ้น ท่านจะละหมาดอีกสองร็อกอะฮฺบันทึกโดยมุสลิม

    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «صَلَاةُ الرَّجُلِ قَاعِدًا نِصْفُ الصَّلَاةِ» [أخرجه مسلم]

    ละหมาดของคนๆ หนึ่งในสภาพนั่งอ่านนั้น เป็น(ผลบุญ)ครึ่งหนึ่งของการละหมาดบันทึกโดยมุสลิม

    คำอธิบาย

    อัลลอฮฺทรงบัญญัติหลักปฏิบัติหลายประการสำหรับการละหมาดสุนัต แตกต่างจากละหมาดฟัรฎูเพื่อทำให้เกิดความสะดวกและเป็นการผ่อนปรนให้บ่าวของพระองค์ อาทิ อนุญาตให้ละหมาดบนพาหนะได้ ถึงแม้มันไม่ได้หันไปทางกิบละฮฺก็ตาม ซึ่งในละหมาดฟัรฎูจะทำอย่างนั้นไม่ได้ และอนุญาตให้นั่งละหมาดสุนัตได้แม้ไม่มีสาเหตุสุดวิสัยก็ตาม

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · อนุญาตให้ละหมาดสุนัตขณะที่นั่งอยู่ในรถยนต์ หรืออื่นๆ ได้ไม่ว่ามันจะหันไปทางใดก็ตาม

    · อนุญาตให้นั่งละหมาดสำหรับการละหมาดสุนัตได้โดยไม่ต้องมีเหตุสุดวิสัยใดๆ

    · ผลบุญของการนั่งละหมาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของการยืนละหมาด

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.