อันตรายของการชิริก
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
อันตรายของการชิริก
] ไทย – Thai – تايلاندي [
อัดนาน นาแซ
ตรวจทานโดย : อัดนาน
ที่มา : วารสารใต้ร่มเงาอิสลาม
2013 - 1434
خطورة الشرك
« باللغة التايلاندية »
عدنان ناسي
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: مجلة في ظلال الإسلام
2013 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อันตรายของการชิริก
ศาสนาอิสลามถือว่าชิริกหรือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺนั้นเป็นความชั่วที่ร้ายแรงที่สุดและเป็นบาปที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาบาปทั้งหลาย ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَلَا أُنَبِّئُكُمْ بِأَكْبَرِ الْكَبَائِرِ (ثَلَاثًا) قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ الْإِشْرَاكُ بِاللَّهِ» [البخاري ومسلم]
ความว่า “เอาไหมฉันจะบอกแก่พวกเจ้าถึงสิ่งที่เป็นบาปใหญ่ที่สุดในบรรดาบาปใหญ่ทั้งหลาย(สามครั้ง)?" เศาะหาบะฮฺตอบว่า “แน่นอน โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺ" ท่านได้ตอบว่า “(นั่นคือ)การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ" [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม]
ชิริกนั้นมีทั้งที่ร้ายแรงจนถึงขั้นที่ทำให้ออกนอกศาสนาและทำให้คนที่กระทำต้องตกนรกอย่างถาวรหากเขาตายในสภาพที่ทำชิริก
ตัวอย่างการกระทำที่เป็นชิริกในสังคมมุสลิม
- การกราบไหว้ บูชาเจว็ด รูปปั้น รูปภาพ บุคคล ครูบาอาจารย์ กษัตริย์ เสาหรือธง หรือสิ่งใดๆนอกเหนือจากอัลลอฮฺ รวมถึง คนที่ทำอิบาดะฮฺ เช่น ละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอด ทำหัจญ์ หรืออิบาดะฮฺใดๆ เพื่อบูชาให้สิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ อันนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำชิริก
- การเคารพสักการะกุโบรฺหรือหลุมฝังศพ หรือการที่เชื่อว่าคนดีหรือคนศอลิหฺที่เสียชีวิตไปแล้วจะสามารถให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ได้ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ ۞وَقَضَىٰ رَبُّكَ أَلَّا تَعۡبُدُوٓاْ إِلَّآ إِيَّاهُ﴾ [الإسراء: ٢٣]
ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้น" [สูเราะฮฺอัล-อิสรออ์ อายะฮฺที่ 23]
- การขอพร ขอดุอาอ์จากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ เช่น จากนบี มลาอิกะฮฺ ญิน ชัยฏอน คนตาย รูปเจว็ด รูปปั้น รูปภาพ หรือสิ่งถูกสร้างที่ประหลาด เช่น วัวสองหัว ควายห้าขา เป็นต้น แม้ว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วจะเป็นคนดีหรือคนศอลิหฺแค่ไหนหรือแม้แต่เป็นนบีก็ตามก็ถือว่าเป็นชิริกเช่นที่ร้ายแรงเช่นเดียวกัน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ أَمَّن يُجِيبُ ٱلۡمُضۡطَرَّ إِذَا دَعَاهُ وَيَكۡشِفُ ٱلسُّوٓءَ وَيَجۡعَلُكُمۡ خُلَفَآءَ ٱلۡأَرۡضِۗ أَءِلَٰهٞ مَّعَ ٱللَّهِۚ قَلِيلٗا مَّا تَذَكَّرُونَ ٦٢ ﴾ [النمل: ٦٢]
ความว่า “หรือผู้ใดเล่าจะตอบรับผู้ร้องทุกข์ เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระองค์ และทรงปลดเปลื้องความชั่วร้ายนั้น และทรงทำให้พวกเจ้า เป็นผู้ปกครองแผ่นดิน จะมีพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮฺอีกหรือ ? ส่วนน้อยเท่านั้นที่พวกเจ้าจะใคร่ครวญ" [สูเราะฮฺอัน-นัมลฺ อายะฮฺที่ 62]
บางคนถึงขั้นที่นำเอาชื่อของคนดี โต๊ะครูหรือโต๊ะวลีหรือแม้แต่ท่านนบีมุฮัมมัดมาใช้จนติดปากไม่ว่าเขาจะนั่งจะยืนหรือเวลาที่ตกใจหรือประสบกับสิ่งไม่คาดฝันหรือเจอกับปัญหาหรือเกิดอุบัติเหตุหรือความยากลำบากต่างๆเช่น บางคนจะกล่าวว่า โอ้มุฮัมมัดเวลาหกล้มบางคนจะกล่าวว่าโอ้แม่ข้า โอ้พ่อข้า โอ้อาลี โอ้ฮุเซ็น โอ้ฟาฏิมะฮฺ หรือบางคนเชื่อว่าหมอคนนั้นล่ะที่ทำให้หายป่วย ถ้าไปหาหมอคนอื่น ไม่หายแน่ ต้องคนนี้คนเดียว เป็นต้น อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ تَدۡعُونَ مِن دُونِ ٱللَّهِ عِبَادٌ أَمۡثَالُكُمۡۖ فَٱدۡعُوهُمۡ فَلۡيَسۡتَجِيبُواْ لَكُمۡ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ ١٩٤ ﴾ [الأعراف: ١٩٤]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่พวกเจ้าวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺนั้นคือ ผู้ที่เป็นบ่าวเยี่ยงพวกเจ้านั้นเอง จงวิงวอนขอต่อพวกเขาเถิด แล้วจงให้พวกเขาตอบรับพวกเจ้าด้วย หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง" [สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 194]
อย่างไรก็ตามการขอความช่วยเหลือ ขอความคุ้มครอง หรือขอให้พ้นภัยต่อผู้อื่นจากอัลลอฮฺ หมายถึงขอในสิ่งที่เกินขอบเขตของคนผู้นั้น หรือสิ่งนั้นจะกระทำให้ได้ แต่การขอความช่วยเหลือคนอื่นจากอัลลอฮฺ ที่ศาสนาอนุญาตคือขอในสิ่งที่อยู่ในความสามารถของความเป็นมนุษย์ เช่น ช่วยยกของหน่อย ช่วยเฝ้าบ้านให้หน่อย แต่การขอที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์เช่น ขอจากหมอให้มีลูก ขอให้หมอทำให้หายป่วย เหล่านี้ถือเป็นชิริก เพราะผู้ที่ประทานลูก ผู้ทรงรักษาจากความเจ็บป่วยคือพระองค์อัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น
- เฏาะวาฟกุโบรฺ ก็ถือเป็นชิริกเช่นกัน จนถึงขั้นที่บางคนจะทำการของผู้ที่ตนเองคิดว่าเป็นคนดีคนศอลิหฺหรือเป็นโต๊ะครูผู้มีความรู้หรือโต๊ะวลี ยืนเคารพกุโบรฺด้วยความคุชูอฺ นอบน้อมต่ำต้อยต่อหน้ากุโบรฺ บางคนเอาใบหน้าไปสัมผัสกับกุโบรฺหรือแม้แต่สุญูดต่อกุโบรฺ โดยอ้างว่าเป็นการแสวงหาบารอกัตแต่ไม่ได้เคารพบูชาแต่อย่างใด บางคนจะลูบเช็ดกุโบรฺ จูบกุโบรฺเสมือนว่าเป็นหินดำที่กะอฺบะฮฺ บางคนจะโกนหัวต่อหน้ากุโบรฺเสมือนว่าไปทำหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ จนถึงขั้นที่ได้มีการแต่งหนังสือตำรับตำราในหัวข้อ “การทำหัจญ์ที่กุโบรฺและหลุมฝังศพบรรดาวลี" เพราะพวกเขาเชื่อว่า บรรดาวลีสามารถควบคุมดูแลสิ่งต่างๆในจักรวาล สามารถให้คุณให้โทษได้ทั้งๆที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَإِن يَمۡسَسۡكَ ٱللَّهُ بِضُرّٖ فَلَا كَاشِفَ لَهُۥٓ إِلَّا هُوَۖ وَإِن يُرِدۡكَ بِخَيۡرٖ فَلَا رَآدَّ لِفَضۡلِهِۦۚ يُصِيبُ بِهِۦ مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۚ وَهُوَ ٱلۡغَفُورُ ٱلرَّحِيمُ ١٠٧ ﴾ [يونس: ١٠٧]
ความว่า “และหากอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกข์ภัยประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ปลดเปลื้องมันได้นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนาความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้ พระองค์ทรงให้ประสบแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ" [สูเราะฮฺยูนุส อายะฮฺที่ 107]
บางคนถึงขั้นที่ขอดุอาอฺต่อกุโบรฺให้หายป่วย ให้ได้ลูก ให้ได้ริซกีทรัพย์สินเงินทอง บางคนจะกล่าวต่อกุโบรฺว่า โอ้ท่าน ฉันจากบ้านมาไกลมาหาท่าน ขอท่านจงอย่าได้ทำให้ฉันผิดหวังเลย ทั้งๆ ที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَمَنۡ أَضَلُّ مِمَّن يَدۡعُواْ مِن دُونِ ٱللَّهِ مَن لَّا يَسۡتَجِيبُ لَهُۥٓ إِلَىٰ يَوۡمِ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَهُمۡ عَن دُعَآئِهِمۡ غَٰفِلُونَ ٥ ﴾ [الأحقاف: ٥]
ความว่า “และใครเล่าจะหลงทางมากไปกว่าผู้ที่วิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺที่มันจะไม่ตอบรับ (การวิงวอนของ) เขาจนถึงวันกิยามะฮ์ และพวกมันเฉยเมยต่อการวิงวอนขอของพวกเขา" [สูเราะฮฺอัล-อะหฺกอฟ อายะฮฺที่ 5]
ท่านนบีมุหัมมัดก็ยังได้เตือนมิให้กระทำเหล่านี้เพราะจะทำให้คนๆ นั้นต้องตกนรก
«مَنْ مَاتَ وَهْوَ يَدْعُو مِنْ دُونِ اللَّهِ نِدًّا دَخَلَ النَّارَ» [البخاري]
“ผู้ใดที่เสียชีวิตในสภาพที่เขาดุอาอฺต่อสิ่งภาคีอื่นนอกจากอัลลฮฺจะตกนรก" [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ]
- การนะซัรหรือการบนบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างของการทำชิริก เช่นบางคนกล่าวว่า ถ้าฉันหายป่วยฉันจะเชือดแพะให้กับโต๊ะตะเกี่ย ถ้าฉันสอบผ่านฉันจะถือศีลอดให้กับกุโบรฺนั้นกุโบรฺนี้ ถ้าฉันสมัครงานได้ฉันจะถวายของให้กับเจ้าที่นั้น ทั้งๆที่ท่านนบีได้กล่าวว่า
«مَنْ نَذَرَ أَنْ يُطِيعَ اللَّهَ فَلْيُطِعْهُ وَمَنْ نَذَرَ أَنْ يَعْصِيَهُ فَلَا يَعْصِهِ» [البخاري]
“ผู้ใดได้บนบานที่จะฏออัต(เชื่อฟัง)อัลลอฮฺเขาก็จงฏออัตพระองค์เถิด และผู้ใดได้บนบานที่จะฝ่าฝืนพระองค์เขาจงอย่าได้ฝ่าฝืนพระองค์" [บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ]
เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งได้ถามท่านนบีว่า
يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنِّي نَذَرْتُ إِنْ وُلِدَ لِي وَلَدٌ ذَكَرٌ أَنْ أَنْحَرَ عَلَى رَأْسِ بُوَانَةَ ...... عِدَّةً مِنْ الْغَنَمِ ... فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «هَلْ بِهَا مِنْ الْأَوْثَانِ شَيْءٌ؟» قَالَ : لَا، قَالَ : «فَأَوْفِ بِمَا نَذَرْتَ بِهِ لِلَّهِ» [أبو داود]
“โอ้ท่านรอสูล แท้จริงฉันได้บนบานว่าหากลูกของฉันที่เกิดมาเป็นเด็กชาย ฉันจะเชือด ณ สถานที่ที่ชื่อบุวานะฮฺ ซึ่งแพะหลายตัว (มีรายงานว่า 50 ตัว)" ท่านนบีจึงได้ถามเขาว่า “สถานที่นั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเจว็ดไหม? เขาตอบว่า “ไม่มี" ท่านนบีจึงได้กล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงปฏิบัติในสิ่งที่เจ้าได้บนบานต่ออัลลอฮฺให้สมบูรณ์เถิด" [บันทึกโดยอบูดาวูด]
- การเชือดสัตว์พลีเพื่อถวายให้สิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของชิริกซึ่งเป็นการตั้งภาคีที่ร้ายแรง เนื่องจากการเชือดนั้นถือเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่งดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมเชือดสัตว์ถวายสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ถึงแม้ว่าจะเชือดด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮฺ(ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ) ก็ตาม ดังที่พระองค์ได้บัญชาท่านนบีว่า
﴿ فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَٱنۡحَرۡ ٢ ﴾ [الكوثر: ٢]
ความว่า "ดังนั้นเจ้าจงละหมาดเพื่อพระเจ้าของเจ้า และจงเชือดสัตว์พลี(เพื่อพระองค์)" [สูเราะฮฺ อัล-เกาษัรฺ อายะฮฺที่ 2]
หมายความว่า จงเชือดเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้นและด้วยพระนามของพระองค์เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่เชือดเพื่อสิ่งอื่นจะประสบการการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า
«وَلَعَنَ اللَّهُ مَنْ ذَبَحَ لِغَيْرِ اللَّهِ» [مسلم]
“และอัลลอฮฺจะทรงสาปแช่งผู้ที่เชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ" [บันทึกโดยมุสลิม]
ตัวอย่างของการเชือดที่เป็นชิริกในสมัยญาฮิลิยะฮฺและถูกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันคือการเชือดถวายให้ญิน เช่นบางคนเมื่อปลูกบ้านใหม่ หรือซื้อรถใหม่ เขาจะเชือดสัตว์ตรงบันใดบ้านหรือตรงประตูเพราะเชื่อว่าสามารถป้องกันอันตรายจากญินได้
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการกระทำชิริกที่ค่อนข้างชัดเจน ดูได้ สังเกตได้ไม่ยากนัก แต่มีตัวอย่างของชิริกบางประการที่ผู้คนมากมายในสังคมมองไม่รู้ว่าชิริก หรือมองไม่ออก หรือไม่นึกว่าจะชิริก ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นชิริกที่มีความร้ายแรงไม่แพ้กัน เช่น
- การเปลี่ยนบทบัญญัติของอัลลอฮฺจากฮะรอมให้เป็นฮาลาลและจากฮาลาลให้เป็นฮะรอม เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการกระทำที่เป็นชิริกคือหรือความเชื่อที่ว่ามีผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺที่มีสิทธิในการบัญญัติเรื่องฮาลาลฮะรอมหรือการมอบให้ศาลและกฎหมายของมนุษย์เป็นตัวตัดสินปัญหาด้วยความยินยอมเต็มอกเต็มใจและมิได้ถูกบังคับแต่อย่างใดพร้อมกับเชื่อว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อัลลอฮฺได้ทรงระบุรูปแบบการกุโบรนี้ในอายะฮฺต่อไปนี้
﴿ ٱتَّخَذُوٓاْ أَحۡبَارَهُمۡ وَرُهۡبَٰنَهُمۡ أَرۡبَابٗا مِّن دُونِ ٱللَّهِ﴾ [التوبة: ٣١]
ความว่า “พวกเขา(ยิวและคริสต์)ได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺ" [สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 31]
ซึ่งเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งที่เชื่ออะดิยฺ บิน หาติมเมื่อได้ยินท่านนบีอ่านอายะฮฺนี้ ก็กล่าวถามท่านนบีว่า “พวกเขา(หมายถึงพวกยิวและคริสต์)มิได้เคารพสักการะบรรดานักบุญและบาทหลวงของพวกเขาแต่อย่างใด" แต่ท่านนบีได้ตอบว่า "ไม่ใช่ได้อย่างไร ในเมื่อบรรดานักบุญเหล่านั้นได้บัญญัติสิ่งที่อัลลอฮฺได้บัญญัติว่าฮะรอมให้เป็นฮาลาล และบัญญัติสิ่งที่อัลลอฮฺได้บัญญัติว่าฮาลาลให้เป็นฮะรอม และนั่นคือการเคารพสักการะพวกเขา"
[บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺและอัลบัยฮะกียฺ เชคอัลบานียฺบอกว่าเป็นหะดีษหะสัน]
นอกจากนี้อัลลอฮฺยังได้ระบุลักษณะของบรรดามุชริกีน(ผู้ที่ทำชิริก)ว่า
﴿وَلَا يُحَرِّمُونَ مَا حَرَّمَ ٱللَّهُ وَرَسُولُهُۥ وَلَا يَدِينُونَ دِينَ ٱلۡحَقِّ ﴾ [التوبة: ٢٩]
ความว่า “และพวกเขาไม่งดเว้นสิ่งที่อัลลอฮฺและร่อสูลห้ามไว้ และไม่ปฏิบัติตามศาสนาแห่งความสัจจะ" [สูะเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 29]
- เชื่อว่ามีกฎหมายอื่นหรือธรรมนูญอื่นเหมือนกันหรือดีกว่ากฎหมายของอัลลอฮฺ หรือเชื่อว่าอนุญาตให้ใช้กฎหมายอื่นแทนกฎหมายของอัลลอฮฺได้ หรือตั้งใจ(โดยมิได้ถูกบังคับ)บัญญัติกฎหมายที่ขัดแย้งกับอัลกุรอานหรือหะดีษของท่านนบี หรือผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายใดๆที่ขัดกับกฎหมายของอัลลอฮฺด้วยความเต็มใจและพึงพอใจ หรือผู้ที่เรียกร้องไม่ให้ใช้กฎหมายของอัลลอฮฺ แม้ว่าจะเป็นบทบัญญัติเดียว เช่น สตรีที่เรียกร้องให้แบ่งมรดกเท่าๆกันหนึ่งต่อหนึ่งส่วนระหว่างชายกับหญิง หรือเรียกร้องให้บัญญัติกฎหมายห้ามมิให้ผู้ชายมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน หรือไม่เห็นด้วยและคัดค้านบทบัญญัติที่อัลลอฮฺอนุญาตให้ชายแต่งงานได้4 คน หรือคัดค้านกฎหมายการประหารผู้ทำผิดประเวณีด้วยการขว้างจนตาย เหล่านี้ถือเป็นชิริก
อีกหนึ่งตัวอย่างของชิริกที่มองไม่เห็นแต่มีความอันตรายมาก คือ ผู้ที่ทำอิบาดะฮฺเพื่อผลประโยชน์ทางดุนยา ให้คนชม หรือเพื่อให้คนเชื่อถือ หรือเพื่อให้ได้แต่งงาน หรือให้ได้ตำแหน่ง เพียงเท่านั้น แต่ไม่คิดทำเพื่ออัลลอฮฺเลยแม้แต่น้อย
นี่เป็นเพียงบางตัวอย่างของการทำชิริกรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมมุสลิม อันที่จริงถ้าเรามองดูในสังคม ยังมีอีกหลากหลายการกระทำที่เป็นชิริกหรืออย่างน้อยก็เป็นหนทางไปสู่การทำชิริก เราต้องระมัดระวัง บอกกล่าว ตักเตือนตัวเรา ครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง ลูกหลาน เพื่อนฝูง ให้ห่างไกล ไม่ไปยุ่ง ไม่เข้าใกล้ การทำชิริก เพราะอันตรายของชิริกนั้นคือว่ามีความร้ายแรงมากที่สุดในบรรดาบาปทั้งหลาย กล่าวคือ ..
อันตรายของชิริก
- อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้อภัย คนทำชิริก ในบรรดาบาปทั้งหลายนั้นชิริกคือบาปชนิดเดียวที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้อภัยนอกจากว่าผู้ที่ทำชิริกต้องทำการเตาบัตกลับเนื้อกลับตัวอย่างจริงจังและด้วยความบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَغۡفِرُ أَن يُشۡرَكَ بِهِۦ وَيَغۡفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَآءُۚ وَمَن يُشۡرِكۡ بِٱللَّهِ فَقَدِ ٱفۡتَرَىٰٓ إِثۡمًا عَظِيمًا ٤٨ ﴾ [النساء: ٤٨]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น" [สูเราะฮฺอัน-นิซาอฺ อายะฮฺที่ 48]
﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَغۡفِرُ أَن يُشۡرَكَ بِهِۦ وَيَغۡفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَآءُۚ وَمَن يُشۡرِكۡ بِٱللَّهِ فَقَدۡ ضَلَّ ضَلَٰلَۢا بَعِيدًا ١١٦ ﴾ [النساء: ١١٦]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขี้นแก่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอน เขาก็ได้หลงทางไปแล้วอย่างไกล" [สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 116]
- ความดี ผลบุญกลายเป็นผุยผง นอกจากอัลลอฮฺจะไม่ให้อภัยแล้ว การงานความดีที่ทำมาแม้ว่าจะมากมาย ใหญ่โต ขนาดไหน ก็มลายหายไปกลายเป็นผุยผงได้ ถ้าทำชิริก ดังที่ อัลลอฮฺได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
﴿ وَلَقَدۡ أُوحِيَ إِلَيۡكَ وَإِلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكَ لَئِنۡ أَشۡرَكۡتَ لَيَحۡبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكُونَنَّ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٦٥ ﴾ [الزمر: ٦٥]
ความว่า “และโดยแน่นอน ได้มีวะฮียฺ(วิวรณ์)มายังเจ้า (มุหัมมัด) และมายังบรรดาคนก่อนหน้าเจ้า ว่า หากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" [สูเราะฮฺ อัซ-ซุมัรฺ 65]
และอัลลอฮฺได้ตรัส ความว่า
﴿ وَقَدِمۡنَآ إِلَىٰ مَا عَمِلُواْ مِنۡ عَمَلٖ فَجَعَلۡنَٰهُ هَبَآءٗ مَّنثُورًا ٢٣ ﴾ [الفرقان: ٢٢]
ความว่า “และเรามุ่งสู่ส่วนหนึ่งของการงานที่พวกเขา(บรรดาผู้ตั้งภาคี)ได้ปฏิบัติไป แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองฝุ่นที่ปลิวว่อน" [สูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน 23]
*****